เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



พารู้จัก กระต่ายจาม (การบูรป่า) ที่หลายคนอาจไม่เคยเห็น


15 ธ.ค. 2566, 15:52



พารู้จัก กระต่ายจาม (การบูรป่า) ที่หลายคนอาจไม่เคยเห็น




 

กระต่ายจาม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Adenosma indiana (Lour.) Merr. อยู่ในวงศ์ Plantaginaceae โดยมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อาทิ พริกกระต่าย (ชลบุรี)/ โซเซ ข้าวก่ำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ ข้าวคำ ข้าวก่ำ พริกกระต่าย (ภาคตะวันออกเฉียงใต้, ชลบุรี)/ กระต่ายจาม (ภาคตะวันตกเฉียงใต้, เพชรบุรี)/ การบูรป่า (ทั่วไป) เป็นต้น
.
กระต่ายจาม เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ตามลำต้นมีขนนุ่มละเอียด ขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามและเรียงเป็นวงรอบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ กว้างหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมหรือมน โคนใบสอบหรือมน ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.7-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนนุ่มขึ้นหนาแน่นทั้งสองด้าน และมีต่อมเล็ก ๆ อยู่ด้านล่าง มีกลิ่นฉุนคล้ายการบูร ก้านใบสั้น
.
ดอกเป็นช่อแน่นค่อนข้างกลม ออกที่ปลายกิ่งหรือยอด มีใบประดับและกลีบเลี้ยงสีเขียว มีขน กลีบดอกเป็นหลอดยาวประมาณ 5 มม.ปลายแยกเป็น 2 ปาก สีม่วงสด ออกดอกปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูร้อน ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ส่วนเมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่เช่นกัน แต่มีจะมีขนาดเล็กมาก พบตามที่ลุ่ม ชื้นแฉะและเปิดโล่ง เช่น ทุ่งหญ้า นาข้าวและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงความสูง 1200 เมตร

สรรพคุณทางยา ส่วนของต้นมีรสจืด เย็น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ลม วิงเวียน มึนศีรษะ แก้ช้ำใน แก้โลหิตคลั่ง

สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวได้ที่ โทรศัพท์ : 094 289 2383 Facebook:  อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ - Phu Pha Thoep National Park









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.