เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



มท.1 มอบรางวัลจังหวัดสะอาด อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ชี้แก้ปัญหาขยะต้องร่วมมือทุกภาคส่วน


9 ก.ย. 2567, 16:28



มท.1 มอบรางวัลจังหวัดสะอาด อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ชี้แก้ปัญหาขยะต้องร่วมมือทุกภาคส่วน




วันนี้ ( 9 ก.ย.67 ) เวลา 10.45 น. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2567 และรางวัลอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 ระดับประเทศ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพ โดยมี นายทรงศักดิ์ ทองศรี​ น.ส.ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ และ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย คุณมาริสา ปัณยาชีวะ เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านประสานความร่วมเพื่อการพัฒนา สำนักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติ (UN) ประจำประเทศไทย ตลอดจนผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วม 

นายอนุทิน กล่าวว่า ยินดีกับทุกท่านที่ได้รับรางวัลการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดสะอาดและรางวัลอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 ระดับประเทศ ซึ่งการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเป็นนโยบายสำคัญที่กระทรวงมหาดไทยดำเนินการมาโดยตลอด เนื่องจากปัญหาขยะเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย รวมถึงสุขภาพจิตของพี่น้องประชาชน อีกทั้งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ "พูดง่ายแต่ทำยาก" ต้องอาศัยความตั้งใจจริงของทุกภาคส่วน รวมถึงความร่วมมือของพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ 

โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในปีนี้จึงมีความเป็นพิเศษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดเป็นรูปแบบการประกวด เพื่อเฟ้นหาจังหวัดที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดสะอาด ดีเด่น เป็นจังหวัดต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนยั่งยืน ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป ในขณะเดียวกัน "อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก" หรือ อถล. ซึ่งเป็นประชาชนในท้องถิ่น ที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ถือเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกที่สำคัญต่อทั้งชาวบ้านและเด็ก ๆในชุมชน ที่จะเป็นผู้รักษาชุมชนให้สะอาดเรียบร้อยและงดงามอย่างยั่งยืน

นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า กิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การส่งเสริมให้ทุกจังหวัด และทุกพื้นที่มีการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง กล่าวคือ มุ่งลดปริมาณขยะ ส่งเสริมการคัดแยกขยะ จัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยใช้หลักการ 3 ช : ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ 3 Rs : Reduce Reuse Recycle ซึ่งคณะกรรมการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2567 ได้มีมติที่ประชุมในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันอังคารที่ 16 ก.ค. 2567 พิจารณาผลการประกวดรางวัล ดังนี้

รางวัลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" ประจำปี 2567 จำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ จังหวัดลำพูน และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ จังหวัดสตูล 
รางวัลกลุ่มจังหวัดต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนยั่งยืน (กลุ่มต้นแบบ) และกลุ่มการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" (กลุ่มทั่วไป) จำนวน 15 รางวัล แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 

1) กลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่ จำนวน 5 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม และรางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดลพบุรี 

2) กลุ่มจังหวัดขนาดกลาง จำนวน 5 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดเลย รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ จังหวัดลำปาง รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย และรางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดตรัง 

3) กลุ่มจังหวัดขนาดเล็ก จำนวน 5 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต และรางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท"
นอกจากนี้ยังมีรางวัลอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 ระดับประเทศ จำนวน 15 รางวัล แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 

1) ประเภทหนูน้อย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เด็กหญิงกวินภรณ์ จันทร์เจริญ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ เด็กหญิงกัญญาภัทร ชาญณรงค์ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดเทศบาลนครภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ เด็กหญิงปัณณพร กาญจนเลขา อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และ รางวัลชมเชย ได้แก่ เด็กหญิงพิชญ์ชา วณิชวรพงศ์ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดเทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และเด็กหญิงวิราวรรณ พอกกล้า อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 

2) ประเภทเยาวชน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวชนิษฐา ซ้วนเล่ง อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ นางสาวชนิกานต์ เณรมณี อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ นางสาวเพ็ญพิชชา เงินตาสุก อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดเทศบาลเมืองตาก อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก รางวัลชมเชย ได้แก่ นายติณณ์ ชัยวงศา อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดเทศบาลตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และนางสาวธัญญรัตน์ มณีเลิศ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ 

3) ประเภทบุคคลทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายอภิวัฒน์ พรหมรินทร์ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปะตง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ นายธนาบูรณ์ รินนรา อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ นางสาวนุจรี สมาน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต รางวัลชมเชย ได้แก่ นายศุภกร ศรีสุวรรณ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และนางไพรินทร์ เรืองอร่าม อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.