เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



อาจารย์จุฬาฯ แพทย์-วิศวะ พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยประเมินผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา


31 ม.ค. 2563, 20:06



อาจารย์จุฬาฯ แพทย์-วิศวะ พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยประเมินผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา




นวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ล่าสุดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่กำลังเป็นที่จับตามองในแวดวงสาธารณสุขไทย และประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการเฉียบพลันร้ายแรงได้ นั่นก็คือ “โครงการประเมิน ดูแล ฟื้นฟู บริการผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง” ที่แพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้อย่างไร้พรมแดน โดยผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ (Video Conference) ช่วยลดอุปสรรคด้านเวลาและระยะทางในการเดินทางของผู้ป่วยเพื่อมาพบแพทย์ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งกับการให้บริการผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเฉียบพลันและต้องการการรักษาในวินาทีชีวิตอย่างเร่งด่วน



โดยโครงการ Telemedicine นี้ มี ศ.ดร.พญ.นิจศรี ชาญนรงค์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร Chula Excellence Center เป็นหัวหน้าโครงการ โดยจุฬาเริ่มต้นมาจากโครงการได้รับทุนสนับสนุน spearhead เป็นหนึ่งโครงการที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และการเงินให้กับมหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดผลงานการวิจัยออกมาสู่ตลาดและเกิดประโยชน์แก่ประชาชน  ซึ่งโครงการนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจาก คณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotic Technology และทีมวิจัย รศ.พญ.กฤษณา พิรเวช หัวหน้าฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู หัวหน้าฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่เข้ามาช่วยพัฒนาหุ่นยนต์และระบบกายภาพบำบัดสำหรับใช้บริการผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและภาคเอกชนคือ บริษัท Haxter Robotics เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยทีมสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CU Innovation Hub เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตหุ่นยนต์ เพื่อนำงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาไปสู่ในเชิงพาณิชย์และบริษัท Softsquare ที่เข้าร่วมสนับสนุนเงินทุนเทคโนโลยี และการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งหุ่นยนต์นี้สามารถประเมินสภาวะของผู้ป่วย ช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถติดตามอาการของผู้ป่วยทางโทรเวชกรรม


รวมถึงการเตือนให้รับประทานยาหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ อีกทั้งมีวีดิทัศน์เพื่อให้ความรู้และสอนวิธีทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ป่วยด้วย ซึ่งสำหรับตอนนี้มีการวางแผนที่จะนำหุ่นไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Corona virus ตามโรงพยาบาลทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัดอีกด้วย

ทั้งนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะมอบหุ่นยนต์ให้กระทรวงสาธารณสุข ใช้สำหรับสแกน ไวรัสโคโรนา จำนวน 3 ตัว






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.