เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



อ.เจษฎ์ ชี้แจงปม "ดื่มน้ำเย็นแล้วเป็นอันตราย" ยืนยันไม่เป็นความจริง!


22 มิ.ย. 2563, 16:15



อ.เจษฎ์ ชี้แจงปม "ดื่มน้ำเย็นแล้วเป็นอันตราย" ยืนยันไม่เป็นความจริง!




วันนี้ (22 มิ.ย.63) รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ อ.เจษฎ์  ได้โพสต์ข้อวความผ่านเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ เคลียร์ข่าวปลอมที่อ้างว่า "ดื่มน้ำเย็นแล้วเป็นอันตราย" ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องจริง พร้อมกับอธิบายว่าแบบชัดเจนว่า 

"กินน้ำเย็น ไม่ได้อันตรายครับ"

อันนี้ถามกันมาเยอะเลย ว่าที่เพจสุขภาพอันนี้ เค้าโพสต์ว่ามีงานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นที่บอกว่า ควรจะดื่มน้ำอุ่นมากกว่าน้ำเย็น จะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพดีกว่า ส่วนน้ำเย็น กินแล้วจะเป็นโรค ร่างกายจะเสียสมดุลย์ คนจีนอายุยืนเพราะดื่มน้ำอุ่น แถมมีรูปประกอบเหมือนน้ำเย็นจะทำให้เลือดตกลงมาเป็นก้อน ... จริงเท็จเป็นเช่นไร ?"

 



"คือคิดแบบคอมมอนเซนส์เนี่ย ถ้ากินน้ำเย็นแล้วเป็นอันตรายเนี่ย คนคงป่วย คงตาย กันไปครึ่งโลกแล้วล่ะครับ โดยเฉพาะคนในประเทศเขตหนาว ... แล้วคนจีนหรือคนญี่ปุ่นเอง เวลาหน้าร้อน เค้าก็ดื่มน้ำเย็นแก้กระหายเหมือนกัน

อุณหภูมิร่างกายคนเรา อยู่ที่เฉลี่ย 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อเราดื่มน้ำเย็นเข้าไปนั้น เราอาจจะรู้สึกเย็นวาบไปตามหลอดอาหารถึงกระเพาะได้ แต่นั่นก็แค่แป้บเดียว เพราะร่างกายจะรีบปรับอุณหภูมิของน้ำที่เราดื่มเข้าไปให้อยู่ในระดับเดียวกับร่างกาย ที่หลักของ homeostasis .. แถมการปรับอุณหภูมินี้ ก็อาศัยการเผาผลาญพลังงานภายในร่างกาย ซึ่งการดื่มน้ำเย็นใส่น้ำแข็ง 2 ลิตรต่อวัน จะช่วยเผาพลาญได้ถึง 70 กิโลแคลอรี่ทีเดียว (https://www.sharecare.com/…/drinking-ice-water-burn-calories)

ที่นี้ย้อนกลับมาถึงงานวิจัยของชาวญี่ปุ่น ปี 2013 ที่เค้าอ้างถึง คือ The effect of water temperature and voluntary drinking on the post rehydration sweating. ถ้าเข้าไปอ่านบทความวิจัยนี้จริงๆ (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24040477) จะเห็นว่า มันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการดื่มน้ำอุ่นจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย หรือลดการเป็นโรคต่างๆ อย่างทีอ้างเลย

บทความวิจัยนี้ พูดถึงเรื่องผลของอุณหภูมิของน้ำดื่ม ที่มีต่อ "เหงื่อที่ออก" ซึ่งมาจากการที่ร่างกายระบายความร้อนหลังจากที่โดนความร้อนและขาดน้ำ โดยให้อาสาสมัครไปออกกำลังกายในห้องที่ร้อนชื้น จนร่างกายขาดน้ำ แล้วดื่มน้ำที่อุณหภูมิต่างกัน คือ 5, 16, 26, 58 องศาเซลเซียส จากนั้นวัดปริมาณเหงื่อที่ออกมา

ผลที่ได้คือ น้ำที่อุณหภูมิ 16 องศาเซลเซียส สามารถช่วยลดอาการขาดน้ำได้ดีที่สุด ... ซึ่ง 16 °C เนี่ยเป็นอุณหภูมิของน้ำจากก๊อกในประเทศญี่ปุ่น แต่น่าจะนับได้ว่าเป็นน้ำเย็นเล็กน้อย สำหรับบ้านเรา และคงไม่มีใครนับว่ามันเป็น "น้ำอุ่น" แต่อย่างไรนะ

สรุปว่า โพสต์เรื่อง "กินน้ำเย็นอันตราย/กินน้ำอุ่นแล้วดี" เนี่ย ไม่น่าเชื่อถือ และอ้างอิงงานวิจัยมาแบบมั่วๆ นะครับ

ปล. รูปประกอบเค้า ก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องเลือดในร่างกายนะ เวลาเอาสีหยดลงไปในน้ำเย็น มันก็เกาะกลุ่มกันแบบนี้ และเวลาหยดลงในน้ำร้อนน้ำอุ่น มันก็กระจายตัวดี ตามหลักเทอร์โมไดนามิกธรรมดาๆ ครับ


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.