เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ปลื้ม จ.เลย สร้างรายได้จากขายขยะ 11.7 ล้าน โชว์เมืองสะอาดที่สุด


2 ส.ค. 2562, 11:07



ปลื้ม จ.เลย สร้างรายได้จากขายขยะ 11.7 ล้าน โชว์เมืองสะอาดที่สุด




วันที่ 2 ส.ค. 62 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงกำหนดให้ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วนและเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 -2564) เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายโดยมีสาระสำคัญให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นำไปสู่การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน

      

 

 



นายโสภณ  สุวรรณรัตน์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เปิดเผยถึง กิจกรรม "การรณรงค์ แยกขยะก่อนทิ้ง" โดยธนาคารขยะรีไซเคิล  กิจกรรมถนน ท้องถิ่นไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อม (ถนนสวย) และจัดกิจกรรมการดูแลรักษาความสะอาดในถนนสายหลัก สายรอง ในพื้นที่จังหวัดเลย เป็นภาพรวม ทั้งจังหวัดเลย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำแผนปฏิบัติการ "ประเทศไทย ไร้ขยะ" ตามแนวทาง "ประชารัฐ" ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศดั้งนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนภารกิจดังกล่าว จังหวัดเลย ได้จัดทำแผนการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดเลยแบบมีส่วนร่วม จึงมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเลยเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนเพื่อทำเมืองเลยให้สะอาดมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนวาระ LOEI  FOR  ALL(เลยเป็นของทุกคน) ระหว่าง ผู้ว่าราชการจังหวัดเลยกับท้องถิ่นจังหวัดเลย ต่อมาจึงได้กำหนดแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย และในปี 2561 จังหวัดเลยได้รับรางวัล จังหวัดขนาดกลาง ที่สะอาดที่สุดในประเทศไทย

 

   


จังหวัดเลยได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการขยะ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า และกรณีสามารถถอดบทเรียนการบริหารจัดการขยะได้ ดังนี้ 1. การจัดการขยะรีไซเคิล มีแนวทางการดำเนินงานจำนวน 11 ขั้นตอน ดังนี้         (1) จัดประชุมเพื่อรับฟังการบรรยายการจัดการขยะในครัวเรือนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น       ที่ประสบผลสำเร็จในพื้นที่ให้แก่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้แทนในชุมชน อาสาสมัครต่างๆ เพื่อปรับแนวคิดและให้เกิดความร่วมมือในการคิดคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยให้มีการจัดตั้งธนาคารขยะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เนื่องจากเล็งเห็นว่าการมีระบบธนาคารขยะในตำบล หมู่บ้าน ชุมชน จะเป็นการสอนให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนเกิดขึ้น โดยมีสวัสดิการจากการขายขยะรีไซเคิลให้ธนาคารขยะเป็นแรงจูงใจและกระตุ้นในการสร้างความตะหนักรู้  (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะทำงาน โดยมอบหมายให้ รองนายกองค์กรปกครอง      ส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการกองฯ เพื่อร่วมกันรับผิดชอบเป็นรายหมู่บ้าน กระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน แสดงออกถึงความรับผิดชอบที่ต้องมีร่วมกันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) กระบวนการค้นหาหมู่บ้านชุมชนนำร่อง ในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อทดลองเป็นแบบอย่างในการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล โดยพิจารณาจากหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน (4) คณะทำงานตามข้อ 2 ลงพื้นที่หมู่บ้านชุมชนนำร่องเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กัประชาชน (5) เก็บข้อมูลปริมาณขยะของหมู่บ้าน/ชุมชน นำร่องก่อนเริ่มดำเนินการเพื่อเป็นข้อมูลวัดผลสัมฤทธิ์ (6) หมู่บ้านชุมชนนำร่องวางแผนการคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยร่วมกันกำหนดระเบียบกองทุนธนาคารขยะรีไซเคิล จากนั้นเปิดรับสมัครสมาชิก กำหนดแผนและระบุวันในการออกรับซื้อขยะรีไซเคิลให้ชัดเจน (7) หมู่บ้านชุมชนนำร่องคัดแยกขยะตามแผนจัดสวัสดิการแก่สมาชิก เช่น เงินช่วยค่าฌาปนกิจศพ ช่วยเหลือค่าคลอดบุตร ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ช่วยเหลือกรณีจัดงานศพปลอดแอลกอฮอล์ เป็นต้น (8) ขยายผลจากหมู่บ้าน/ชุมชนนำร่องให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านชุมชนในพื้นที่ (9) อำเภอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดตามผลการขับเคลื่อนและสรุปผลรายงานให้จังหวัดทราบ (10) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานความก้าวหน้าผ่านอำเภอมายังผู้ว่าราชการจังหวัดตามแบบ รายงานมีการเก็บสถิติจำนวนสมาชิก ปริมาณขยะ จำนวนเงินกองทุนและเงินสวัสดิการ (11) ผู้ว่าราชการจังหวัดรองผู้ว่าราชการจังหวัดท้องถิ่นจังหวัดนายอำเภอ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงาน และอาจมีข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดการแก้ไข ปรับปรุง รวมทั้งให้กำลังใจคณะทำงานในพื้นที่

 

 

 


ทั้งนี้  ในปัจจุบันจังหวัดเลยได้จัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล จำนวน 99 แห่ง มีสมาชิก 42,487 ครัวเรือน ผู้ได้รับผลประโยชน์ 212,435 คน มีเงินสวัสดิการ 11,790,521.19 บาท จ่ายสวัสดิการแล้ว 1,244 ราย เป็นเงิน ทั้งสิ้น 2,887,230.09 บาท เงินสวัสดิการคงเหลือ 8,299,835.10 บาท ถือเป็นความภาคภูมิใจ ของคนจังหวัดเลย ที่ได้เริ่มต้นและมีทิศทางที่ดีในเรื่องการลดขยะ และยังนำขยะแปลงสภาพกลายเป็นรายได้ กลับมาสร้าง ชุมชนอีกครั้ง






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.