ผอ.โครงการชลประทานอุทัยธานี พร้อมจนท.ติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนวังร่มเกล้า หลังปริมาณเกินระดับ
21 ก.ค. 2564, 15:25
ที่จังหวัดอุทัยธานี นายฐกร กาญจิรเดช ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุทัยธานี กล่าวภายหลัง ร่วมกับนายพลัฏฐ์ ปาจิตร หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1(เขื่อนวังร่มเกล้า) และเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดสรรน้ำ ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำของเขื่อนวังร่มเกล้า ว่าจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องในเขตตอนบนของเขื่อนวังร่มเกล้าพื้นที่อำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี และในเขตตอนบนของลุ่มน้ำสะแกกรัง ทำให้มีปริมาณน้ำไหลมารวมกันที่บริเวณเหนือเขื่อนวังร่มเกล้าตังแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนวังร่มเกล้าเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจนเต็มระดับเก็บกักของเขื่อนวังร่มเกล้า
จากปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เขื่อนวังร่มเกล้าได้บริหารจัดการน้ำให้กับเกษตรกรผู้ใช้น้ำจากเขื่อน วังร่มเกล้าได้ ประกอบด้วยในเขตพื้นที่ ตำบลทุ่งใหญ่ ตำบลโนนเหล็ก ตำบลหนองเต่า ตำบลหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งได้ทำการเพาะปลูกข้าวไปแล้วจำนวน 8,469 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 56 ของพื้นที่ และอีกส่วนหนึ่งในเขตพื้นที่ ตำบลเนินศาลา ตำบลหาดสูง ตำบลศาลาแดง ตำบลเนินกว้าว อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งได้ทำการเพาะปลูกข้าวไปแล้วจำนวน 9,321 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 68 ของพื้นที่ โดยเกษตรกรกำลังต้องการน้ำไปหล่อเลี้ยงต้นข้าว
และได้ทำการผันน้ำเข้าแก้มลิงเหนือเขื่อนวังร่มเกล้าทั้ง 7 แห่ง ความจุรวม 22.24 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเป็นการสำรองน้ำไว้ให้กับเขื่อนวังร่มเกล้าเมื่อเกิดปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงในช่วงระยะเวลาต่อไป พร้อมยกประตูระบาย 1 บาน จาก 3 บาน เพื่อระบายน้ำลงท้ายเขื่อนวังร่มเกล้ามาตั้งแต่เวลา 19.00 น.ของวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เพื่อให้เกษตรกรด้านท้ายเขื่อนได้ใช้น้ำในการทำนา และปริมาณที่ระบายไปสู่ท้ายเขื่อนจะส่งผงดีให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสะแกกรังสูงขึ้นบรรเทาปัญหาสถานการณ์น้ำในแม่น้ำที่ลดลงไปก่อนนี้นี้จนน่าเป็นห่วง และสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชนชาวแพ โดยปริมาณจะใหลลงมาเติมในอีก 2 – 3 วันนี้ ส่วนทางชลประทานได้จัดเจ้าหนฝ้าระวังและเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำทางด้านเหนือเขื่อนหากมีฝนตกหนัก และมีน้ำป่าไหลทะลักมาจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ก็จะมีการยกประตูระบายน้ำทั้ง 3 บานขึ้น เพื่อระบายน้ำสู่ท้ายเขื่อน และจะให้กระทบต่อสถานการณ์อุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด ต่อไป