เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



มท. สั่งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เตรียมรับมือพายุโซนร้อน "ไลออนร็อก"


9 ต.ค. 2564, 09:37



มท. สั่งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เตรียมรับมือพายุโซนร้อน "ไลออนร็อก"




เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ มีคำสั่งด่วนที่สุด ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้อำนวยการจังหวัด ทุกจังหวัด เรื่อง การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์และผลกระทบจากพายุไลออนร็อก โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

ตามหนังสือที่อ้างถึง กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้สั่งการให้ กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทุกจังหวัด เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย พร้อมทั้งกําชับการดําเนินการตามแนวทางแผนเผชิญเหตุ นั้น

จากการติดตามสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า เมื่อเวลา ๐๙.๐๐ น. ของวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ พายุโซนร้อน “ไลออนร็อก” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ ๙๐ กิโลเมตร ทางตะวันออกของเกาะไหหลํา ประเทศจีน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ ๖๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ ๑๐ - ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ประกอบกับมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้กําลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทําให้ภาคใต้มีฝนตกหนัก บางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน มีกําลังแรงขึ้น จึงให้กองอํานวยการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ถือปฏิบัติตามแนวทางตามหนังสือที่อ้างถึง ตลอดจนข้อสั่งการในที่ประชุม กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๔ โดยเคร่งครัด พร้อมทั้ง ดําเนินการตามแนวทาง ดังนี้



๑. ให้คณะทํางานติดตามสถานการณ์ของจังหวัด ติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ โดยเฉพาะ ในพื้นที่ที่เคยประสบอุทกภัย น้ําท่วมขัง และดินโคลนถล่ม จากกรณีฝนตกหนัก หรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับ ผลกระทบจากกรณีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ เช่น พื้นที่ในเขตเศรษฐกิจของจังหวัด พื้นที่ท้ายเขื่อน อ่างเก็บน้ํา ฝาย ที่มีปริมาณน้ํามาก และพื้นที่เชิงเขา พร้อมทั้งจัดทําข้อมูลแผนที่เส้นทางน้ําที่อาจส่งผลกระทบพื้นที่ชุมชน เขตเศรษฐกิจ ให้ครอบคลุม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้อํานวยการในแต่ละระดับ ให้สามารถแจ้งเตือนประชาชน ตลอดจนบูรณาการจัดกําลังเจ้าหน้าที่เข้าป้องกันการเกิดน้ําท่วม และเข้าให้ความ ช่วยเหลือประชาชนได้ตรงจุดอย่างมีประสิทธิภาพ

๒. กําชับกองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับ ปรับแผนเผชิญเหตุ อุทกภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย ให้แบ่งมอบพื้นที่ ภารกิจ หน่วยงานรับผิดชอบในการดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ชัดเจน พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการปฏิบัติ และช่องทางในการติดต่อสื่อสารเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐได้ในทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง หากกําลัง เจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกล สาธารณภัย อาทิ เครื่องสูบน้ํา เรือยนต์กู้ภัย เรือท้องแบน รถสูบส่งน้ําระยะไกล รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย ฯลฯ ไม่เพียงพอ ให้ประสานการปฏิบัติกับหน่วยทหาร และศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต เพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือประชาชนให้พร้อมตลอด ๒๔ ชั่วโมง

๓. เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยในพื้นที่ ให้จัดชุดปฏิบัติการจากหน่วยราชการฝ่ายพลเรือน ทหาร ตํารวจ มูลนิธิ อาสาสมัคร ประชาชนจิตอาสา เร่งเข้าคลี่คลายสถานการณ์ พร้อมทั้งดูแลความเป็นอยู่ของ ประชาชนในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการดํารงชีพ ด้านสาธารณสุข ด้านการคมนาคม ตลอดจนจัดตั้งโรงครัว พระราชทานในการประกอบเลียง พร้อมทั้งแจกจ่ายถุงยังชีพตามวงรอบ โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัยที่อยู่ห่างไกล และเข้าถึงได้ยาก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

๔. หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงในพื้นที่ ให้ผู้อํานวยการสั่งการอพยพประชาชนในพื้นที่ เสี่ยงภัยไปยังพื้นที่ปลอดภัย หรือศูนย์พักพิงที่จัดเตรียมไว้โดยทันที โดยให้ฝ่ายปกครอง กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายอาสาสมัคร ประชาชนจิตอาสา เข้าดูแลให้ความช่วยเหลือ ประชาชนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ การปฏิบัติการให้ดําเนินการควบคู่ไปกับมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19)

๕. สําหรับจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตลอดจนพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ให้มอบหมายหน่วยงาน ที่มีหน้าที่กํากับดูแล เช่น บริเวณน้ําตก ถ้ํา กําหนดมาตรการในการแจ้งเตือน การปิดกั้น หรือห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่ สําหรับพื้นที่ติดทะเล ชายหาดต่าง ๆ ให้ประสานการปฏิบัติ กับหน่วยงานของกรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ตํารวจน้ําในพื้นที่ เพื่อดําเนินการตามมาตรการที่กําหนดในการ นําเรือเข้าที่กําบังและห้ามการเดินเรือช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเคร่งครัด หากพบว่ามีเรือขนาดเล็กอยู่ในพื้นที่ นอกชายฝั่งที่อาจจะเป็นอันตรายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการนําเรือดังกล่าวกลับเข้าฝั่งเพื่อให้เกิด ความปลอดภัย ตลอดจนกําชับสถานประกอบการ โรงแรมในพื้นที่ชายทะเลสื่อสารให้นักท่องเที่ยวระมัดระวัง และห้ามลงเล่นน้ําในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด

๖. ให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสรุป สถานการณ์ และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ ผ่านกองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง อย่างต่อเนื่องทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ หรือจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง จึงเรียนมาเพื่อดําเนินการต่อไป







Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.