"เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน" นำทีม ร่วมเดินสำรวจเส้นทางรถไฟสายมรณะสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
9 พ.ย. 2564, 09:42
วันที่ 8 พ.ย. 64 ผู้สื่อข่าว ONB news ได้รายงานว่า กรณีที่ท่านพระวิลาสกาญจนธรรม ดร.เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พระนักพัฒนาพร้อมด้วยคณะกรรมการวัด ประธานชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน และรองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมิ ได้ร่วมกันประชุมหารือเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เส้นทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ 81 ปี ที่ผ่านมา ที่ทหารญี่ปุ่นได้เกณฑ์เหล่าเฉลยจากประเทศต่างๆ เดินทางมายังพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีเพื่อทำการก่อสร้างเส้นทางรถไฟไปยังประเทศอินเดียโดยผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ไทรโยค ทองผาภูมิ และ สังขละบุรี เพื่อผ่านประเทศพม่าต่อไปยังประเทศอินเดีย เส้นนี้ทำเป็น"แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของทองผาภูมิรวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ให้กับเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาในการ"ก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ"สายนี้
นายสมเกียรติ นาคศรีโภชน์ รองนายกเทศมนตรีตำบลท่าขนุน และ รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมิ ได้เปิดเผยเกี่ยวกับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ ทำเป็นแลนมาร์คแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แห่งใหม่ของทองผาภูมิเพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังรวมไปถึงนักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้ถึงความสำคัญของการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้"หนึ่งไม้หมอนเท่ากับหนึ่งชีวิต"ของเหล่าเฉลยศึกในสมัยนั้น
นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ย.64 ที่ผ่านมา พระครูวิลาศกาญจนธรรม ดร.เจ้าอาวาสวัดท่าขนุนพร้อมด้วยประธานชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุนและต้นได้พาคณะผู้บริหารบริษัท เอเชียเอ็นจีเนียริ่ง & เซอร์วิส (ไทยแลนด์)จำกัด ออกเดินสำรวจเส้นทางรถไฟดังกล่าวสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ปี พ ศ.2483 หรือ 80 กว่าปีที่ผ่านมาระหว่างทหารญี่ปุ่นกับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีอังกฤษ สหรัฐ ออสเตเรีย เป็นผู้นำเพื่อทำเป็นแลนมาร์คและแหล่งท่องเที่ยวแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แห่งใหม่ของอำเภอทองผาภูมิ ในวันดังกล่าวทางท่านเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนท่านยังได้ทำหนังสื่อลงนามสัญญาว่าจ้างพร้อมกับมอบเงินจำนวน 1,000,000 บาทเพื่อเป็นการวางมัดจำค่าหัวรถจักรโบราณ ส่วนการก่อสร้างคาดว่าจะใช้เวลาในการสร้างใช่เวลาประมาณ 8 เดือน หรือประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565
เส้นทางรถไฟสายมรณะสายนี้ยังเป็นเส้นทางในการตามหาสมบัติที่ทหารญี่ปุ่นได้ฝังและเก็บไว้ตามจุดต่างๆของการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะสายนี้ หลังจากทหารญี่ปุ่นได้แพ้สงครามให้กับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่นำระเบิดปรมนูไปถึงยังเมืองฮิโรชิม่า และนางาซากิ จนทำให้ประชาชนของญี่ปุ่นตายลงนับแสนคน สมเด็จพระจักรพรรดิ จึงประกาศให้ทหารญี่ปุ่นวางอาวุธและเดินทางกลับประเทศ ปล่อยให้เรื่องราวของ"ทองคำ"ในครั้งนั้นได้ถูกกล่าวถึงจนกลายเป็น "ตำนานขุมทองโกโบริ" ที่โด่งดังตามมา แม้จะยังไม่มีใครเคยพบสมบติดังกล่าวเลยก็ตาม แต่นักล่าสมบัติก็ยังเชื่อมั่นว่า"ทองคำ"ที่ทหารญี่ปุ่นได้ทำการฝั่งไว้ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรียังอยู่ทำให้เกิดเรื่องราวเหตุการร้ายขึ้นตามมาแม้บางครั้งมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นมาก็ตามแต่นักล่า"ขุมทองโกโบริ"ก็ยังแอบลักลอบขุดหาสมบัติดังกล่าวตลอดเส้นทางรถไฟสายมรณะจนถึงปัจจุบันก็ยังมีกลุ่มนักลาสมบัติตามหาอยู่