"ชลบุรี" พบผู้ติดเชื้อโควิดวันที่ 3 ก.พ. 65 เพิ่มอีก +399 ราย !
3 ก.พ. 2565, 08:31
ล่าสุด (3 ก.พ.65) ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก "สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี" รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดในพื้นที่ โดยข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) ณ เวลา 06.30 น.วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ระบุว่า วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 399 ราย
วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 399 ราย
1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 33 ราย สะสม 875 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 211 ราย
2. CLUSTER บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด อ.ศรีราชา 4 ราย สะสม 23 ราย
3. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 16 ราย
4. บุคลากรทางการแพทย์ 3 ราย
5. ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด 7 ราย ดังนี้
5.1 กรุงเทพมหานคร 3 ราย
5.2 จังหวัดฉะเชิงเทรา 1 ราย
5.3 จังหวัดระยอง 1 ราย
5.4 จังหวัดลำปาง 1 ราย
5.5 จังหวัดศรีสะเกษ 1 ราย
6. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
6.1 ในครอบครัว 120 ราย
6.2 จากสถานที่ทำงาน 42 ราย
6.3 บุคคลใกล้ชิด 29 ราย
6.4 ร่วมวงสังสรรค์ 2 ราย
7. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 12 ราย
8. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 131 ราย
ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 591,767 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 226 คน ไม่มีรายงานผู้ป่วยปอดอับเสบ, ไม่มีรายงานผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ และไม่มีเสียชีวิต
มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,856,068 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 555 คน ไม่มีรายงานผู้ป่วยปอดอับเสบ, ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 1 ราย และเสียชีวิต 1 ราย
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 92,632 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 380,373 คน รวม 473,005 คน ในเดือนนี้ พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ 17 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีน 377 คน ผู้ป่วยปอดอับเสบ 1 ราย, ไม่มีรายงานผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต 2 ราย
สำหรับวันนี้ พบผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 1 ราย (มีประวัติการรับวัคซีนสองเข็ม เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2564), ผู้ป่วยปอดอับเสบ
รายใหม่ 1 ราย (ไม่พบประวัติการรับวัคซีน) และผู้เสียชีวิตรายใหม่ 1 ราย (อายุ 84 ปี) สาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน (มีประวัติการรับวัคซีนสองเข็ม เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2564) ดังนั้น การฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ กล่าวคือต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดเข็มที่สาม จะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น
การระบาดที่พัทยา อำเภอบางละมุงและอำเภอเมืองชลบุรี มีอุบัติการณ์สูงที่บริเวณตลาด ทรีทาวน์ ซอยบัวขาวพัทยา อำเภอบางละมุง และร้านอาหารจำหน่ายสุราถนนลงหาดบางแสน หาดวอนนภา อำเภอเมืองชลบุรี และเริ่มมีการกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น ขณะนี้มีการระบาดในหลายอำเภอ
ร้านอาหารจำหน่ายสุราในเขตพัทยา อำเภอบางละมุง เขตอำเภอเมืองชลบุรี ต้องคัดกรองลูกค้าด้วย ATK ทุกคน สำหรับอำเภออื่นๆ ให้ตรวจ ATK ในร้านที่ลูกค้ามากกว่า 100 คน หรือค่อนข้างแออัด
ขณะนี้เริ่มมีการระบาดในสถานประกอบการบางแห่ง พนักงานต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และเคร่งครัดในมาตรการองค์กร
1. เลิกงานไม่สังสรรค์
2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย
3. ป่วยต้องหยุด
4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที
5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆกัน
6 สุ่มตรวจ ATK สม่ำเสมอ
สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องมีการกักตัวอย่างเข้มงวด ไม่ออกไปแพร่เชื้อ
การควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดชลบุรี อยู่บนพื้นฐานของสมดุลระหว่าง การควบคุมโรค เศรษฐกิจ สังคม
ปัจจัยความเร็วในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นกับการเคลื่อนที่นอกบ้านของประชาชน ความใกล้ชิดกัน รวมทั้งระยะเวลาในการใกล้ขิดกัน นอกเหนือจากการไม่เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล หากไม่ล้างมือก่อนจับหน้า เชื้อเข้าทางจมูก ปากตา ทำให้มีการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้
ในสภาวะการณ์ที่โควิด-19 มีการระบาดในวงกว้าง จนอาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น เชื้อไม่ได้หมดสิ่นไป ทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อได้ แต่ต้องไม่ให้เกิดการระบาดจนระบบสาธารณสุขรองไม่ได้ และต้องไม่เสียชีวิต ดังนั้นจึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของจังหวัดชลบุรี
ค้นให้มาก กักให้ดี ชีวิตวิถีใหม่ ร่วมใจฉีดวัคซีน
1 ค้นให้มาก สถานที่ให้บริการประชาชน แหล่งชุมนุมชน ต้องมีการคัดกรองด้วย ATK สม่ำเสมอ ประชาชนที่มีอาการหรือสงสัยสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้มีการตรวจ ATK คัดกรอง
2 กักให้ดี ผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อให้กักตัวให้ดี ผู้ติดเชื้อต้องแยกกัก ไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
3 ชีวิตวิถีใหม่ ทุกคนต้องเคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล อยู่ห่างกัน หมั่นล้างมือ แมสก์ต้องใส่ เขื้อเข้าทาง จมูก ปาก ตา ต้องไม่จับหน้า โดยไม่ล้างมือ ทุกคนต้องสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่โควิด-19 ยังคงต้องหลงเหลือ ( smart living with covid-19 )และอาจกลายเเป็นเชื้อประจำถิ่น สถานที่ให้บริการประชาชน ต้องมีมาตรการควบคุมปัองกัน ( covid-19 free setting)
4 ร่วมใจฉีดวัคซีน วัคซีนลดความรุนแรงของโควิด-19 ได้ 100% แต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้ ยังคงต้องมีสุขอนามมัยส่วนบุคคล ขอความร่วมมือทุกท่านในการฉีดวัคซีน เพื่อลดความเร็วในการระบาด และลดความรุนแรงของโควิด-19 โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประตำตัว ขณะนี้ยังคงมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว และเป็นผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน