"อาจารย์วิทย์เกษตร" ม.มหิดล พบสาเหตุการขยายพันธุ์กล้วยด่างอินโดฯ ไม่แดง ต้นเดียวมีมูลค่ามากกว่า 10 ล้าน
18 ก.พ. 2565, 11:12
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า อาจารย์ ดร.เนติยา การะเกตุ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้เปิดเผยว่า “ จากกระแส ข่าวในปัจจุบัน เรื่อง Musa “Siam Ruby” หรือต้นกล้วยแดงอินโด ที่มี ต้นแม่พันธุ์ลายเทพตีนตุ๊กแก พายุ วากิว แหล่งรวมลายเทพ ไว้ในต้นเดียวมีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาทต่อต้นเลยทีเดียว ผู้คนในวงการไม้ดอกไม้ประดับรวมถึงไม้ใบต่างพากันค้นหา ”กล้วยแดงอินโด” กันมากมาย
ในยุค Covid-19 ผู้คนต่างหาทางเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ต้นกล้วยแดงอินโด อีกหนึ่งธุรกิจที่ยังเจริญเติบโตและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่งในวงการไม้ทำกันมานานมาแล้วโดยส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคนี้กับพืชเศรษฐกิจเช่น กล้วยไม้ กล้วยหอมทอง เป็นต้น และ “กล้วยแดงอินโด” ที่ราคาหลักล้าน ก็ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้คือการเลี้ยงพืชในสภาวะปลอดเชื้อ คือไม่มีเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียเลย ดังนั้นเราจะต้องฆ่าเชื้อในพืชเราให้หมดไปก่อนถึงจะประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งการทำก็ไม่ยาก และก็ไม่ง่าย เมื่อได้ขยายจำนวนเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อได้จำนวนที่ต้องการแล้วจากนั้นก็ทำให้พืชมีรากที่สมบูรณ์และแข็งแรง จึงนำต้นกล้วยมาอนุบาล เมื่อต้นกล้วยมีใบใหม่แสดงให้เห็นว่ากล้วยแดงอินโดพร้อมออกไปอาบแดด จะสังเกตเห็นว่าในตอนเริ่มแรกเนื้อเยื่อกล้วยแดงอินโดไม่แดงสักนิด
แต่เมื่อต้นไม้โดนแสงแดดตอนเช้าไม่เกิน 10 โมง ภายใน 1 อาทิตย์ ต้นกล้วยจะแดง โดยไล่จากขอบใบแดง หลังใบแดง หน้าใบแดง การนำต้นกล้วย ไปอาบแดดใบกล้วยจะแดงขึ้น เริ่มมีการพัฒนาเม็ดสีทำให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น แต่การแดงหรือไม่แดง นี่เกี่ยวกับพันธุกรรมของกล้วย เกิดจากการขยายปริมาณเนื้อเยื่อมาก ทำให้บริเวณที่มีเนื้อเยื่อเขียวเจริญเติบโตมาเป็นต้นจึงทำให้เนื้อเยื่อกล้วยแดงอินโด มีทั้งแดง ทั้งเขียว และ อีกประเด็นที่สำคัญ สำหรับ ผู้ที่ ขยายพันธุ์พืช ให้ความสนใจ อย่างมากคือ สาเหตุที่ขยายพันธุ์กล้วยด่างอินโดไม่แดง เพราะอะไร
อาจารย์ ดร.อาจารย์ดร.เนติยา การะเกตุ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้กล่าวถึง ประเด็น นี้ว่า เนื่องจากตอนขยายพันธุ์ ทำให้มีการแตกกอเยอะ จนพืชที่มีบริเวณสีเขียวแตกกอด้วย นั่นคือคือเหตุผล ที่ทำให้บางส่วนแดง บางส่วนไม่แดง สรุปคือ ถ้าเนื้อเยื่อพืชมีส่วนที่เป็นสีแดงมากก็จะแดงมาก ถ้าได้แต่ส่วนที่เป็นสีเขียวก็จะเขียวล้วน แต่ถ้าได้ทั้งสองส่วนมาอยู่ด้วยกันก็จะได้ครึ่งต้นเขียวครึ่งต้นแดง ซึ่งความเป็นไปได้มีหลากหลายมาก จึงได้ใบที่มีลวดลายต่างๆ ไม่เหมือนกัน ค่ะ เพราะความคลาสิก Unique แปลกใหม่ให้ลุ้นตลอด นี่แหละเสน่ห์ไม้ด่าง นั่นเอง
ขอบคุณภาพจาก : ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี /ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ บริษัท ก่อบุญณัฐ จำกัด, Koai Garden และ Prangchan Plant