เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



เปิดห้องลับ ! เหนือประตูชุมพล ไม่ใช่ทุกคน ที่สามารถเข้าไปได้


11 ก.ย. 2562, 12:17



เปิดห้องลับ ! เหนือประตูชุมพล ไม่ใช่ทุกคน ที่สามารถเข้าไปได้





สำหรับ ห้องลับ เหนือประตูชุมพล หลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ. นครราชสีมา ตามหลักวิชาการคือ หอยามรักษาการณ์เชิงเทิน รูปแบบทรงไทยโบราณ ศิลปะสมัยอยุธยาหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาช่อฟ้าใบระกา โดยกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 

 

 

 สิ่งของที่อยู่ด้านในห้องลับนี้ ส่วนใหญ่เป็นดาบโบราณ รูปหล่อท้าวสุรนารี รูปไม้แกะสลักย่าโม,ช้างและม้า ตุ๊กตา,นางรำ,พานบายศรีและชุดไทยโบราณ

 

 

โดยดาบนักรบไทยโบราณ ทั้งหมดได้สลักชื่อยศตำแหน่ง ทั้งหมดเป็นของนายทหาร นายตำรวจและข้าราชการระดับสูงที่มาดำรงตำแหน่งในพื้นที่ จ.นครราชสีมา แล้วมาบนบานศาลกล่าวหรือขอร้องให้ย่าโมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ ให้ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือขอให้มีตำแหน่งอยู่ในโคราชนานๆ  

ซึ่งของทั้งหมด ที่นำมาเก็บไว้ในห้องนี้ได้ ส่วนใหญ่เป็นของข้าราชการระดับสูงในพื้นที่

 

 

 

สำหรับประตูเมืองชุมพลนั้น ได้สร้างขึ้นในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงพ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2231 ไว้เพื่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู ชื่อประตู “ชุมพล” นั้นหมายความถึง ที่ชุมนุมพลส่วนใหญ่ เป็นประตูสำหรับเตรียมไพร่พลและออกศึก เนื่องจากมีภูมิประเทศเปิดกว้าง ไม่มีป้อมปราการตามธรรมชาติเหมือนประตูอื่นๆ ในอดีตมีความเชื่อว่า เมื่อลอดผ่านประตูชุมพลไปทำศึกแล้ว จะแคล้วคลาดได้กลับบ้านเมือง เนื่องจากตัวเมืองปัจจุบัน ได้มีขยายออกไปยังบริเวณรอบนอกไปทางทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่าเดิม ส่งผลทำให้ปัจจุบัน ประตูชุมพลจึงเสมือนตั้งอยู่กลางเมือง ต่อมาทางหน่วยราชการของจังหวัดนครราชสีมาได้สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี  แล้วนำมาประดิษฐานบนแท่นสูง ตรงบริเวณหน้าประตูชุมพล ซึ่งได้มีการถมคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกบางส่วน เพื่อทำเป็นพื้นที่ก่อสร้าง

 



ทั้งนี้ ประตูชุมพล ทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 และกำแพงเมืองโคราช ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479

 


 ตำนานประตูชุมพล  มีความเชื่อกันอีกว่า การลอดซุ้มประตูชุมพล เชื่อกันว่าหาลอดประตูนี้ 1 ครั้ง จะได้กลับมาโคราชอีกในไม่ช้า หากลอด 2 ครั้งจะได้ทำงานหรือมาอยู่ที่โคราช แต่หากลอดถึง 3 ครั้งจะได้คู่ครองเป็นคนโคราช แต่ห้ามลอดเกิน 3 ครั้งไม่งั้นคู่รักจะได้เลิกกัน ใครพากันไปลอดก็นับกันดีๆ

 

ความเชื่อนี้ถูกเล่าต่อกันมาช้านาน ไม่ทราบว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยไหน แต่หลาย ๆ คนที่อยากลอง ก็ได้มีคู่ครองเป็นชาวโคราชกันมาแล้ว บางคนก็ได้ย้ายมาอยู่โคราชอย่างไม่ทราบสาเหตุมีให้เห็นมานักต่อนัก อาจจะด้วยความเชื่อ สิ่งลี้ลับ คาถาอาคมที่สมัยก่อนการจะสร้างประตูเมืองต้องมีการลงคาถาอาคม และสิ่งของบางอย่างฝังลงไปด้วย แม้จริงประการใดก็ไม่มีใครทราบ เพราะเรื่องนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล







Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.