เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"ครูหนุ่ม" เฝ้าติดตามเฝ้าดูชีวิตปลา ก่อนเผยภาพลงในเฟสบุ๊ก ขณะปลาตะพากส้มจำนวนหลายร้อยตัว จับคู่ผสมพันธุ์


11 เม.ย. 2565, 13:56



"ครูหนุ่ม" เฝ้าติดตามเฝ้าดูชีวิตปลา ก่อนเผยภาพลงในเฟสบุ๊ก ขณะปลาตะพากส้มจำนวนหลายร้อยตัว จับคู่ผสมพันธุ์




วันนี้ 11 เม.ย. 2565 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า นายเพื่อชาติ เสตะพันธ์ (ครูชาติ) ครูศูนย์การเรียนชุมชนศรีสุวรรณสะเนพ่อง (วิถีกะเหรี่ยงทุ่งใหญ่นเรศวร) ได้เผยแพร่ภาพพฤติกรรมของปลาตะพากส้มจำนวนหลายร้อยตัว ที่กำลังจับคู่กันขึ้นมาวางไข่ไว้บนเกาะแก่งกลางน้ำของลำห้วยโรคี่ (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตะวันตก) ซึ่งเป็นภาพที่เกิดขึ้นทุกปี เนื่องจากในลำห้วยโรคี่มีปลาตะพากส้มเป็นปลาประจำถิ่นและยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวสภาพป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์ และมีการห้ามจำปลาในช่วงที่มีการวางไข่

ทั้งนี้ปลาตะพาก มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า GOLDEN BELLY BARB ลักษณะของปลาตะพากส้ม มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขาว และอยู่ในสกุลเดียวกัน โดยทั่วไปจะมีลำตัวสีเหลืองทอง บริเวณส่วนหลังจะมีสีเข้มเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ครีบท้องสีส้มหรือสีเหลือง ปลาชนิดนี้เป็นปลาน้ำจีด พบเจอได้ทั่วไปในลุ่มน้ำทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่ จ.แม่ฮ่องสอน-จ.เพชรบุรี ฤดูผสมพันธุ์ จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม โดยปลาตะพากทั้งตัวผู้และตัวเมียจะว่ายขึ้นไปตามเกาะแก่งที่เป็นแห่งหิน ก่อนจะเวียนว่ายเคล้าเคลียรวมกันเป็นฝูงใหญ่นับพันนับหมื่นตัว ในขณะผสมพันธุ์ปลาทุกตัวจะรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนและเบียดเสียดยัดเยียดกันจนตัวที่อยู่ด้านบน ตัวจะลอยอยู่พันน้ำ อาการเช่นนี้ชาวบ้านเรียกว่า "ปลากอง" คือปลามารวมกองกันอยู่ในบริเวณเดียวกันมีกระแสน้ำเชี่ยว

โดยนายเพื่อชาติ เสตะพันธุ์ มีความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นแกนนำกลุ่มเยาวชนในการอนุรักษ์นกเงือกและศึกษาพฤติกรรมของปลาชนิดต่างๆในลำห้วยโรคี โดยทำงานร่วมกับมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์และเยาวชนจากหมู่บ้านต่างๆในตำบลไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

โดยนายเพื่อชาติ เสตะพันธ์ หรือครูชาติ ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า จะนำภาพทั้งหมดที่บันทึกได้ เก็บไว้ให้เด็กนักเรียนได้ดูและศึกษา นอกจากนั้นจะนำไปเผยแพร่ใน face book ของตนเองที่ใช้ชื่อว่า ครูชนบท บนผืนป่าทุ่งใหญ่ เหมือนที่เคยทำมาในทุกๆปี เพื่อเป็นวิทยาทานให้กับผู้ที่สนใจ แก่ผู้ที่สนใจ..ซึ่งปกติในลำห้วยโรคี่ จะสามารถพบเห็นปลาตะพากวางไข่ได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ในวันที่ฟ้าหรัว.แต่ที่ผ่านมาพบไม่มากเท่าปีนี้









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.