ธ.ก.ส.พะเยา เร่งเดินหน้ามาตรการสินเชื่อคู่ขนานพยุงราคาข้าว
24 ต.ค. 2565, 11:11
วันที่ 24 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวONBnewsรายงานว่า ธ.ก.ส.เร่งเดินหน้ามาตรการสินเชื่อคู่ขนานพยุงราคาข้าว และบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนา โดยสนับสนุนให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อทำการซื้อผลผลิต หากผลผลิตมีราคาตกต่ำ ซึ่งในพื้นที่จังหวัดพะเยาได้รับการสนับสนุนงบประมาณสินเชื่อ ดังกล่าวร่วม 1000 ล้านบาท
นายมาโนช บัวองค์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าทำการชี้แจงให้กับสถาบันเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพะเยา เพื่อเป็นการเร่งสนับสนุนสินเชื่อโครงการคู่ขนานพยุงราคาข้าว เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจให้แก่สหกรณ์การเกษตรและ กลุ่มเกษตรกร ในต้นฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว 2565/2566 และเป็นกลไกในการรักษาเสถียรภาพราคา ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเริ่มจ่ายเงินกู้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
นายมาโนช บัวองค์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ปัจจุบันในเรื่องของ สถานการณ์โลกเริ่มคลี่คลายความต้องการของพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าว เป็นที่ต้องการของตลาด แต่เพื่อที่จะให้กลุ่มเกษตรกรสามารถมีช่องทางในการแข่งขันกับผู้ค้าได้ดังนั้นทาง ธ.ก.ส.จึงได้มีนโยบายในการที่จะมีสินเชื่อที่เป็นโครงการคู่ขนานในการพยุงราคาข้าวให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อที่จะพยุงราคาข้าวให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยการรับซื้อจากเกษตรกรเพื่อพยุงราคา สำนักงานธ.ก.ส.จังหวัดพะเยา และสาขาในสังกัดได้เตรียมสนับสนุนสินเชื่อเพื่อขยายธุรกิจและเพิ่มศักยภาพการดำเนินงาน และสินเชื่อธุรกิจชุมชนให้กับสถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการ ในการดำเนินงานรวบรวมรับซื้อผลผลิต ในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำและผ่อนปรน วงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหวัดพะเยาอย่างเป็นธรรมและเข้มแข็ง ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่าย ทุกภาคให้เข้มแข็ง
นายมาโนช บัวองค์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำหรับจังหวัดพะเยามีเกษตรกรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว เป็นจำนวน 6.5 แสนไร่ คาดการณ์ผลผลิตข้าว ประมาณ 3.5 แสนตัน จึงเป็นโอกาสของเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรในการดำเนินธุรกิจ ในต้นฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวและเป็นกลไกในการรักษา เสถียรภาพราคาไม่ให้เกษตรกรถูกกดราคาในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก