เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



สุรินทร์ เปิดงานสืบสานตำนานปราสาทพันปี ใช้นางรำแห่ 500 ชีวิต ชมสีสันแข่งขันตำข้าวโบราณ


18 พ.ย. 2565, 18:40



สุรินทร์ เปิดงานสืบสานตำนานปราสาทพันปี ใช้นางรำแห่ 500 ชีวิต ชมสีสันแข่งขันตำข้าวโบราณ




ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า เปิดงานสืบสานตำนานปราสาทพันปี ยิ่งใหญ่อลังการ ใช้นางรำแห่รำขบวนนับ 500 ชีวิต พร้อมชม สีสันแข่งขันตำข้าวโบราณ นายอำเภอโดดร่วมแจมอย่างสนุกสนาน ในงาน รำบวงสรวง งานสืบสานตำนานปราสาทพันปี

 

เมื่อเวลา10.30น.วันที่18 พ.ย.65 ที่บริเวณถนนเทศบาลตำบลศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ (สี-ขอ-ระ-พูม)จังหวัดสุรินทร์ ได้มีขบวนแห่นางรำจากสถานศึกษา มีพี่น้องประชาชน จำนวน 15 ตำบล 228หมู่บ้าน รวมทั้งนักเรียนนักศึกษา พากันเดินขบวนสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านไทย ทั้งการฟ้อนรำ กาแต่งชุดผ้าไหมพื้นเมืองต่างๆ มาจากบริเวณถนนเทพนิมิตรเขตเทศบาลอำเภอศีขรภูมิ จนมาถึงบริเวณปราสาทระแงง หรือ ปราสาทศีขรภูมิ โดยใช้เวลานานนับชั่วโมงระยะทางประมาณ 3กิโลเมตร

โดยขบวนต่างๆประกอบไปด้วยชุมชนสี่เผ่า เขมร ลาว กูย และจีนซึ่งแต่ละชุมชนเผ่าจะแต่กายออกไปพร้อมสีสันอย่างงดงามอลังการเลยทีเดียว หลังจากนั้นก็มารำที่หน้าองค์ปราสาท โดยมีพิธีบวงสรวงองค์ปราสาทและทำพิธีเซ่นไหว้ขอเจ้าที่เจ้าทางกับองค์ปราสาทเพื่อที่จะจัดงานแสดงแสงสีเสียง ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.65 โดยภายในงานจะมีการจัดกิจกรรมการแสดงของชุมชนต่างๆให้พี่น้องประชาชนอีกทั้งนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาเที่ยวชมงานแสดงช้าง จ.สุรินทร์ ได้แวะมาชมงานสืบสานตำนานปราสาทพันปีของอำเภอศีขรภูมิอีกด้วย ซึ่งงานนี้จัดให้มีการแสดงเป็นเวลา 2วันระหว่างวันที่18-19 พฤศจิกายน2565

 

นายอนุชา วัชรศีขร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลศีขรภูมิ กล่าวว่า งานนี้ถือว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่อลังการเลยทีเดียว โดยเราได้รับความร่วมมือจากหน่ยงานต่างๆเช่นท้องถิ่นอำเภอศีขรภูมิ กำนันผู้ใหญ่บ้านและสถานศึกษาจากสถาบันต่างๆต่างให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดีและงานนี้ถือว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่หาชมได้ยากเลยทีเดียว เพราะ 1 ปี มีครั้งเดียว อยากจะเรียนเชิญนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเที่วมาชมความอลังการของปราสาทศีขรภูมิที่งดงามที่สุดในประเทศไทย

 




ทางด้านนายกิตติ สัตย์ซื่อ นายอำเภอศีขรภูมิ กล่าวว่า ทางอำเภอศีขรภูมิของเราที่จัดงานสืบสานตำนานปราสาทพันปีในครั้งนี้ถือว่าเป็นงานระดับชาติเลยก็ว่าได้ครับ ยิ่งในห้วงการประชุมเอเปค อย่างนี้ อยากให้ผู้นำชาวโลกแต่ละประเทศได้รู้ได้เห็นกับความเป็นอยู่ของประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ นอกจากจะมีงานแสดงของช้างแล้วยังมีปราสาทที่เรียงรายกันอยู่ทั่วจังหวัดสุรินทร์และปราสาทศีขรภูมิแล้ว ถือว่าเป็นปราสาทที่สวยงดงามอร่ามตาเลยทีเดียว

 

นอกจากภายในงานจะจัดให้มีการแสดงแสงสีเสียงในห้วงตอนกลางคืนแล้ว กลางวันทางอำเภอศีขรภูมิ จึงได้จัดกิจกรรมนำชุมชนต่างๆมาร่วมงานสืบสาน โดยการจัดการนำสินค้าโอท็อปนำมาจำหน่ายพร้อมกับจัดการแข่งขันขบวนแห่นางรำ การจัดการแข่งขันลีลาการตำข้าวแบบโบราณ แข่งขันโดยให้แต่ละตำบลนำข้าวหอมมะลิหลังเก็บเกี่ยวใหม่ในช่วงนี้ มาลงตำแข่งขันกัน โดยมีทั้งการตัดสินให้คะแนนแบบ ใครตำได้จำนวนมากในเวลาที่กำหนด คะแนนข้าวสวยไม่มีสิ่งเจือปน คะแนนลีลาการแต่ชุดตำและลีลาท่เต้นที่สะดุดตาและสวยงาม รวมทั้งคะแนนจากการประกวดกองเชียร์รวมด้วย การแข่งขันดังกล่าวนายอำเภอศีขรภูมิถึงกับอดใจไม่ได้ กระโดดมาร่วมเต้นเชียร์พร้อมกัแย่งสากมาตำเองอีกด้วย กิจกรรมทั้งหมดสามารถสร้างสีสัน ให้กับงานในปีนี้ได้เป็นอย่างดี

 



สำหรับ ปราสาทศีขรภูมิ หรือปราสาทระแงง (ชื่อเดิมตั้งตามชื่อตำบล) ตั้งอยู่ที่ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์ เชื่อกันว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นปราสาทหินที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมกันระหว่างขอมแบบบาปวนกับแบบนครวัด สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายตามวัตถุประสงค์ของหารสร้างปราสาทหินในสมัยเดียวกัน ตัวปราสาทหินถูกล้อมด้วยคูน้ำ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงสูงประมาณ 1 เมตร

ปราสาทศีขรภูมิที่ มีปราสาททั้งหมด 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ตรงกลางเป็นปราสาทองค์ประธาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้ยี่สิบ องค์ปรางค์ไม่มีมุข มีประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวคือ ทางด้านทิศตะวันออก บริเวณหน้าบันของปราสาทมีทับหลังสลักเป็นรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรกำลังฟ้อนรำ) บนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัวอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มีรูปพระคเนศ พระพรหม พระวิษณุ และนางปารพตี (นางอุมา) อยู่ด้านล่าง เสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดาลายก้ามปูและรูปทวารบาล (รายละเอียดหน้าบัน ขอบคุณข้อมูลจากททท.) ภายในปราสาทประธานมีพระพุทธรูป และพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่สำหรับปรางค์บริวารที่อยู่โดยทั้งสี่มุมของปราสาทศีขรภูมินั้น บางส่วนชำรุดทรุดโทรมได้รับการบูรณะไปบางส่วน สำหรับปรางค์ปราสาทบริวารที่อยู่ด้านซ้ายมือเมื่อหันหน้าเข้าตัวปราสาทจะพบอักษรจารึกบนกรอบประตู แต่ความงดงามและรายละเอียดที่น่าสนใจทำให้สถานที่ตั้งของปราสาทศีขรภูมิที่ไม่ใหญ่มากนัก แต่ก็สามรถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมได้

นอกจากนั้นที่อำเภอศีขรภูมิจะมีการจัดงานสืบสานตำนานพันปี “ปราสาทศีขรภูมิ” โดย อบต. และเทศบาลร่วมกันจัดขึ้นในช่วงเทศกาลงานแสดงช้างของทุกๆปี

 



คำที่เกี่ยวข้อง : #สุรินทร์  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.