อธิบดีกรมฝนหลวง ลุยฝ่าภัยแล้งช่วยชุมพร
6 มิ.ย. 2566, 16:24
ชุมพร อธิบดีกรมฝนหลวง ลุยฝ่าภัยแล้งช่วยชุมพร วันนี้(6 มิย. 66) เวลา 9.45 น. ณ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุ มพร ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลงพื้นที่ จ. ชุมพร ประชุมสรุปผลการปฏิบัติ การฝนหลวงในภารกิจบรรเทาปัญหาภั ยแล้งในพื้นที่ จ.ชุมพรโดยมี นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผวจ.ชุมพร นายสินชัย พึ่งตำบล ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ นายคงศักดิ์ คงปาน หัวหน้าปภ.จ.ชุมพร นายนพดล มีวิเศษ ผอ.ชลประทานชุมพร นายเจริญโชค พรหมชุติมา นายอําเภอปะทิว และคณะผู้บริ หารกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ าร่วมการประชุม พร้อมได้เปิดเผยว่า ได้รับการประสานงานจากจังหวัดชุ มพร ว่าเกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่ ของจังหวัดชุมพรเข้าขั้นวิกฤต หลังฝนทิ้งช่วงนานกว่า 3 เดือน ทําให้อากาศร้อนจัด น้ําในคลองแห้งขอด ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทําให้พื ชผลทางการเกษตรของประชาชนได้รั บความเสียหาย โดยเฉพาะทุเรียนที่ขาดน้ํามานาน ทยอยยืนต้นตายเป็นจํานวน มาก ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ได้ดําเนินการตั้งหน่วยปฏิบัติ การฝน หลวงจังหวัดชุมพรขึ้น เป็นการเฉพาะกิจเพื่อปฏิบัติ การทําฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ การเกษตรที่ประสบภัยแล้งและเพิ่ มปริมาณน้ําต้นทุนในพื้นที่มาตั้ งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 โดยใช้อากาศยานขนาดกลาง (CASA)จํานวน 2 ลํา เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกว่า 32 นาย ร่วมในการปฏิบัติการฝนหลวง อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาศูนย์ปฏิ บัติการฝนหลวงภาคใต้ ได้มีการจัดตั้งหน่วยฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และหน่วยฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และวางแผนบินทําฝนเทียมเพื่อช่ วยเหลือ พื้นที่ จ.ชุมพร แต่ด้วยข้อจํากัดของระยะทางบิ นถึงพื้นที่เป้าหมายที่ค่อนข้ างไกล ทําให้ต้องจัดตั้งหน่วยฯ จังหวัด ชุมพร ขึ้นเป็นการเฉพาะกิจให้มี ความคล่องตัวในการทํางานมากขึ้น
จากนั้น นายสุพิศ ได้ทําการตรวจเยี่ยมและให้กําลั งใจแก่เจ้าหน้าที่ บริเวณลานจอดเครื่องบิน และ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2566 นี้จังหวัดชุมพรอาจได้รั บผลกระทบจากการเปลี่ ยนแปลงของสภาพภูมิ อากาศและปรากฎการณ์เอลนิโญ่ ยังจะส่งผลให้มีฝนตกในปริมาณที่ น้อย พื้นที่การเกษตรของจังหวัดชุมพร ที่มีถึง 2.56 ล้านไร่ เป็น แหล่งปลูกผลไม้ที่มีชื่อเสี ยงของจังหวัด โดยเฉพาะทุเรียนที่ปีนี้คาดว่ าผลผลิตจะลดลงประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ยังมี สวนมังคุด สวนมะพร้าว ที่ได้รับผลกระทบรวมถึงแหล่งน้ํ าธรรมชาติที่สําคัญ 5 ลุ่มน้ํา ได้แก่ ลุ่มน้ํา คลองท่าตะเภา ลุ่มน้ําคลองชุมพร ลุ่มน้ําคลองสวี – คลองตะโก ลุ่มน้ําคลองหลังสวน ลุ่มน้ําคลองละแม และผู้ขอรับ บริการฝนหลวงที่มากถึง 70 กว่ารายใน จ.ชุมพร ต้องได้รับการช่วยเหลือบรรเทาปั ญหาให้เบาบางลงอย่างเร่งด่วย ดังนั้นจึงขอให้มั่นใจในการทํ างานของเราและกรมฝนหลวงฯ จะอยู่ปฏิบัติงานเคียงข้างชาวชุ มพรจนกว่าจะพ้นวิกฤตภัยแล้ง
ทั้งนี้หน่วยปฏิบัติ การฝนหลวงจังหวัดชุมพร ได้ขึ้นปฏิบัติการบิน รวม 7 วัน จํานวน 15 เที่ยวบิน ชั่วโมงบิน 22 ชั่วโมง สามารถทําให้มีปริ มาณฝนตกสะสมอยู่ ระหว่าง 22 – 45 มิลลิเมตร ในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตามต้องขอรณรงค์ให้พี่ น้องประชาชนช่วยกันบริหารจัดการ แหล่งน้ําของตนเอง ให้มีปริมาณน้ําที่เพียงพอไว้ ใช้ในยามฉุกเฉินด้วย ทั้งนี้ พี่น้องประชาชน พี่น้องเกษตรกร สามารถ ติดตามข้อมูลข่าวสาร แจ้งสถานการณ์ความต้องการน้ํ าเพื่อขอรับบริการฝนหลวงได้เป็ นประจําทุกวันที่ศูนย์ ปฏิบัติการฝนหลวงประจําภูมิภาค อาสาสมัครฝนหลวงในพื้นที่ หน่วยงานอําเภอ-จังหวัด ช่องทางโซเชียลมีเดีย @drraa_pr และหมายเลขโทรศัพท์ 02-1095100 ต่อ 410//ประสิทธิ์ ลีฬหคุณากร/ชุมพร
คำที่เกี่ยวข้อง : #ชุมพร อธิบดีกรมฝนหลวง ลุยฝ่าภัยแล้งช่วยชุมพร