เปิดผลการทดลอง ! "วัคซีนใบยา" ในอาสาสมัคร ระยะที่ 1 พบผลภูมิคุ้มกันค่อนข้างดี คาดเสร็จระยะ 2 สิ้นปี 66
8 มิ.ย. 2566, 14:27
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เภสัชกรหญิงสุธีรา เตชคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้บริหาร บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เผยความคืบหน้าของวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืช ตระกูลยาสูบ สปีชีส์ N. benthamiana ซึ่งใช้ระบบการผลิต โดยการตัดต่อพันธุกรรมของแบคทีเรียที่ก่อโรคในพืชในใบยาสูบแห่งเดียวในทวีปเอเชีย
สำหรับ วัคซีนรุ่นที่ 1 ทดสอบเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว ( 2565 ) ซึ่งทีมวิจัยได้นำเป็นข้อมูลพื้นฐานจากวัคซีนรุ่นที่ 1 มาต่อยอดพัฒนาขนาดที่เหมาะสมในวัคซีนรุ่นที่ 2 รวมถึงสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาต่อยอดในการทำ ยามะเร็งและยาอื่นๆได้
ขณะที่การมุ่งพัฒนาวัคซีนรุ่น 2 ซึ่งยังคงเป็นสายพันธุ์ดั่งเดิม เนื่องจากการทำวัคซีนต้องทำให้เสร็จในระยะที่ 2 ก่อน ถึงจะเปลี่ยนสายพันธุ์ได้ หากเทียบเคียงกับวัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบัน เป็นวัคซีนชนิด MRNA ซึ่งได้ผ่านการทดลองในอาสาสมัคร ระยะที่ 1 แล้ว พบว่า ผลการกระตุ้นภูมิค่อนข้างดี ผลข้างเคียงลดลง ตอนนี้อยู่ระหว่าง การเปิดรับอาสาสมัคร ระยะที่2 ซึ่งจะเป็นในลักษณะเข็มกระตุ้น ในกลุ่มอาสาสมัคร 70-100 คน ช่วงอายุ 18 - 60 ปี
ทั้งนี้ คาดว่าจะเสร็จการทดลองในระยะ 2 ในสิ้นปี 2566 จากนั้นต้องดูในเรื่องงบประมาณที่จะทดลองในอาสาสมัครระยะที่ 3 ต่อว่ามีเพียงพอหรือไม่ หากไม่มีปัญหาคาดว่าจะเสร็จตามกระบวนการ ซึ่งจะเหมือนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่จะช่วยลดการนำเข้าวัคซีนในอนาคต
ผศ.ภญ.สุธีรา ยอมรับว่า การพัฒนาวัคซีนใบยาอาจไม่ทันต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด - 19 แต่การวิจัยพัฒนาจะไม่สูญเปล่า เพราะตลอดกาวิจัยไม่ได้เจาะจงเฉพาะวัคซีนโควิด 19 เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงองค์ความรู้ที่จะได้มีการผลิตวัคซีนยาอื่นๆด้วย ซึ่งในอนาคตหากเกิดระบาดใหญ่ขึ้นอีก จะช่วยในการผลิตวัคซีนให้เพียงพอต่อการใช้ในประเทศแน่นอน
สำหรับโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัดที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และ เป็นโรงงานที่ถูกออกแบบในเชิงอุตสหกรรมสามารถผลิตวัคซีนได้ 1-5 ล้านโดสต่อเดือน หรือ 60 ล้านโดสต่อปี ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อการผลิตวัคซีนสำหรับใช้ในประเทศ