"เกษตรกรตำบลวังศาลา" กราบพระบรมฉายาลักษณ์ร.9 หลัง บ.สยามคราฟท์อุตสาหกรรม มอบเงินช่วยเหลือรายละ 5 พันบาท
21 ก.ค. 2566, 05:52
จากกรณีบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด พร้อมกลุ่มเกษตรกรชาวนาประมาณ 50 ราย ช่วยเหลือเยี่ยวยาที่ข้าวในนาที่ปลูกแห้งตาย อยู่ในพื้นที่ตำบลวังศาลา หมู่ที่ 2,3,6,9 และจากการเจรจาประกอบด้วย อุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี นายอำเภอท่าม่วง และตัวแทนบริษัทบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด ได้มีการเจรจาหารือลงความเห็นร่วมกัน ให้นำประเด็นการเรียกร้องขอค่าช่วยเหลือให้เสนอต่อสำนักงานยุติธรรมจังหวัดกาญจนบุรี เป็นคนกลางเป็นผู้พิจารณาให้ความช่วยเหลือ ตามที่เกษตรกรชาวนาเรียกร้อง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย โดยกลุ่มเกษตรกรชาวนาร้องขอให้ช่วยเร่งพิจารณาดำเนินการให้ทางบริษัทฯ ชำระเงินช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรชาวนาให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน คือภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2566
ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอท่าม่วง ได้มีเกษตรกรชาวนาในตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 27 ราย ที่มีพื้นที่ทำนาอยู่รอบๆ กับทางบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด ได้เดินทางเข้าร่วมประชุมรับฟังการช่วยเหลือเงิน จากกรณีนาปลูกข้าวแล้วข้าวเกิดยืนต้นตายเสียหายไปประมาณ 400 ไร่ ตามที่เกษตรกรชาวนาได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือ และจะครบในวันที่ 21 ก.ค. 2566 ตามที่ร้องขอความช่วยเหลือไปก่อนหน้านี้
โดยการประชุมในครั้งนี้ ได้มีหน่วยงานสำนักงานยุติธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ที่ทางบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด ได้ร้องขอให้เป็นคนกลางในเรื่องการจ่ายเงินช่วยเหลือกับเกษตรกรชาวนาทั้ง 27 ราย ซึ่งมีหน่วยงานประกอบด้วย นายอำเภอท่าม่วง อุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เสียหาย ตัวแทนของบริษัทฯ ได้เข้าร่วมประชุมหารือการจ่ายเงิน โดยเบื้องต้นทางบริษัทฯ จะจ่ายให้ก่อนรายละ 3 พันบาท ในวันที่ 21 ก.ค. 2566 ส่วนอีก 2 พัน บาท จะจ่ายให้ในวันพุธ ที่ 26 ก.ค. 2566 ตามที่เกษตรกรชาวนาเรียกร้องไป
และจากการประชุมหารือกับเกษตรกรชาวนาไปบางส่วนที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมที่ว่าการอำเภอท่าม่วง ด้วย และรอฟังข่าวอยู่บริเวณหน้าทางเข้าบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด ทราบว่าทางบริษัทฯ ยังไม่สามารถจ่ายให้ทีเดียว 5 พัน บาท เกิดการไม่พอใจ โดยมีการนำรถติดเครื่องขยายเสียงออกมาพร้อมถือป้ายให้ทางบริษัทฯ จ่ายให้ครบตามที่ร้องขอความช่วยเหลือไปในครั้งเดียวเลย พร้อมได้ขู่ว่าหากไม่เช่นนั้นจะปิดช่องทางไม่ให้มีการเข้าออกบริษัทฯ
ต่อมา นายวิสุทธิ์ วอนเพียร นายกเทศมนตรีตำบลวังศาลา ทราบข่าวจึงได้เดินทางไปพูดคุยกับทางบริษัทฯ แล้วได้ออกไปพบกับบรรดาเกษตรกรชาวนาที่ได้เรียกร้องขอให้ช่วยเหลือเงินจำนวน 5 พันบาท โดย นายวิสุทธิ์ วอนเพียร นายกเทศมนตรีฯ ได้กล่าวว่าทางบริษัทฯ ได้เบิกจ่ายเงินมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวนารายละ 3 พัน บาท แต่ทางนายวิสุทธิ์ วอนเพียร นายกฯ ได้กล่าวว่าขอให้จ่ายตามที่เกษตรกรชาวนาขอไปจำนวน 5 พัน ดีกว่าเรื่องจะได้จบ ทางบริษัทฯ ยินยอมตามที่นายวิสุทธิ์ จึงได้เอาตำแหน่งการันตี หากทางบริษัทฯ ไม่ช่วยอีก 2 พันบาท ตนเองจะควักเงินตนเองจ่ายให้เกษตรกรชาวนาทั้งหมดประมาณ 8 แสนบาท จากนั้นเกษตรกรชาวนาพอใจปรบมือให้ก่อนแยกย้ายกันกลับบ้านไป
และการรับเงินจำนวน 3 พันบาท ในวันที่ 21 ก.ค. 2566 เวลาประมาณ 14.00 น.ได้นัดจ่ายเงินให้กับเกษตรกรชาวนา ดังนั้นเกษตรกรชาวนาจะต้องเดินทางไปรับเงินยังที่ว่าการอำเภอท่าม่วง โดยทาง ร้อยตรีศุภมงคล บูชาถ่ายเทศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะผู้ดูแลแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ พร้อมด้วยนายฑรัท เหลืองสะอาด นายอำเภอท่าม่วง เจ้าของพื้นที่ และหัวหน้าสำนักงานยุติธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ตัวแทนคนกลางในการดูแลการจ่ายเงินในครั้งนี้ โดยนัดจ่ายเงิน
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นที่ทางบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด ที่ถูกเกษตรกรชาวนาร้องขอให้ช่วยเหลือเงิน กรณีที่ปลูกข้าวแล้วยืนต้นตาย เกิดจากสาเหตุที่ทางบริษัทปล่อยน้ำไม่ได้คุณภาพไปให้กับเกษตรกรชาวนาใช้ จนทำให้ข้าวที่ปลูกยืนต้นตายเสียหายไปประมาณไม่ต่ำกว่า 400 ไร่ ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ให้ทางหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าไปสอบสอบแล้วผลออกมาไม่ใช่เกิดจากน้ำของทางบริษัทฯ แต่อย่างใด ซึ่งพื้นที่ทางบริษัทฯ ได้ปล่อยน้ำไปให้กับเกษตรกรชาวนาปลูกข้าวมีถึงกว่า 4 พันไร่ แต่มีอยู่ประมาณ 400 ไร่ ข้าวเกิดยืนต้นตาย แต่ทางบริษัทฯ ก็ขอเข้าไปเยียวยา ประกอบกับในปีนี้เกิดสภาพอากาศแล้งยาวนาน อาจจะทำให้เกิดผลกระทบจากสายพันธุ์ข้าวที่ปลูกสู้กับสภาพอากาศแล้งจัดไม่ไหว จนทำให้ยืนต้นตายก็เป็นได้ โดยทางบริษัทฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจจะจัดหาสายพันธุ์ข้าวที่สามารถปลูกสู้กับสภาพอากาศได้ แล้วปรับพื้นที่ให้พันธุ์ข้าวดูแลทั้งหมด แต่เกษตรกรชาวนาทั้ง 27 ราย บอกไม่ต้องการให้ช่วยตามที่ทางบริษัทฯ จัดหาให้ แต่ต้องการเงินสดรายละ 5 พันบาทเท่านั้น สรุปทางบริษัทฯ ก็ยินยอมตามข้อเสนอทั้งหมดทำให้เกษตรกรชาวนาทั้ง 27 ราย พอใจกับการร้องขอความช่วยเหลือในครั้งนี้