ชาวบ้านวังโหราด่านช้างผวาควายถูกเสือขย้ำตายในป่าชายเขา
19 พ.ย. 2566, 11:10
ที่จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 18 พ.ย.2566 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่ามีเหตุเสือกัดควายตายที่บ้านวังโหรา หมู่ 3 ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จึงลงพื้นที่ไปตรวจสอบ พบ น.ส.ไพลิน บุญเมฆอายุ 38 ปี ลูกสาวนายนาม อาจคงหาญ อายุ 66 ปีเจ้าของควาย และคนในครอบครัวรวมทั้งชาวบ้านกำลังยืนคุยกันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น น.ส.ไพลิน เล่าเมื่อช่วงเย็นวันที่ฟฤหัสบดีที่ 16 พ.ย. ช่วงเย็น พ่อได้เดินมาบอกว่าน้องยิ่งยง ลูกควายเผือก เพศผู้อายุประมาณ 1 เดือนเศษถูกสัตว์ไม่ทราบชนิดกัดตายที่ชายป่า จึงรีบพากันไปดูพร้อมแจ้งนายอนุสรณ์ เมฆฉาย หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติพุเตย (พต2)พุกระทิง มาตรวจสอบพร้อมนำน้องยิ่งยง มาตรวจพิสูจน์ที่บ้าน ซึ่งอยู่คนละฝั่งลำห้วยห่างกันประมาณ 350 เมตร
หลังจากตรวจสอบบาดแผลแล้วได้จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เดินตรวจสอบแต่ก็ไม่พบสิ่งปกติไม่พบเสือตัวที่ก่อเหตุแต่อย่างใด แต่ก่อนหน้านี้มีชาวบ้านกลับพบรอยเสือซึ่งคาดว่าจะเป็นรอยเสือจริงเนื่องจากมีทางปศุสัตว์เข้ามาตรวจสอบครับว่าจะเป็นรอยเสือเนื่องจากเขี้ยวที่พบเป็นรอยใหญ่และรอยเท้าที่พบก็คาดว่าจะเป็นรอยเสือโคร่งตัวใหญ่ ซึ่งก่อนหน้าก็มีชาวบ้านเคยเห็นเสือตัวใหญ่ยาวประมาณหกศอก ตัวใหญ่ หลังเกิดเหตุก็เลยนำซากควายกลับมาไว้ที่บ้านเกร็งตอนพ่อไปพบก็นึกว่าไม่นึกว่าเสือจะเฝ้าเหยื่อไม่งั้นคนก็อาจจะอันตราย ที่พ่อไปพบเพราะออกไปตามหาเนื่องจาก ขณะไล่ต้อนควายเข้าคอก นับแล้ววัวไหมก็พบจึงเดินออกไปตาม ก็พบนอนอยู่ในพุ่มไม้จึงไปดึงออกมาพบแผลที่คอเลยกลับมาที่บ้านบอกให้ลูกไปช่วยกันนำควายกลับบ้าน ซึ่งก่อนหน้าประมาณเดือนกว่ามีชาวบ้านที่เลี้ยงวัว ก็เห็นเสือแต่เค้าไม่กล้าเล่าให้ใครๆฟังได้แต่เล่าให้กับแฟน แต่ไม่กล้าบอกคนอื่นกลัวคนไม่เชื่อจนมาพ่อที่ไปเลี้ยงควาย
ทางด้านนายชนสิษฏ์ เปี่ยมสมบูรณ์ อายุ 66 ปีชาวบ้านที่เกิดเหตุเล่าว่ามีชาวบ้านเคยเห็นเสือแต่ไม่กล้าไปบอกใครกลัวไม่มีคนเชื่อ เพราะไม่มีหลักฐานไม่มีโทรศัพท์ ถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งตอนนี้ก็ระแวงกันไปหมดแถวบ้านไม่กล้าออกไปหาของป่า แม้แต่เข้าไร่ก็ยังไม่กล้าเพราะกลัวในละแวกนี้ติดกับป่ากลางคืนก็ไม่กล้าเข้าออกระแวงยังไงก็ฝากช่วยดูแลให้เจ้าหน้าที่เคยดูแลผลักดันให้ออกไปอยู่ในป่าลึกอยู่แบบนี้ชาวบ้านอันตรายกลัวและไม่รู้จะป้องกันอย่างไร คาดว่าเสือตัวนี้น่าจะใหญ่เพราะดูจากรอยบาดแผลที่กัดตรงคอใหญ่มากรอยเขี้ยวลงไปลึกลึกและยาวมันยังไงก็ตามต้องเป็นเสืออย่างแน่นอนตอนนี้ไม่มีใครกล้าไปไหนมาไหนคนเดียวไม่มีใครกล้าออกไปเก็บเห็ด ตอนนี้ก็คงต้องหยุดก่อนไม่พาใครเข้ามาท่องเที่ยวเพราะเกรงจะเกิดอันตราย
ทางด้านนายนาม อาจคงหาญ อายุ 66 ปีเจ้าของควาย กล่าวว่าที่บ้านเลี้ยงควายไว้ 11 ตัวแยกเป็นควายโต 9 ตัว ควายเล็ก 2 ตัวตัวที่ถูกเสือกัดชื่อ น้องยิ่งยง อายุ ประมาณ 1 เดือนเศษและอีกตัวชื่อน้องรวงข้าว อายุ ประมาณ 10 กว่าวัน ก่อนเกิดเหตุที่จะพบลูกควายตายต้นก็ออกไปไล่ควายจะกลับเข้าคอกก็ไปเห็นนอนอยู่ในพุ่มไม้แต่พอลาออกมาก็พบว่าเป็นรอยเขี้ยวกัดหรือมั่นใจว่าอาจจะเป็นเสือกัดตายตอนติดตามคนที่บ้านกลับมาช่วยแวะกลับมาบ้านก็ไม่คิดว่าจะเกิดเหตุเสือมากัดควายของตน ซึ่งเป็น 10 ปีก็ไม่พบเจอเสือมาก่อนในพื้นที่ ซึ่งรอยเท้าที่พบขนาดใหญ่กินคาดว่าจะเป็นเสือขนาดใหญ่และเคี้ยวก็ใหญ่เอานิ้วหลวงไปก็ไม่สุดตอนเห็นควายตายก็รู้สึกเศร้าตลอดเพราะเลี้ยงมานานอยู่กันมา 11 ตัว ซึ่งคาดว่าเสือตัวนี้ก็จะยัง Coppola เปลี่ยนอยู่แถวนี้เพราะมันกำลังหิวยังไม่ได้กินอาหารอยากให้เจ้าหน้าที่ทำการล้อมรั้วป้องกันการเข้า มาทำอันตรายเสาบ้านและสัตว์เลี้ยง
นายวิชากร อินทรีลอง อายุ 52 ปี คนเลี้ยงวัวที่เคยพบเสือ กล่าวว่าตอนเจอ ก็นานมาเป็นเดือนแล้ว ก็คิดว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ อยู่กับป่ามันก็ต้องมีอยู่แล้วต่างคนต่างอยู่แต่ตอนนี้เกิดการกัดควายขึ้น ต้องมีปัญหาเกิดขึ้น อยากฝากเตือนประชาชนถ้าเราไม่ขึ้นเขาไม่เข้าป่า ไม่พักกลางเต็นท์นอนก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรแต่ถ้าขึ้นป่าขึ้นเขาเข้าไปก็อาจจะพบได้มันก็ไม่แน่นอน คือตอนนี้ทางอุทยานก็มีการจำกัดเขตห้ามเข้าเพื่อป้องกันอันตราย
ทางด้านนายอนุสรณ์ เมฆฉาย หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติพุเตย (พต2)พุกระทิง 2 ซึ่งอยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุกล่าวว่าหลังเกิดเหตุได้รายงานหัวหน้าอุทยานแห่งชาติพุเตยและและได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ไปตรวจสอบซากควายของชาวบ้านที่ถูกกัด ซึ่งจากการสังเกตบาดแผลรอยเขี้ยวแล้วเบื้องต้นเชื่อว่าสัตว์ที่กัดควายตายนั้นเป็นเสือแน่นอนแต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่าเป็นเสือชนิดไหน ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้นำกล้องถ่ายสัตว์เข้ามาติดตั้งเพื่อบันทึกภาพว่าเสือที่เข้ามาก่อเหตุนั้นอาจจะกลับมาอีก อย่างไรก็ตามตนและเจ้าหน้าที่ของอุทยานได้เข้าพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านทราบแล้วและให้ระมัดระวัง หากพบเจอเสือให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที พร้อมกันนี้ก็ได้นำเชือกมากั้นทางเข้าป่าบริเวณจุดเกิดเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปในพื้นที่ซึ่งอันตราย โดยกำหนดเวลาตั้งแต่ 15.00น. ถึงช่วงเช้า แต่ถ้าหากไม่มีธุระจำเป็นจริงๆก็อย่างเข้าไปบริเวณดังกล่าวจะดีที่สุด