เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กรมปศุสัตว์จัดพิธีเปิด (kick-off) โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย รอบที่ 1


16 ธ.ค. 2566, 05:25



กรมปศุสัตว์จัดพิธีเปิด (kick-off) โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย รอบที่ 1




สระบุรี - กรมปศุสัตว์จัดพิธีเปิด (kick-off) โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีเปิด (kick-off) โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้เกษตรกรเห็นความสำคัญการฉีดวัคซีนและการป้องกันการเกิดโรคในสัตว์ ณ ฟาร์มนายประพิศ หมู่ 6 ตำบลซับสนุ่น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยมี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีฯ โดยได้มอบนโยบายการป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย มอบวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยแก่อาสาปศุสัตว์ และเวชภัณฑ์ยาฆ่าเชื้อโรคให้ปศุสัตว์อำเภอและหัวหน้าด่านกักกันสัตว์ สำหรับใช้ดำเนินกิจกรรมการป้องกันโรคในพื้นที่ต่อไป รวมทั้งมีการปล่อยขบวนรถหน่วยรณรงค์ฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย  โดยมี นายสัตวแพทย์ ประภาส ภิญโญชีพ  รองอธิบดีกรมปศุสัตว์  นายกิตติศักดิ์ ธีระวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี  นายอรรถพล วงษ์ประยูร ส.ส.สระบุรี เขต2     พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พี่น้องเกษตรกร เข้าร่วมงานในครั้งนี้

ในการนี้ นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาปศุสัตว์ของประเทศไทย ให้มีขีดความสามารถในการผลิตและการแข่งขันทางด้านการส่งออก ดังจะเห็นได้จากตัวเลขยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์ปี 2565 มีมูลค่าสูงถึง 2.8 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามโรคระบาดในสัตว์ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของประเทศไทย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย ดังนั้นการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ไม่ให้มีการเกิดโรคภายในประเทศ นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้นานาประเทศยอมรับและเชื่อมั่นในสินค้าปศุสัตว์ของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 
นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดให้มีโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมียในครั้งนี้ นับเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการป้องกันการเกิดโรคระบาดในพื้นที่ กอปรกับการประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้รับทราบ      สร้างความรู้ความเข้าใจและให้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคระบาด และช่วยลด        ความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นแก่เกษตรกรได้ ซึ่งการดำเนินการรณรงค์ฉีดวัคซีนฯดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้ให้   ทุกจังหวัดดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ และในช่วงการรณรงค์ฉีดวัคซีนฯ กรมปศุสัตว์จะเน้นการดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในโคนม โคเนื้อ กระบือ แพะและแกะ การจัดทำประวัติการฉีดวัคซีน พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้บริการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง เช่น ตลาดนัดค้าสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ คอกกักสัตว์ รถบรรทุกสัตว์ เป็นต้น อีกทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคระบาด      ที่ถูกต้อง โดยเกษตรกรสามารถขอรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอใกล้บ้าน
การรณรงค์ในการฉีดวัคซีนโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในสัตว์ ทั้งโคเนื้อและโคนม  ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่เราจะต้องควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยเป็นอุปสรรคอย่างมากของการเลี้ยงโคนม ในอำเภอมวกเหล็กมีเกษตรกร และมีปริมาณโคนมมากที่สุดในประเทศ ถ้าเกิดว่าวัวนมติดโรคนี้แล้ว มันก็จะทำให้ปริมาณน้ำนมมีประสิทธิภาพต่ำ สัตว์ก็จะป่วย สำหรับโคเนื้อเองก็เป็นปัญหาเหมือนกัน เพราะขณะนี้เรามีการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศที่มีกำลังซื้ออย่างมาก และปัญหาที่เราถูกกีดกันทางด้านสินค้า คือเราเป็นประเทศที่มีโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในสัตว์ ทำให้โคเนื้อที่มีชีวิตตกต่ำลดราคา เพราะฉะนั้นการรณรงค์ในการฉีดวัคซีนโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยจึงมีความจำเป็น และวันนี้เป็นการ(kick-off) ทั่วประเทศ กรมปศุสัตว์เองมีนโยบายที่จะกำจัดปัญหานี้ เพื่อที่จะให้สินค้าทางด้านปศุสัตว์ในประเทศเราเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดโรคปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นโคนมและโคเนื้อ เพราะฉะนั้นการรณรงค์ครั้งนี้ก็จะเป็นการรณรงค์ทั่วประเทศ  ซึ่งวันนี้เป็นวันแรกที่เราประกาศว่า จากนี้ไปประเทศเราจะพยายามทำให้เป็นประเทศที่มีการปลอดโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในสัตว์ให้ได้  เพื่อประโยชน์ของพี่น้องเกษตรกรโดยตรง
โรคนี้มันเกิดขึ้นทุกปี ซึ่งการเลี้ยงสัตว์ที่มีปริมาณแออัดในคอก มันก็จะติดโรคกันง่าย ส่วนเรื่องการป้องกันและการฉีดวัคซีนนั้น ซึ่งมีความจำเป็น ไม่ฉะเพาะโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย มันยังมีโรคที่เกี่ยวข้องกับวัว ไม่ว่าจะเป็น แลมบิสกิน เราก็จะรณรงค์ในการป้องกัน ให้ครอบคุมทุกโรค ที่เกิดขึ้น กับการเลี้ยงในครั้งนี้ โดยทางปศุสัตว์เองก็พยายามจะผลิตวัคซีนให้เพียงพอ และเราจะมีการขยายการผลิตเพื่อที่จะให้ครอบคลุม ซึ่งวัคซีนของกรมปศุสัตว์เป็นวัคซีนที่มีคุณภาพ เป็นมาตรฐานสากล นี่คือเป้าที่เราจะส่งผลให้เกษตรนั้นมีเครื่องมือในการป้องกันโรคในการประกอบอาชีพ 
ตนเองคิดว่าขณะนี้ตัวเลขที่ตนได้รับ ปริมาณการผลิตที่ขีดความสามารถของโซนผลิตวัคซีนของปศุสัตว์  ความต้องการของพี่น้องเกษตรกรในแต่ละปีนั้นกับผลผลิตที่ได้ยังไม่บาลานซ์กันเท่าไหร่ แต่เราก็พยายามปรับปรุงในส่วนที่โรงงานผลิตวัคซีน สามารถผลิตให้มีความเพียงพอ และให้ทันต่อการเกิดโรคให้ได้  โดยฉะเพาะอย่างยิ่งเราระวังมากที่สุดคือโรค อุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นกับสัตว์ เพราะมันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะมีโรงงานวัคซีนที่สามารถสกัดโรคที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วนได้ โดยไม่ต้องส่งเชื้อไปเพาะหรือไปทำวัคซีน มันก็จะเกิดการแก้ไขปัญหาทันท่วงที อันนี้ก็มอบนโยบายให้กับกรมปศุสัตว์ไปดำเนินการหาวิธีป้องกัน ซึ่งนั่นคือปัญหาที่ตนคิดว่า เราจะทำอย่างไร ถึงจะลดความพึ่งพาให้ได้   ในประเทศไทยเรามีโรงงานผลิตวัคซีนคน  เพราะฉะนั้นสัตว์มันพูดไม่ได้ นายสัตว์แพทย์เองและงานวิจัยของกรมปศุสัตว์เอง ก็มีนักวิเคราะห์นักวิจัย ซึ่งตนคิดว่ามีประสิทธิภาพ  ตอนนั้นเราได้ให้การบ้านไปว่า  ลองไปหาวิธีการ ในการคิดค้น ในการที่จะยืนบนขาของตัวเองได้ ลดภาระการนำเข้าจากต่างประเทศ ตนคิดว่าศักยภาพของปศุสัตว์สามารถที่จะรองรับได้  เราต้องทำให้ได้ เพราะถ้ามันมีการระบาดเข้ามาอีกครั้ง เป้าหมายของการส่งออกเราจะเป็นปัญหาอุปสรรคอย่างมาก  เพราะในขณะนี้เราก็สามารถที่จะควบคุมได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าถามว่าจะปลอดภัยทั้งหมด100%หรือไม่ อันนี้ต้องมีความพยายาม เรามีการฝึกและสร้างอาสาสมัครปศุสัตว์ ว่าขณะนี้ อาสาสมัครฯเป็นตัวแทนภาคประชาชน ในการทำงานแบบเสียสละในการที่จะไปดูแลทางด้านสุขภาพสัตว์ในพี่น้องประชาชนทั่วไป และต่อไปเรายังผลิตสัตว์แพทย์ให้ครบ ซึ่งตนคิดว่าวันนี้เทคโนโลยีต่างๆ จะเข้ามามีส่วนเสริม ในเรื่องของการรักษาที่เรียกว่า โรมมิ่งซีน ซึ่งอาสาสมัครปศุสัตว์อาจจะมีการวิเคราะห์โรคเบื้องต้น  และคนที่จะสั่งการในการที่จะรักษาโรค ที่จะต้องใช้สัตว์แพทย์ ต้องใช้ระบบรักษาแบบทางไกลก็ได้ 

 

 









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.