ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว แนะรัฐวอนแก้ปัญหา FTA ทำราคาในประเทศตกต่ำ
15 ก.พ. 2567, 13:58
เมื่อวันที่ 14 ก.พ.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริษัท ดีแอนด์แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด ตำบลสลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปโคฮาลาลใหญ่ที่สุดในชุมพร นายวัฒนปกรณ์ ทัตตปุราณชน อยู่บ้านเลขที่ 205 หมู่ 5 ตำบลทรัพย์อนันต์ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลทรัพย์อนันต์ อำเภอท่าแซะ กล่าวและสะท้อนถึงปัญหาอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นการขายออก การเลี้ยงและราคาวัตถุดิบ
ตามที่นโยบายของนายกรัฐมนตรีที่เคยพูดไว้ว่าโรงงานที่ชุมพรสามารถแปรรูปได้ 200 ตัวต่อวัน ขณะนี้ทั้งจังหวัดชุมพรมีโคขุนประมาณ 4,460 ตัว ที่ยังค้างท่ออยู่ซึ่งยังไม่รวมทั้งประเทศนับกว่า 1 ล้านตัว จุดแข็งคือมีจำนวนวัวเยอะตรงสเปคและไม่ตรงสเปค สิ่งที่สำคัญคือจำนวนวัวที่ค้างท่อเป็นหลักล้านตัวจะทำอย่างไร
แต่สำหรับในพื้นที่จังหวัดชุมพรชัดเจนในส่วนของอาหารของวัวเยอะมากและต้นทุนต่ำ สำคัญสุดเกษตรกรเลี้ยงโคขุนหรือวัวยืนโรงมีองค์ความรู้ค่อนข้างเยอะ การทำงานปรับปรุงสายพันธุ์ชัดเจน
สำหรับจุดอ่อนที่สำคัญสุดทำอย่างไรให้โคเนื้อถูกลง คือผลกระทบจากFTA ของออสเตเรีย ซึ่งประเทศไทยนำเข้าค่อนข้างเยอะ ในปี 2566 นำเข้าถึงกว่า 44 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าเกือบ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมประเทศอื่นๆเช่น อาเจนติน่า หรือนิวซีแลนด์
ส่วนที่ 2 การนำวัว FTA เข้ามาไม่มีภาษีซึ่งกันและกันหรือเขตการค้าเสรี ทำให้ราคาวัวเกษตรกรตกต่ำ โรงเชือกในประเทศไทยมีนับ 10 โรง ไม่มีซื้อวัวเข้าแต่มีเนื้อออกสะท้อนปัญหาของ FTA จุดแรกที่ต้องแก้ไขการเก็บค่าธรรมเนียมควรอยู่ที่ 50 บาท ซึ่งราคาวัว FTA เข้ามาอยู่ที่ 220 บาท รวมค่าธรรมเนียมแล้วอยู่ที่ 270 บาท โดยต้นทุนในประเทศคือ 250 บาท ทำให้เนื้อวัวของเกษตรกรในประเทศสู้ได้
ถามว่าสู้ได้อย่างไร วัวออสเตเรียเลี้ยงแบบไล่ทุ่งหรือกินหญ้าในทุ่งแต่วัวในประเทศไทยเลี้ยงแบบยืนโรงหาอาหารให้โดยเฉพาะในจังหวัดชุมพร มีกากปาล์ม หญ้าหมักมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้อยากจะเสนอแนะคือการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ กล่าวถึงรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ต้องลงมาดูรณรงค์กินเนื้อ
นายวัฒนปกรณ์ กล่าวอีกว่า ถึงรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ทัณฑสถานทุกที่ควรซื้อเนื้อเข้าไปบริโภค ส่วนต่อไปคือหน่วยงานกระทรวงกลาโหมซึ่งมีแทบทุกจังหวัด พร้อมทั้งมองภาพการส่งออกประเทศไทยติดFMD โรคปากและเท้าเปื่อยมานาน ฉะนั้นเจ้าภาพที่จะแก้ไขให้ไปได้คือกรมปศุสัตว์ นายกรัฐมนตรีต้องสั่งการลงมาโดยเพาะชุมพรมีโรงงานแปรรูปซึ่งเป็นตัวชี้วัดในเขต 8 และ 9 จังหวัดชุมพรเป็นรั้วระหว่างชายแดนตรงนี้เป็นดัชนีชี้ได้ต่อตรวจเช็คทุกครั้งเพราะโรงงานไม่ซื้อวัวที่เป็นโรค
ปัญหาต่อไปคืออุปสรรคของการลงทุนของเกษตรกรในการต่อยอด หรือออกคอกต่อไปในการผลิตลูกวัวที่เห็นชัดกระทรวงการคลังโดย ธกส.ที่กำลังจะมีโครงการวัวแสนล้าน เชื่อหรือไม่ว่าตั๋วรูปพรรณโค หรือใบส.พ.7 คือบัตรประจำตัววัว ซึ่งคนเลี้ยงวัวจะมีใบส.พ.7 ทั้งหมด สามารถจดนิติกรรม จำนองได้ นายกรัฐมนตรีควรกำกับดูแล ธกส.ให้เปลี่ยนแปลงหรือเงื่อนไข ในเมื่อธกส.เองทำบริษัทประกันวัว ช้าง ม้า แต่ทำไมไม่จดจำนอง นายกฯต้องดิ้นทำ นี่คือสิ่งที่เกษตรกรต้องการ ยกตัวอย่างมีวัว 100 ตัวก็มีใบ ส.พ.7 100 ใบ สามารถใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้ พร้อมทั้งประกันชีวิตวัวได้ด้วย
โรงงานฮาลาลชุมพร รับซื้อหน้าโรงงานกิโลฯละ 100 บาท ถ้าโรงงานอื่นทำได้วัวที่อยู่ในท่อทั้งหมดนับล้านตัวพร้อมที่จะผลักดัน แต่ในเบื้องต้นกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม และกระทรวงยุติธรรมอยากจะให้กระทำตามที่แนะนำเริ่มจากบริโภคภายในก่อน ขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์ต้องแก้ไข FMD โรคปากและเท้าเปื่อย ภายใน 3 ปี หลังจากนั้นถึงจะลืมตาอ้าปากได้ โครงการของรัฐเชื่อว่าสุดท้ายจบที่โรงเชือดโรงแปรรูป
อีกทั้งปัญหาวัวเถื่อนชุมพรติดชายแดนเมียนมาร์ วัวเถื่อนเข้ามาเชื่อว่าไม่มีการตรวจโรค หน่วยงานรัฐปศุสัตว์ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเด็ดขาด เจ้ากระทรวงต้องสั่งการจังหวัดจัดงบประมาณศึกษาและป้องกันอย่างแท้จริง” ประธานกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงโคเนื้อตำบลทรัพย์อนันต์ กล่าว