"ดอยสุเทพ" วิกฤต! ฝุ่นพิษปกคลุมหนากว่า 2 สัปดาห์
19 มี.ค. 2567, 13:39
วันที่ 19 มี.ค 67 นายสุกฤษฎิ์ เกิดแสง ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้ออกประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ฉบับที่ 3 (16/2567) เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 19-20 มีนาคม 2567
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจาก ประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และในช่วงวันที่ 21-22 มีนาคม 2567 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วยจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้วันที่ 19 มีนาคม 2567 จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
วันที่ 20 มีนาคม 2567 จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตรพิษณุโลก และตาก
วันที่ 21 มีนาคม 2567 จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
วันที่ 22 มีนาคม 2567 จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน
และสำหรับเช้าวันนี้ ท้องฟ้าเหนือเมืองเชียงใหม่ ยังคงปกคลุมไปด้วยกลุ่มควันไฟป่า ฝุ่นพิษ PM 2.5 ส่งผลให้ดอยสุเทพ หายไปต่อเนื่องนานติดต่อกัน 5 วัน ประชาชนเริ่มจะขอคืนดอยสุเทพกลับมา เพราะตัวชี้วัดคุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ย้ำแย่ที่สุด เพราะพระอาทิตย์ยังเห็นบางไม่เห้นบาง เพราะถูกควันพิษบดบัง ไม่สามารถส่องแสงทะลุออกมาได้ ประชาชนคาดหวังพายุฤดูร้อนขอให้เกิดขึ้โดยเร็ว เพื่อมาสลายหมอกควันพิษ PM2.5 ที่ปกคลุมหนาแน่นมานานเข้าสัปดาห์ที่ 2 ยังคงติดอันดับโลก เมืองที่มีคุณภาพอากาสแย่ที่สุดในโลก
จากการรายงาน เว็บ รายงานคุณภาพอากาศของเมืองที่มีคุณภาพแย่ที่สุดในโลก US AQI จังหวัดเชียงใหม่อยู่อันดับ 5 ของโลก ล่าสุดตั้งแต่เวลา0 07.56 น. แบบเรียลไทม์ มีค่า 182 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นสีแดง มีมีผลกระทบต่อทุกคน
จังหวัดเชียงใหม่ จากศูนย์อำนวยป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ได้รายงานจุดความร้อน (Hotspot) ประจำวันที่ 19 มีนาคม 2567 รอบเช้าจังหวัดเชียงใหม่พบจุดความร้อน จำนวน 89 จุดพบในพื้นที่อำเภอเชียงดาว 32 จุด ,พร้าว 15 จุด ,สะเมิง 11 จุด ,แม่อาย 7 จุด , ฮอด 4 จุด , จอมทอง 4 จุด , ไชยปราการ 3 จุด , แม่แจ่ม 3 จุด , หางดง 2 จุด , สันทราย 1 จุด , แม่ริม 1 จุด , แม่แตง 1 จุด , แม่วาง 1 จุด , เวียงแหง 1 จุด , แม่ออน 1 จุด , อมก๋อย 1 จุด และดอยสะเก็ด 1 จุด