"ม่าขี้เบ้า" ของป่าหายาก มีปีละครั้ง คนขายของป่าวอนลด-หยุดเผาป่า หลังเริ่มหายากขึ้น
19 มี.ค. 2567, 16:43
ที่กาดศรีคำ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน เป็นตลาดขายของช่วงเย็น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผักผลไม้ และอาหารปรุงสก นำมาขายในช่วงเย็น โดยตลาดจะเปิดขายเวลา 13.00 น. ถึง 20.00น. ทุกวัน
นายมณเทียร เหมืองหลิ่ง พ่อค้าบักขี้เบ้า บอกว่า ซื้อต่อมาจากชาวบ้านแล้วนำมาขายในราคาลูกละ 15 บาท ซึ่งช่วงนี้บักขี้เบ้าจะมีค่อนข้างมาก วันหนึ่งจะขายได้ 100-200 ลูก สร้างรายได้ถึงวันละ 2,000-3,000 บาท นายมณเทียร เหมืองหลิ่ง กล่าวเสริมอีกว่า อยากให้ช่วยรณรงค์ลดการเผาป่าเนื่องจากม่าขี้เบ้า ที่ตนเองนำมาขายนั้น ส่วนใหญ่แล้ว ได้มาจากในป่า ที่ชาวย้านนำวัวไปเลี้ยงในป่าที่ อ.นาหมื่น จ.น่าน ซึ่งหากมีการเผาป่ามากๆ ม่าขี้เบ้าที่ได้นั้นจะลดน้อยลง เพราะ อุณหภูมิความร้อนจากการเผาป่าทำให้ตัวด้วงที่อยู่ข้างในนั้นตายลง ทำให้หายากขึ้นทุกวัน จึงอยากให้หยุดเผาหรือลดการเผาป่า เพื่อฟื้นฟูป่าให้อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากม่าขี้เบ้า จะมากหรือน้อน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของระบบนิเวศแวดล้อม ที่นำวัวไปเลี้ยงในป่าและขี้ลงพื้น จนกลายมาเป็นม่าขี้เบ้า
สำหรับขี้เบ้าเป็นคำพื้นบ้านของเกษตรกรภาคเหนือ ที่ใช้เรียกรังของตัวอ่อนแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนกลมขนาดประมาณลูกเทนนิส ส่วนตัวเต็มวัยหรือแมลงพ่อแม่เรียกว่า แมงซู่ซ่า หากจับจะส่งเสียงร้องดังซู่ซ่าๆ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อ แมงซู่ซ่า เป็นแมลงปีกแข็งที่มีขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายแมงกุดจี่ของทางภาคอีสาน แต่ตัวโตกว่ามาก ขนาดความยาวตั้งแต่ปากจนถึงก้นประมาณ 4.5 เซนติเมตร ความกว้างลำตัวประมาณ 3.5 เซนติเมตร หรือบางแห่งเรียกว่าแมงจู้จี้ แมงซู่ซ่ามีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับขี้ควายตั้งแต่เกิดจนตาย
จากการสอบถามเกษตรกรยังไม่เคยมีใครพบเห็นแมงซู่ซ่าอาศัยอยู่กับขี้วัวเลย ขี้วัวโดยทั่วไปจะเห็นเฉพาะแมงซีหรือทางอีสานเรียกแมงกุดจี่เท่านั้น และประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมตัวเต็มวัยเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะบินไปหากองขี้ควายที่ใหม่ๆ สดๆ เพื่อเป็นแหล่งอาหารและวางไข่ โดยแม่พันธุ์จะใช้ปากที่แข็งแรงขุดรูใต้กองขี้ควายขนาดความลึกประมาณ 1 ศอก หรือบางหลุมอาจจะลึกกว่านี้ โดยก้นหลุมจะทำเป็นโพรงขนาดใหญ่ ซึ่งในแต่ละหลุมนั้นมีจำนวน-ขนาดก้อนบ่าขี้เบ้าไม่เท่ากัน บางหลุมมีถึง 15 ก้อน
นอกจากนนี้ นายชัยนรงค์ วงค์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้ออกคำสั่ง ห้ามเผาโดยเด็ดขาด ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบโดยทั่วกัน
มอบหมายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)ในแต่ละพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง พร้อมขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน งดการเผาโดยเด็ดขาดทุกพื้นที่ ทุกกรณีตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. 2567 ถึงวันที่ 30 เม.ย. 2567 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดน่าน
หากพี่น้องประชาชนพบเห็นสามารถแจ้งเหตุได้ที่ สายด่วน 1784
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารภัยจังหวัดน่าน โทร. 054-716174
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน โทร. 054-716456 ต่อ 15
ขณะที่ชาวบ้านที่มาซื้อต่างบอกว่าบักขี้เบ้าเป็นอาหารชั้นเลิศ มีโปรตีนสูง ที่สำคัญหายากมาก ปีหนึ่งจะได้ลิ้มรสสักครั้ง ซึ่งสามารถนำไปแกงกับผักหวาน ผักชะอม หรือผักพื้นเมืองที่ขึ้นตามป่า สำหรับกรรมวิธีในการนำไปประกอบอาหาร ก็จะนำตัวอ่อนในลูกกลมๆ ไปชำแหละเอาขี้ หรือไส้ออก ก่อนตัวอ่อนที่เป็นหนอนมาทำความสะอาด แล้วนำไปทำอาหาร นอกจากนั้นยังนำไปต้มกินกับน้ำพริกพื้นบ้านได้ด้วย
สำหรับขี้เบ้าเป็นคำพื้นบ้านของเกษตรกรภาคเหนือ ที่ใช้เรียกรังของตัวอ่อนแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนกลมขนาดประมาณลูกเทนนิส ส่วนตัวเต็มวัยหรือแมลงพ่อแม่เรียกว่า แมงซู่ซ่า หากจับจะส่งเสียงร้องดังซู่ซ่าๆ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อ แมงซู่ซ่า เป็นแมลงปีกแข็งที่มีขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายแมงกุดจี่ของทางภาคอีสาน แต่ตัวโตกว่ามาก ขนาดความยาวตั้งแต่ปากจนถึงก้นประมาณ 4.5 เซนติเมตร ความกว้างลำตัวประมาณ 3.5 เซนติเมตร หรือบางแห่งเรียกว่าแมงจู้จี้ แมงซู่ซ่ามีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับขี้ควายตั้งแต่เกิดจนตาย
จากการสอบถามเกษตรกรยังไม่เคยมีใครพบเห็นแมงซู่ซ่าอาศัยอยู่กับขี้วัวเลย ขี้วัวโดยทั่วไปจะเห็นเฉพาะแมงซีหรือทางอีสานเรียกแมงกุดจี่เท่านั้น และประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมตัวเต็มวัยเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะบินไปหากองขี้ควายที่ใหม่ๆ สดๆ เพื่อเป็นแหล่งอาหารและวางไข่ โดยแม่พันธุ์จะใช้ปากที่แข็งแรงขุดรูใต้กองขี้ควายขนาดความลึกประมาณ 1 ศอก หรือบางหลุมอาจจะลึกกว่านี้ โดยก้นหลุมจะทำเป็นโพรงขนาดใหญ่ ซึ่งในแต่ละหลุมนั้นมีจำนวน-ขนาดก้อนบ่าขี้เบ้าไม่เท่ากัน บางหลุมมีถึง 15 ก้อน