"พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดนเวอร์" เตรียมจัดส่งโบราณวัตถุคืนไทย 3 รายการ
21 มี.ค. 2567, 09:11
ลอรี อิลิฟฟ์ นักวิจัยอาวุโสของ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดนเวอร์ (DAM) ได้ออกแถลงการณ์ ว่าทาง DAM ยังคงให้ความร่วมมือทางการสหรัฐฯและต่างประเทศ โดยปีที่ผ่านมา ทาง DAM ได้ถอดโบราณวัตถุ จำนวน 11 จากภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ออกจากคอลเลคชั่นในพิพิธภัณฑ์แล้วและรอการส่งคืนไปยังประเทศเวียดนาม ไทยและกัมพูชา
โดยยืนยันการเตรียมการส่งคืนวัตถุ 1 ชิ้นคือกริชสำริดโบราณ ซึ่งมีการยืนยันตรงกันว่ามาจากประเทศเวียดนาม โดยทางการเวียดนามร้องขอการส่งคืนจำนวน 4 ชิ้น แต่ทาง DAM ระบุว่าที่เหลือ 3 ชิ้นไม่ได้อยู่ในคอลเลคชั่นของ DAM และดูเหมือนจะไม่เคยอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ด้วย
ทั้งนี้ โบราณวัตถุ 11 ชิ้น 5 ชิ้นถูกเชื่อมโยงกับ ดักลาส เอเจ แลธ์ชฟอร์ด ชาวอังกฤษ นักสะสมศิลปะและโบราณวัตถุ และ เอ็มมา ซี. บังเกอร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินและหุ้นส่วน DAM มายาวนาน
ปัจจุบันทั้งสองรายได้เสียชีวิตไปแล้วโดยบังเกอร์ซึ่งเสียชีวิตในปี 2564 และแลทช์ฟอร์ดซึ่งเสียชีวิตในปี 2563
ทั้งนี้บังเกอร์ได้แนะนำ แลทช์ฟอร์ดรู้จัก DAM และแนะนำให้เจาทำการขายและบริจาคโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเขมร บังเกอร์ไม่เคยถูกตั้งข้อหาก่ออาชญากรรมอย่างเป็นทางการ แต่ชื่อของเธอปรากฏในคดีแพ่งและอาญา 5 คดีที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อของแลทช์ฟอร์ด
ตามบันทึกของพิพิธภัณฑ์ แลทช์ฟอร์ดเก็บโบราณวัตถุไว้ 5 ชิ้นในกรุงเทพฯ ก่อนที่จะตกไปอยู่ในความครอบครองของบังเกอร์ เธอให้ยืมหรือบริจาคให้กับเขื่อนระหว่างปี 2547 ถึง 2559 สิ่งประดิษฐ์ห้าชิ้นยังปรากฏในหนังสือ Adoration and Glory ของ Bunker และ Latchford ในปี 2547:
เอ็มมา ซี. บังเกอร์ ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ผู้ตีพิมพ์งานศึกษาพระสำริดกรุประโคนชัย ระบุว่า ประติมากรรมสำริดกรุนี้ มาจากปราสาทเขาปลายบัด 2
เธอได้ออกหนังสือเกี่ยวกับประติมากรรมศิลปะเขมรร่วมกับดักลาส เอเจ แลธ์ชฟอร์ด ชาวอังกฤษ นักสะสมศิลปะและโบราณวัตถุในกรุงเทพและลอนดอน ถึง 3 เล่ม
แลธ์ชฟอร์ด มีชื่อไทยว่า นายภัคพงษ์ เกรียงศักดิ์ อดีตนายกสมาคมกีฬาเพาะกายแห่งประเทศไทย เขายังเคยเป็นเจ้าของประติมากรรมสำริดกรุประโคนชัย ขนาด 22.5 เซนติเมตร ซึ่งอยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรในปัจจุบัน
พ.ศ. 2562 แลธ์ชฟอร์ด ถูกอัยการเขตนิวยอร์กใต้ตั้งข้อหาค้าโบราณวัตถุผิดกฎหมาย หลังจากพบว่า เขาเป็นผู้ขายประติมากรรมศิลปะเขมรที่ถูกขโมยมาให้กับลูกค้าในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ แนนซี่ วีนเนอร์ นักธุรกิจค้าศิลปะและวัตถุโบราณระดับโลกที่นิวยอร์ก
แลธ์ชฟอร์ด ถูกอัยการเขตนิวยอร์กใต้ตั้งข้อหาว่าปลอมแปลงและบิดเบือนที่มาของศิลปะและโบราณวัตถุ ทั้งนี้ ในสำนวนการสอบสวนยังระบุว่า เอ็มม่ามีส่วนสนับสนุนฟอกวัตถุโบราณให้กับนดักลาสหลายครั้งเช่นกัน ทว่าปัจจุบัน นายดักลาสวัย 88 ปีเสียชีวิตที่กรุงเทพมหานครเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา
ที่ผ่านมา ประเทศไทยถูกกล่าวหาจากหลายประเทศ หลายสถาบัน ว่าเป็นทางผ่านของศิลปะและโบราณวัตถุจากประเทศใกล้เคียงเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะช่วงสงครามในอดีต เช่น สมัยเขมรแดง สมัยสงครามเวียดนาม ฯลฯ ของต่างๆ ถูกส่งมาจากจากลาว กัมพูชา เข้ามายังประเทศไทย เพื่อส่งออกไปต่างประเทศอย่างผิดกฎหมาย