รมว.เกษตรฯ ส่งรองอธิบดีกรมประมง พร้อมคณะลงร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เร่งแก้ไขช่วยเหลือเยียวยาแก่กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลาในกระชัง
31 ก.ค. 2567, 00:54
วันนี้ 30 ก.ค. 2567 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ได้เดินทางไปยังเขื่อนทดน้ำแม่กลอง ตั้งอยู่ตำบลม่วงชุม อำเภอม่วง จังหวัดกาญจนบุรี พบเห็นประชาชน นักท่องเที่ยวเดินทางไปชมกระแสน้ำบริเวณหลังประตูระบายน้ำเขื่อนแม่กลอง เป็นจำนวนมาก และยังพบว่าเจ้าหน้าที่เขื่อนแม่กลอง กำลังตรวจสอบรวมถึงปิดลดประตูการระบายน้ำลง เหลือ จำนวน 4 บาน จากก่อนหน้านี้ได้ยกประตูขึ้นทั้ง 8 บาน จากน้ำที่ระบายออกไป 1,166 ลบ.ม./วินาที ลดเหลือ 735 ลบ.ม./วินาที และมีการแจ้งเตือน ประชาชนใน 3 จังหวัด ที่พักอาศัยอยู่ริมแม่น้ำและพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้ขนย้ายสิ่งของทรัพย์สินขึ้นที่สูง เพื่อลดความเสียหาย รวมถึงป้องกันไม่ให้น้ำที่ระบายลงท้ายเขื่อน รวมถึงน้ำที่อยู่เหนือประตูระบายน้ำ ไปกระทบกับประชาชน นอกจากนี้ทางเจ้าหน้าที่เขื่อนแม่กลอง ยังนำรถแบ็กโฮ รวมถึงรถบรรทุกมาทำการเก็บเศษสวะ ที่มาติดบริเวณหน้าประตูของเขื่อนออก เพื่อให้น้ำได้ไหลสะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงป้องกันความเสียหายของบานประตูเขื่อนฯ และตามกระชังปลาทางเจ้าของกระชังได้ร้องให้นักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน กว่า 20 คน เข้าไปช่วยเร่งตักปลาที่ตายออกจากกระชังขึ้นมาจากน้ำเป็นการเร่งด่วน
ส่วนที่สำนักงานประมงจังหวัดกาญจนบุรี ร้อยเอก ธรรมมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ นาย มานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง พร้อมคณะได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ไปร่วมประชุม กับทางเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ โดยมี นาย นพดล จันทรมณี หัวหน้าสำนักงานประมงจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ จากนั้นคณะได้เข้าประชุมโดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ในการรับทราบถึงปัญหาจากน้ำป่า จนส่งผลกระทบกับกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง ซึ่งกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลาในกระชัง ที่ได้ลงทะเบียนไว้กับทางกรมประมง เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
ต่อจากนั้น นายมานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง ได้ลงเรือล่องไปในลำน้ำแควน้อยตรวจสอบกระชังปลาที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้.......ก่อนขึ้นจากเรือแล้วมาให้สัมภาษณ์ว่า ด้วยความเป็นห่วงของท่านรัฐมนตรี ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รวมถึงท่านอธิบดีกรมประมง ได้เป็นห่วงเป็นใยกลุ่มเกษตรกรที่ได้ประกอบอาชีพในการเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งทางกรมประมงมีการอนุญาติเลี้ยงได้ในจังหวัดกาญจนบุรีรวมถึงมีการลงทะเบียนกับกรมประมงไว้ ซึ่งในช่วง 2 – 3 วัน ที่ผ่านมาได้ประสบภัยธรรมชาติจากน้ำป่าไหลหลาก ทำให้ปลาในกระชังที่ทางกรมประมงอนุญาติให้เลี้ยงเกิดความเสียหายเป็น ทำให้เขาสูญเสียโอกาสสร้างรายได้จากปลาที่ครบกำหนดจับได้ จริงๆ แล้วได้ประกาศเตือนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาได้ทราบก่อนแล้ว แต่ด้วยความไวของน้ำป่า ซึ่งพื้นที่เลี้ยงปลาเป็นพื้นที่ไหลของน้ำ ไหลลงมารวมบริเวณจุดนี้ ทำให้การเตรียมการขนย้ายไม่ทัน จึงทำให้เกิดผลกระทบเสียหายกันเป็นจำนวมาก
จากการสำรวจในเบื้องต้นมีจำนวน 2 อำเภอ เกษตรกรมีเบื้องต้นจำนวน 105 ราย พื้นที่เสียหายเกือบ 2 แสน ตารางเมตร คิดมูลค่าเสียหายเบื้องต้นกว่า 230 กว่าล้านบาท คำนวณจากที่เกษตรกรที่เลี้ยงมาและสูญเสียโอกาสในช่วงนี้ ในส่วนการช่วยเหลือเราจะเร่งสำรวจเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย พร้อมให้การเยียวยาตามหลักเกณฑ์ของกรมประมง และจำทำช่วยเหลือแก่กลุ่มเกษตรกรให้เร็วที่สุด
และการแก้ไขเบื้องต้นได้รับการช่วยเหลือจากทางจังหวัดโดย ร้อยโททศพล ไชยโกมินทร์ ผวจ. กาญจนบุรี ที่ได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีทรัพยากรที่จะช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำให้บรรเทาความเดือดร้อนได้ในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว ได้มีผู้ประกอบการต่างๆ เข้าไปซื้อสัตว์น้ำที่เสียชีวิตไปบริโภคได้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรเลี้ยงสัตว์น้ำในครั้งนี้ ในส่วนที่ใช้ไม่ได้ก็ได้ช่วยกำจัดไม่ได้ปลาที่ตายนำไปทำปุ๋ย หรือทำการฝังกลบ เป็นการลดปัญหาการแพร่เชื้อโรค รวมถึงการส่งกลิ่นไปกระทบต่อประชาชน รวมถึงการท่องเที่ยว ต้องยอมรับว่ามีบางส่วนที่ยังลอยอยู่เหนือน้ำ ซึ่งได้หลุดออกจากกระชังกว่า 100 กว่ากระชัง ซึ่งได้ไปขวางเส้นทางน้ำ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ช่วยนำออกไปเพื่อไม่ให้มีการกรีดขวางลำน้ำแล้ว
สำหรับในส่วนเรื่องของการช่วยเหลือเยียวยา เราก็จะได้เร่งสำรวจความเสียหาย แล้วก็จะประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ แล้วก็จะให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ของกรมประมงต่อไป........นายมานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง กล่าวทิ้งท้าย.............