แถลงจัดแข่งเรือยาวไทย-ลาวครั้งที่ 24 ชิงถ้วยพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ
8 ก.ย. 2567, 12:09
ที่ถนนข้าวเม่าริมโขง หน้าเทศบาลเมืองบึงกาฬ อ.เมืองการ จ.บึงกาฬ นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นางแว่นฟ้า ทองศรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ นายราชันย์ วะนาพรม นายกเทศบาลเมืองบึงกาฬ นายเชษฐา โคตรวันดี ผู้แทนพัฒนาการจังหวัด นายอิทธิรัฐ สินารักษ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบึงกาฬ พ.ต.อ.ประพันธ์ หล้าวงศ์ ผกก.(สอบสวน) ภูธรจังหวัดบึงกาฬ นายประกันชัย ไกรรัตน์ ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ นายธนาพงษ์ แสนสุภา รองนายกเทศบาลเมืองจังหวัดบึงกาฬบึงกาฬ นางสาวเครือแก้ว ธนาไสย์ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์จังหวัดบึงกาฬ ร่วมกันแถลงข่าวความพร้อมจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณี ไทย-ลาว ครั้งที่ 24 ระหว่าง 13-15 กันยายน 67 ณ สนามแข่งเรือที่มีระยะทางยาวที่สุดในประเทศไทย คือ 1,200 เมตร ยิ่งใหญ่กว่าทุกปี พร้อมชิงถ้วยพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ เพื่อชิงความเร็วแห่งสายน้ำโขง ของเรือขนาด 50-55 ฝีพายทั้งประเภทท้องถิ่นและประเภททั่วไป พร้อมเงินรางวัลกว่า 500,000 บาท ซึ่งในงานยังมีการจำหน่ายสินค้าราคาถูก ของกินของใช้ ของเล่นสำหรับเด็ก และละเล่นสนุกสนานจำนวนมากภายในงานอีกด้วย
นายจุมพฏ วรรรณฉัตรศิริ ผวจ.กล่าวว่า จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ติดสายน้ำโขง วันนี้เราแถลงข่าวอยู่บนสันเขื่อนป้องกันตลิ่งริมโขงพังและป้องกันการเสียดินแดนที่บริเวณเทศบาลเมืองบึงกาฬ ทางด้านซ้ายมือคือแลนด์มาร์คที่เราจะทำเป็นสถานที่สวนสาธารณะพักผ่อน ด้านหน้าเป็นแม่น้ำโขง คนบึงกาฬใช้ชีวิตแบบปกติกับแม่น้ำโขงมาตลอดการใช้เรือก็เป็นปกติ ทุกๆปีเมื่อมีการใช้เรือก็จะมีการพูดคุยว่าจะมีการแข่งเรือกันไหมทั้งสองฝั่งโขงไทยและสปป.ลาว คือประเพณีแข่งเรือยาว เป็นการทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ส่งเสริมความสามัคคีของคนในพื้นที่ เป็นการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวและประเพณีดั้งเดิมในจังหวัดบึงกาฬ ปีนี้ได้รับพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และยินดีต้อนรับและเชิญชวนทุกท่านมาดูประเพณีแข่งเรือยาวที่นี่บึงกาฬ
นางแว่นฟ้า ทองศรี นายก อบจ.บึงกาฬ กล่าวว่า ก็ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมงานกับเทศบาลและอบจ.มีอำนาจหน้าที่บทบาทไม่ต่างกันกัน แต่ขนาดของพื้นที่และงบประมาณต่างกัน เทศบาลจัดงานจึงร่วมมือกัน การท่องเที่ยวบึงกาฬต่อไปในอนาคตจะต้องเป็นรายได้หลักที่นำเข้าสู่จังหวัดบึงกาฬ และประเพณีแข่งเรือยาว เทศบาลเมืองบึงกาฬจัดแข่งขันทุกปี ปีนี้เป็นปีพิเศษมีทีมจากประเทศเพื่อนบ้านเข้าร่วมด้วย และจะร่วมมือจัดงานดีขึ้นเรื่อยๆโดยมีรถสุขาเคลื่อนที่บริการตลอดงานจำนวน 2 คัน วิถีชีวิตของคนบึงกาฬที่อยู่กับลุ่มน้ำโขงดิฉันเห็นประเพณีนี้ตั้งแต่เด็กๆเลย ทางอบจ.บึงกาฬ ก็พร้อมสนับสนุนงานเต็มที่ตามความร้องขอของเทศบาลเมืองบึงกาฬ
นายราชัยน์ วะนาพรม นายกเทศมนตรีเมืองบึงกาฬ กล่าวว่า ความวิเศษการจัดงานครั้งนี้ ก็จะยิ่งใหญ่กว่าเดิมเอา 4 ภาคมารวมกัน จัดเป็นการแข่งขันเรือยาว เป็นการร่วมแรงร่วมใจกับอบจ.บึงกาฬ ในการจัดงานต่างๆเพื่อเป็นการอนุรักษ์และการส่งเสริมท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ และให้จังหวัดอื่นๆได้รู้จักมากยิ่งขึ้น อยากเชิญชวนพี่น้องบึงกาฬและนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันให้สนุกมีความปลอดภัยทางบกและทางน้ำและให้ความสะดวกแก่พี่น้องประชาชน
นายธนาพงษ์ แสนสุภา รองนายกเทศมนตรีเมืองบึงกาฬ กล่าวว่า การจัดแข่งขันเรือยาวประเพณีไทยลาวเวียดนาม จังหวัดบึงกาฬ การจัดงานครั้งนี้เป็นปีที่ 24 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเทศบาลเมืองบึงกาฬ มีความตระหนักดีถึงการจัดงานครั้งนี้นะครับ ไม่ถือว่าเป็นงานของ เทศบาลนะครับถือเป็นงานของจังหวัดบึงกาฬ เป็นของทุกภาคส่วนภาคีเครือข่ายเป็นพี่น้องประชาชนท่าน กำหนดจัดงานขึ้นวันที่ 13-15 กันยายน 2567 ปีนี้ปีนี้ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ ประทานถ้วยรางวัลจำนวน 2 ถ้วย คือประเภท 55 ฝีพาย และประเภทโอเพ่น 30 ฝีพาย
นางสาวเครือแก้ว ธนาไสย์ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์จังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่าประเพณีแข่งเรือยาวของเราเป็นประเพณีที่ทุกคนทั้งประเทศอยากรู้จักอยากมาเที่ยว เราก็มีช่องทางสื่อสารมากมายทั้งเพจ facebookสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบึงกาฬที่มีผู้ติดตามทั้งฝั่ง สปป.ลาว.ทั้งกรุงเทพฯและอุดรธานี ก็เป็นอันดับต้นๆที่ติดตามเพจ facebook ของเรา และก็มี PR.ซึ่งเป็นช่องทางผ่าน tiktok ถ้าติ๊กต๊อกของเราขึ้นฟีดก็จะเห็นกันทัังประเทศ แล้วส่วนสำคัญก็คือ สวท.บึงกาฬเพจ facebook สวท.และที่ขาดไม่ได้ก็คือพี่ๆสื่อมวลชนที่พร้อมที่กระจายข่าวงานแข่งเรือของเราในครั้งนี้ด้วย.