เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ชาวบ้าน 4 อำเภอ ร่วมทั้งเครือข่าย ผลักดันช้างป่ากัดกินพืชเกษตร


2 ต.ค. 2567, 07:34



ชาวบ้าน 4 อำเภอ ร่วมทั้งเครือข่าย ผลักดันช้างป่ากัดกินพืชเกษตร




 

ชาวบ้านและพระสงฆ์ร่วมกันเข้าไขปัญหา ช้างป่าบุกกินพืชผลทางการเกษตร ร่วมตั้งเครื่องข่ายใน 4 อำเภอ ได้แก่ โชคชัย ครบุรี เสิงสาง และวังน้ำเขียว เพื่อร่วมกันก่อสร้าง ห้างกลางป่าพร้อมกระท่อมแนวป้องกันช้างป่า 50 จุด ตลอดแนวรอยต่อป่าทับลานกับชาวบ้าน เพื่อให้ช้างป่าคนอาศัยร่วมกันได้และป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์ ให้กับชาวบ้านอีกด้วย

  นางออระยา  เหลืองกระโทก ประธานเครือข่ายป้องกันช้างป่า อนุรักษ์ออกนอกพื้นที่เผยกับผู้สื่อข่าวว่า ปัญหาช้างป่าบุกทำลายพืชสวนของชาวบ้านเป็นปัญหามากว่า 7 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลจระเข้หินใน 5 หมู่บ้านของอำเภอครบุรีความเสียหายเกิดขึ้นทุก ๆ ปี เวลาช้างบุกมาในคืนหนึ่งสร้างความเสียหายให้กับพี่น้องเกษตรกรและชาวบ้านกว่า 8 ไร่ ภายในคืนเดียวเพราะช้างโคลงนี้เป็นโคลงเล็กมีอยู่ประมาณ 70 กว่าตัว แต่ถ้าเป็นโคลงใหญ่ประมาณ 110-120 ตัว มูลค่าความเสียหายใน 8 ไร่กว่า 1 แสนบาท เพราะอ้อยมีราคาต้นละ 12,000 บาทต่อตัน 10 ต้น ก็แสนกว่าบาท

  นางออระยา เผยต่อไปอีกว่าในระยะ 3-4 เดือนที่ผ่านมาของปี 2567 ทางตนได้จัดตั้งเครือข่ายป้องกันและเฝ้าระวังผลักดันช้างป่าให้ออกนอกพื้นที่โดยมีอุทยานแห่งชาติทับลานเป็นผู้สนับสนุนพร้อมร่วมประชุม ร่วมจัดสร้างแนวป้องกันช้างโดยมีพระสงฆ์เป็นแกนนำของเครือข่ายในครั้งนี้ด้วย ตนในฐานะประธานเครือข่ายก็ได้ดึงองค์กรระหว่างประเทศ NWA เข้ามาให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการป้องกันช้างป่าเข้ามากิน มาทำลายพืชไร่ไม่ว่าจะเป็นอ้อยหรือมันสำปะหลังหรือกล้วย เราตั้งเครือข่ายชาวบ้านในเขตตำบลจระเข้หินได้มากกว่า 200 คน เพื่อช่วยกันดูแลและเฝ้าระวังไม่ให้ช้างป่าเขามาในพื้นที่เกษตรของชาวบ้าน

  พระประจวบ ยติกโร (หัวหน้าสำนักสงฆ์ ป่าเขาน้อยประธานเครือข่ายพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (ครบุรี) และประธาน อส.อส.พิทักษ์อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพย์พยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าตนได้ปรึกษาทั้งอุทยานทับลาน อำเภอ แกนนำชาวบ้านว่าตนมีแนวคิดที่จะทำแนวกันชนป้องกันช้างป่าเข้ามาบุกรุกในพื้นที่ดีมั้ย ทุกคนก้อเห็นดีด้วยจึงได้จัดตั้งเครือข่ายป้องกันและอนุรักษ์ช้างป่าทับลานขึ้นมาในเขตอำเภอโชคชัย ครบุรี เสิงสาง และวังน้ำเขียว ซึ่งมีแนวร่วมในหลายอำเภอที่เกิดปัญหาช้างป่าบุกรวมกว่า 500 คน ในส่วนของตำบลจระเข้หินนั้น ปัจจุบันสามารถจัดตั้งเครือข่ายใน 5 หมู่บ้านของตำบลจระเข้หินอำเภอครบุรีกว่า 230 คน และได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จัดทำห้างในป่าและเพิงสังกะสีจากโรงน้ำตาลครบุรี

  พระประจวบเผยต่อไปอีกว่าเราตั้งใจที่จะดำเนินการก่อสร้างแนวกันชนช้างป่าจำนวน 50 จุด ในเขตรอยต่อ 5 หมู่บ้าน ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จไปแล้วกว่า 50% โดยให้ชาวบ้านช่วยกันเข้าเวรยามในช่วงเวลากลางคืนที่ช้างออกมาหากินก็ให้ชาวบ้านช่วยกันผลักดัน โดยการใช้เสียงเคาะกระป๋องหรือลูกบอลประทัด เพื่อให้ผลักดันช้างเข้าไปในป่าคืนป้องกันไม่ให้มากินพืชสวนของชาวบ้านแต่ละจุด จะใช้วิทยุสื่อสารระหว่างห้างในป่าหรือกระท่อมแนวป้องกันช้างป่าวิธีนี้ช้างเมื่อเจอผู้คนบ่อย ๆ เขาจะไม่เข้ามาใกล้และย้ายหนี้ออกนอกพื้นที่ ในการจัดตั้งเครือข่ายนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการดึงชาวบ้านเขามามีส่วนร่วมเพื่อลดปัญหาการบุกรุกป่าของชาวบ้าน ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับช้างป่า และลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและล่าสัตว์ลงไปและเมื่อชาวบ้านเข้ามาเป็นเครือข่ายเราจะบอกชาวบ้านเสมอว่าจะไปทำผิดกฎหมายทั้งตัดไม้และล่าสัตว์ไม่ได้อีกแล้ว เพื่อให้ชาวบ้านดูแลป่าไม้ ดูแลช้างและดูแลสัตว์ป่าไปด้วย จึงเกิดเครือข่ายนี้ขึ้นมา ก่อนหน้านั้นชาวบ้านจะดูแลตัวเองดูแลไร่ของใครของมัน นั่งห้างบนต้นไม้เพื่อเฝ้าระวังช้างป่ามาทำลายพืชที่ปลูกเอาไว้ ซึ่งการทำห้างและเพิงต้องขออนุญาติกรมอุทยานทับลาน เพื่อสร้างห้างหลบภัยด้านบน ห้างจะมีความสูง 4-5 เมตร ส่วนกระท่อมนั้นอยู่ด้านล่างเพื่อจุดก่อไฟให้ช้างได้รู้ว่ามีคนอยู่ตรงนี้ ช้างจะได้หนีไปทางอื่นหรือเข้าป่า ส่วนเครือข่ายจะมีการฝึกอบรมการผลักดันช้างป่าอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ชาวบ้านรู้วิธีการผลักดันเพื่อให้ช้างกับคนหรือชาวบ้านอยู่ร่วมกันได้

  ทางด้านนายสุริยงค์ ภาชี กำนันตำบลจรเขหิน กล่าวว่า ปัญหาช้างป่าบุกรุกพื้นที่ของชาวบ้านและทำลายกัดกินพืชสวนชาวบ้านเป็นปัญหามานานกว่า 8-9 ปีที่ผ่านมา ทำให้ราษฎรได้รับผลกระทบในเขตตำบลจรเข้หินกว่า 500 ครัวเรือน 5 หมู่บ้านด้วยกัน โดยช้างโคลงใหญ่ลงมากินพืชไร่ของชาวบ้านมีประมาณ 100 กว่าตัวเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงนี้ช้างจะเคลื่อนย้ายมาในช่วงเดือนตุลาคมนี้ และมาทุกปี เพื่อมาบุกรุกที่สวนชาวบ้านช้างป่าจะบุกมาตั้งแต่เดือน กรกฎาคม-กุมภาพันธ์ จะลงมามีชุดละ 30-40 ต่อโคลง ไปจนถึง 100 กว่าตัวต่อโคลงสร้างความเสียหายให้พืชเกษตรหลายพันตันที่ผ่านมาทางชาวบ้านร่วมกับทางอำเภอและอุทยานร่วมกันผลักดันช้างมีทั้งได้ผลและไม่ได้ผล แต่ตอนนี้ได้พระอาจารย์ประจวบมาเป็นประธานเครือข่ายพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเข้ามารวมชาวบ้านสร้างเครือข่ายขึ้นมา และพึ่งเริ่มได้ 3-4 เดือน การผลักดันช้างได้ผลเป็นที่น่าพอใจช้าง เมื่อเจอผลักดันก็กลับเข้าป่าไม่มากินพืชผลของเกษตร กำนันสุริยงค์ กล่าว
 









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.