"วัดบุญเกิด" จัดประเพณีสืบสาน ตานก๋วยสลาก สืบสานประเพณีตานสลากภัตรยิ่งใหญ่
8 ต.ค. 2567, 20:31
วันที่ 8 ตุลาคม 2567 ผู้สื่อข่าว ONBnewsรายงานว่า วัดบุญเกิด อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา จัดประเพณีสืบสาน ตานก๋วยสลาก หรือสลากภัตร เพื่อสืบทอดประเพณีที่งดงามของชาวล้านนา ที่ในช่วงนี้มักจะมีการจัดขึ้นทุกวัดก่อนออกพรรษา โดยชาวบ้านเชื่อว่าจะเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับและเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ในรอบปีของชาวเหนือ
วันที่ 8 ตุลาคม 2567 การแสดงศิลปวัฒนธรรมแบบล้านนา การรำการฟ้อน ตลอดจนถึงเครื่องครัวตานเป็นจำนวนมาก ทั้งก๋วยสลาก ที่ถูกประดับตกแต่งด้วยข้าวของเครื่องใช้ ตลอดจนยอดเงิน จำนวนมาก ถูกนำมาเพื่อเป็นการถวายให้กับพระภิกษุ และทางวัด ในงานสืบสาน ตานก๋วยสลาก หรือสลากภัตร ประเพณีตานก๋วยสลากหรือสลากภัตร ที่ชาวบ้านต่างนำเครื่องไทยทาน บรรจุข้าวของเครื่องใช้ ผลไม้ อาหารคาวหวาน ยอดเงิน ถูกนำมาไว้ภายในบริเวณวัดบุญเกิด อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ในงานบุญสลากภัตร หรือชาวล้านนาเรียก ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ทางชาวล้านนามักจะจัดขึ้นเป็นประเพณีสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ในช่วงก่อนวันออกพรรษา โดยชาวบ้านในแต่ละคณะศรัทธาของแต่ละวัดจะเข้าร่วมงานกันอย่างคึกคัก ซึ่งถือเป็นงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ประจำปีของชาวเหนือ
โดยชาวบ้านจะร่วมกันแต่งดาครัวตาน เพื่อนำมาร่วมงานสลากภัตร ซึ่งจะเป็นการทำบุญที่ไม่เฉพาะเจาะจงจะทำบุญกับพระสงฆ์องค์ไหน รูปได โดยการทำบุญสลากภัตร ชาวบ้านจะนำเครื่องครัวตาน ของตนเองที่ได้เตรียมไว้ นำมาไว้ที่วัด จากนั้นจะมีการเขียนสลากของตนเอง และมอบให้กับทางคณะกรรมการวัดเพื่อเป็นการกวนสลาก หรือคนให้คละเคล้ากัน จากนั้น หลังจากที่พระสงฆ์ได้ทำพิธีเจริญพุทธมนต์ ให้ศีลให้พรเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะนำสลากดังกล่าวมอบถวายกับพระสงฆ์สามเณรที่มาร่วมงาน ตามสัดส่วนคละเคล้ากันไป และพระสงฆ์จะนำสลากดังกล่าวไปแลกกกับเครื่องครัวตานหรือสลากภัตรที่ได้รับ โดยในปีนี้ทางวัดบุญเกิด ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ มีชาวบ้านจำนวนมากเข้าร่วมงาน
สำหรับการทำบุญสลากภัตร หรือที่ทางเหนือเรียกตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่มีระบุไว้ในพระไตรปิฎก โดยเล่าว่ามีเด็กเลี้ยงวัว เดินทางไปเลี้ยงวัวกันหลายคน จากนั้นได้พบกับพระภิกษุที่เดินธุดงค์อยู่ในป่า จึงอยากจะทำบุญ แต่ทุกคนก็อยากทำบุญกับพระที่มีพรรษาที่มากๆ จนไม่สามารถตกลงกันได้จึงใช้วิธีเขียนชื่อตนเองและจับสลากว่าตนเองจะได้ทำบุญกับพระสงฆ์องค์ใด จนเป็นที่มาของสลากภัตร ซึ่งถือว่าประเพณีดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีงาม นอกจากจะเป็นการสงเคราะห์พระสงฆ์สามเณรแล้ว ในการที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเล่าเรียนศึกษาและพัฒนาพุทธศาสนา ยังทำให้ชาวบ้านได้เกิดความสมัครสมานสามัคคีกันได้มีกิจกรรมทำบุญร่วมกัน ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะเป็นการที่เน้นความสนุกสนานร่าเริงเป็นส่วนใหญ่แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาตามยุคตามสมัย และควรที่จะอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามไว้ ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือสลากภัตร จึงนับว่าเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่และสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่ทุกวัดจะได้จัดขึ้นเป็นประจำปี ซึ่งมีประชาชน พุทธศาสนิกชนจำนวนมากร่วมงานกันอย่างคับคั่ง