เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ศปช. เผย! สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำลันตลิ่ง 19 - 23 ต.ค. นี้


18 ต.ค. 2567, 13:39



ศปช. เผย! สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำลันตลิ่ง 19 - 23 ต.ค. นี้




วันนี้ (18 ตุลาคม 2567) เวลา 11.00 น. นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้า เปิดเผยว่า สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำลันตลิ่งในช่วงวันที่ 19 - 23 ต.ค. 67 มีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้

1.พื้นที่เสียงน้ำท่วมขัง ในเขตชุมชนมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร

2.พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดังนี้ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง ภูเกิด สุราษฎร์ธานี สตูล นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

3.เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำณากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  สุราษฎร์ธานี ภูเกิด และกระบี่

4.เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของคลองบางสะพาน คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองระอวด คลองลำคลองท่าแนะ แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส



นายจิรายุกล่าวเพิ่มเติมว่าคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.)ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์และประเมินสภาพอากาศ สถานการณ์ฝน สถานการณ์น้ำ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาช่วยสนับสนุนข้อมูลการบริหารจัดการน้ำทรัพยากรน้ำให้กับ กนช. และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) พร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามหลักวิชาการที่เหมาะสมต่อ กนช. อีกด้วย โดยเฉพาะสถานการณ์น้ำพื้นที่ภาคใต้ระยะต่อจากนี้ โดยคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ ได้ดำเนินการดังนี้

1) จัดตั้งศูนย์ส่วนหน้า (ชั่วคราว) เพื่อบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ จ.ยะลา ในวันที่ 22 ต.ค. 2567 เพื่อดำเนินงานเชิงรุกแก้ไขสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ และให้คณะกรรมการลุ่มน้ำของลุ่มน้ำต่าง ๆ ในภาคใต้เป็นหน่วยงานย่อยประสานงานกับศูนย์ส่วนหน้า เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์ส่วนหน้าจะมีการคาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงสูงทั้งอุทกภัยและดินโคลนถล่ม เพื่อเตรียมความพร้อมจัดตั้งศูนย์พักพิงสำหรับรองรับประชาชนหากต้องอพยพ 

2) จัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา โดยมีรองเลขาธิการ สทนช. ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน ดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงต้นเดือน พ.ย. นี้ ทั้งนี้ ในระยะยาวจะมีการทบทวนเพื่อถอดบทเรียนนำไปใช้ปรับปรุงการดำเนินงานในฤดูฝนหน้าต่อไป

3) การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของพื้นที่ภาคใต้อย่างเขื่อนบางลาง คาดว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้ามากในช่วงนี้ ให้การไฟฟ้าฝ้ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พิจารณาพร่องน้ำออกจากเขื่อน โดยทยอยเพิ่มอัตราการระบายน้ำจาก 12 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เป็น 14 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ต่อวัน และ 16 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ตามลำดับ และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัยพื้นที่ท้ายน้ำ
 


4) การเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังต่าง ๆ รวมทั้งแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาช่วงปลายฤดูฝนนี้นั้น ยังคงต้องเฝ้าระวังฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก สำหรับการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนเจ้าพระยาปัจจุบันได้ลดการระบายน้ำไปทางฝั่งตะวันตก เพื่อช่วยลดปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีน เนื่องจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูง และมีการรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนให้อยู่ในระดับ 16 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อช่วยลดการระบายท้ายเขื่อน ทั้งนี้ ปัจจุบันเขื่อนเจ้าพระยามีอัตราการระบายราว 1,400 ลบ.ม. ต่อวินาที และจะปรับลดลงตามลำดับ คาดว่าปลายเดือนนี้จะสามารถลดการระบายลงให้อยู่ในอัตรา 700 ลบ.ม. ต่อวินาที ซึ่งเป็นอัตราที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่

5) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) พิจารณาใช้เทคโนโลยีดาวเทียม ทำการประเมินความตื้นเขินของลำน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อชี้เป้าดำเนินการขุดลอก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

6) กรมทรัพยากรธรณี ใช้เทคโนโลยีหรือแนวทางในการดำเนินการชั่วคราวอย่างเร่งด่วน เพื่อแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มในบริเวณที่ยังไม่มีสถานีวัดน้ำฝนให้ทันฤดูฝนปีถัดไป เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

นายจิรายุฯ กล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ จังหวัดเชียงราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมหารือการดำเนินการสิทธิการเดินเรือ การใช้น้ำ และการอนุรักษ์ ในแม่น้ำสาย - แม่น้ำรวก พร้อมการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งปลูกสร้างที่ลุกล้ำลำน้ำสาย ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะทำงานที่จะเข้ามาสำรวจพื้นที่ พร้อมสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบ เพื่อพิจารณาสร้างพนังกั้นน้ำ ตั้งแต่บริเวณสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ถึงถ้ำผาจม (ประมาณ 5 กิโลเมตร) และในช่วงเดือนธันวาคมจะมีการหารือร่วมกับคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมา เกี่ยวกับเขตแดนคงที่ช่วงแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก (ฝ่ายไทย) เพื่อหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ อ.แม่สาย พร้อมการวางแผนระยะยาวในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เช่น การขุดลอกแม่น้ำสาย การแก้ไขปัญหาสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำแม่น้ำสายทั้งสองฝั่ง รวมถึงการออกแบบแนวเขื่อนป้องกันตลิ่ง เป็นต้น






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.