นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพังงา เตือนประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก
14 มิ.ย. 2562, 11:26
ผู้สื่อข่าว onb news รายงานว่า นายนเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพังงา กล่าวว่า สำหรับโรคไข้เลือดออกที่มียุงเป็นพาหะนำโรค โดยในช่วงที่ ปีที่ผ่านมาจังหวัดพังงาถือว่ามีผู้ป่วยอันดับต้นๆของประเทศ และ ตอนนี้ถือว่าเป็นอันดับสองของเขต แม้ว่าจำนวนภาพรวมจะลดลง เมื่อเทียบกับปีที่แล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ก็ยังคงน่าเป็นห่วง ซึ่งในสิ่งที่สำคัญที่ประชาชนและทุกภาคส่วน ที่ร่วมช่วยกันได้ ในการ ช่วยกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงตามบ้านเรือนสำนักงาน โดยในพื้นที่ภาคใต้มีฝนตกชุก ที่เป็นแหล่งสำคัญในการเพาะพันธ์ยุง ซึ่งในเมื่อมีการเพาะเชื้อก็จะทำให้ยุงลายมีการแพร่เชื้อ และขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดี ไม่ไปอยู่ในแหล่ง ที่มียุงลายอยู่มาก และควรนอนกางมุ้ง พร้อมทั้งหายาป้องกันยุง และควรดูแลและคนป่วยที่มีไข้สูงไม่มีน้ำมูกและป่วยเป็นเวลาหลายวัน อันนี้ต้องสงสัยไว้ก่อน อาจจะเป็นไข้เลือดออกได้ ซึ่งต้องรีบนำมาให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยว่ามีเชื้อไข้เลือดออกหรือไม่ในการดูแลรักษา
โดยจังหวัดพังงาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 พฤษภาคม 2562 มีรายงานผู้ป่วย ไข้เลือดออก จำนวน 134 ราย คิดเป็น อัตราป่วย 49.96 ต่อแสนประชากร เพศชาย 55 ราย เพศหญิง 60 ราย พื้นที่ที่พบจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ อำเภอตะกั่วทุ่ง รองลงมา คือ อำเภอเมือง และอำเภอตะกั่วป่า ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 15-24 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี และ กลุ่มอายุ 5-9 ปี ตามลำดับ จำแนกผู้ป่วยตามพื้นที่ได้ดังนี้ อ.ตะกั่วทุ่ง จำนวน 33 ราย อ.เมือง จำนวน 32 ราย อ.จำนวน 28 ราย อ.ท้ายเหมือง จำนวน 13 ราย อ.ทับปุด จำนวน 11 ราย อ.คุระบุรี จำนวน 10 ราย อ.กะปง จำนวน 4 ราย และอ.เกาะยาว จำนวน 3 ราย และทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ได้เร่งให้สถานบริการสาธารณสุขร่วมกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น อสม. และประชาชนเจ้าของบ้านเรือน เร่งดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยมาตรการ 3 เก็บ เพื่อป้องกัน 3 โรค พร้อมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์และประเมินความเสี่ยงระดับพื้นที่ โดยใช้กระบวนการของ IVM เน้นควบคุมไม่ให้โรคแพร่ระบาดเพิ่มในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยใช้ มาตรการ 3-3-1 คือหลังโรงพยาบาลพบผู้ป่วย ให้รายงานโรคให้หน่วยควบคุมโรคของพื้นที่ภายใน 3 ชั่วโมง และลงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้าน ชุมชนผู้ป่วยภายใน 3 ชั่วโมง ให้ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่ควบคุมโรคภายใน 1 วัน จัดทีมแพทย์ที่ปรึกษา แนวทางการรักษาโรคไข้เลือดออก และแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย ให้กับ รพ.ชุมชนทุกแห่ง ขอความร่วมมือร้านขายยา คลินิก ในการระมัดระวังการจ่ายยา NSIDs ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการไข้ จัดเตรียมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์และบุคลากรในการควบคุมป้องกันโรคต่อไป