"วิศวะหนุ่มวัย 25" ทิ้งห้องแอร์ มาจับจอบ-เสียม ปลูกผักอินทรีย์ 100% สานฝันตนเอง
5 พ.ย. 2562, 09:26
ผู้สื่อข่าว onb news รายงานว่า นายศุภวิชญ์ สง่าวงษ์ อายุ 25 ปี อาศัยอยู่ หมู่ที่ 13 อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร วิศวะหนุ่มวัย 25 ปี ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตนเองเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต ในระหว่างที่เรียนอยู่นั้น ตนเองต้องนั่งรถไปกลับจากบ้านมาเรียนวันละหลายชั่วโมง จนทำให้ตนเองรู้สึกไม่อยากกทำงานอยู่ในกรุงเทพ
ไม่ชอบความวุ่นวายอย่างที่เป็นอยู่ และคิดว่าหากเรียนจบก็จะไม่อยู่ในกรุงเทพอย่างแน่นอน และด้วยว่าตนเองไม่ชอบทำงานประจำและอยากกลับมาทำงานที่ชุมพรบ้านเกิดของตนเอง ในระหว่างนั้นเลยคิดว่าตนเองมีต้นทุนอะไรบ้างหากจะหลับมาอยู่บ้าน และจะทำอะไร และสิ่งที่มีคือที่ดิน และอยากจะต่อยอดจากที่ดินที่มี จากสวนที่มี
นายศุภวิชญ์ กล่าวว่า แต่ด้วยความที่ตนเองเรียนจบทางด้านวิศวะมา ไม่มีความรู้ทางด้านการเกษตร เลยพยายามหาข้อมูล และเห็นว่ารัฐบาลมีโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรรุ่นใหม่ ตนเองจึงเข้าร่วมโครงการเพื่อหาความรู้ และเมื่อตนเองมีความรู้ มีที่ดินจึงเริ่มลงมือทำการเกษตร จากพื้นที่สวนที่มีอยู่
ในระหว่างที่เริ่มเรียนรู้ เริ่มทำ ตนเองก็หาข้อมูลในเรื่องของตลาดไปด้วย จากที่ได้พูดคุยและเริ่มเรียนรู้กับสังคมปัจจุบัน เห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่จะหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น แต่ผักส่วนใหญ่ในท้องตลาดที่เห็นที่ซื้อกันจะเป็นผักตามท้องตลาดทั่วไปที่มาจากต่างจังหวัด แต่ผักที่เป็นผักปลอดสารพิษ ปลอดเคมีที่ปลูกในจังหวัดของตัวเองหาได้ยาก ตนเองจึงคิดที่ปลูกผักอินทรีย์
นายศุภวิชญ์ เล่าให้ฟังว่าตนเองตัดสินใจที่จะทำการเกษตรบนที่ดินของตนเองในพื้นที่ประมาณ 6 ไร่ โดยจะแบ่งพื้นที่ไว้ปลูกกล้วย ปลูกเสารส ปลูกหม่อนและพื้นที่บ่อน้ำ อีก 1ไร่จะปลูกผัก เพราะการปลูกผักจะใช้เวลาสั้นๆ ไม่นานก็เก็บเกี่ยวสร้างรายได้ ในระหว่างที่พืชอื่นๆที่ปลูกยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ก็มีรายได้จากการปลูกผักหมุนเวียนไป
นายศุภวิชญ์เปิดเผยว่าผักที่ตนเองขายนั้นจะเป็นผักที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพราะฉะนั้นผักที่ขายจะเป็นผักที่ปลอดสารพิษ อย่างแน่นอน เมื่อเอาผักไปขาย ผู้ผลิตกับผู้บริโภคจะได้เจอกัน ผู้บริโภคเข้าจะเข้ามาถามว่าผักที่ขายปลูกแบบไหน บนดินหรือในน้ำ เราก็สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจในผักของเรา เพราะผักที่ขายจะมีราคาที่แพงกว่าท้องตลาดทั่วไปมาก เป็นราคาที่เราเป็นคนกำหนดโดยคิดจากต้นทุนของเรา คะน้าราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 ผักสลัดอยู่ที่กิโลกรัมละ 200 บาท และกวางตุ้งกิโลกรัมละ 80 บาท การปลูกผักของไร่แห่งนี้แต่ละอย่างต้องใช้เวลาและปลูกสลับหมุนเวียนกันไป เลือกความเหมาะสมกับพืชที่อย่างผักสลัดก็จะปลูกเรดคอสเพราะเหมาะสมกับพื้นที่และสภาพอากาศของบ้านเรา ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 60 กว่าจะเก็บเกี่ยวได้ คะน้าประมาณ 55 วัน กวางตุ้งประมาณ 35 วัน
นอกเหลือจากแปลงผักที่ปลูกสลับหมุนเวียนกันไปนั้น นายศุภวิชญ์เปิดเผยว่า ในพื้นที่ 6 ไร่นี้ ตนเองได้ปลูกข้าว สาเหตุที่ได้ปลูกข้าวเพราะพื้นที่ดังกว่านั้นเป็นพื้นที่ต่ำมีน้ำท่วมขัง เมื่อตนเองขุดสระน้ำดินส่วนหนึ่งจึงเอามาถมพื้นที่ดังกล่าวให้สูงขึ้น และเมื่อตนเองสังเกตดินที่ขุดขึ้นมาถมก็พบว่า ดินดังกล่าวเป็นดินเหนียวไม่มีธาตุอาหารจึงคิดที่จะเพิ่มธาตุอาหารในดิน เพราะคิดว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถปลูกอะไรขึ้นอย่างแน่นอน จึงคิดว่าการปลูกข้าวจะช่วยในการเพิ่มแร่ธาตุในดินได้ เพราะเมื่อเกี่ยวข้าวเรียบร้อยและก็ทำการไถ่กลบฝางลงไปในดิน เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน และนอกจากทำให้ดินดีขึ้นเราก็ยังได้ข้าวมาไว้กินอีกด้วย ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวไร่พันธุ์ภูเขาท้อง เพราะข้าวไร่ดูแลง่ายไม่ต้องบำรุงเยอะ
และในส่วนของหญ้าเนเปียที่ปลูกไว้ เป็นการปลูกเพื่อเป็นแนวกันชน เพราะมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ระบุไว้ว่า ในแปลงจะต้องมีบ่อน้ำและแนวกันชนแนวกันลมเพื่อป้องการสารเคมีทางอากาศและทางน้ำทางดิน โดยนายศุภวิชญ์เปิดเผยว่า ตนเองเลือกที่จะปลูกไผ่ กล้วย และหญ้าเนเปียเป็นแนวกันชน เพื่อป้องกันสารเคมีจากสวนในพื้นที่ใกล้เคียง เพราะพืชดังกล่าวที่ตนเองเลือกปลูกเป็นพืชที่โตเร็วมีความสูงและสามารถป้องกันสารเคมีจากพื้นที่ใกล้เคียงได้ ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่กำหมดไว้
นายศุภวิชญ์ยังเล่าให้ฟังอีกว่า สาเหตุที่ตนเองปลูกกล้วย นอกเหนือจากที่ตนเองปลูกเป็นแนวกันชนแล้ว ตนเองคิดว่าจะปลูกเพื่อเป็นสินค้าเพื่อแปรรูป หรือเป็นวัตถุดิบในการแปรรูป เพราะหากสังเกตจะเห็นว่าในพื้นที่บ้านเรา กล้วยมีกันแทบทุกบ้าน และราคาก็ตกต่ำ แต่เรากลับมองข้ามในการเอามาทำเป็นวัตถุดิบอื่นๆ ตนเองจึงมีแนวความคิดที่จะเอากล้วยมาต่อยอด เพราะอาชีพเกษตรกรถ้าเราทำแบบเดิมๆเราก็จะได้ผลลับแบบเดิมๆ เราจึงต้องคิดค้นหาอะไรใหม่ๆเพื่อพัฒนาและต่อยอดต่อไป
นายศุภวิชญ์กล่าวว่า ถึงแม้ตนเองจะจบวิศวะมา แต่ตนเองก็สามารถนำเอาความรู้จากวิชาที่เรียนมาปรับปรุงประยุกต์ นำมาใช้กับการทำการเกษตรได้ โดยเลือกที่จะดึงมาใช้ ให้เหมาะสมกับงาน ที่สำคัญการที่เราได้ลงมือทำอะไร ที่เราไม่เคยทำ เมื่อเราเจอกับปัญหา เราก็จะเรียนรู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น และจะหาทางออกกับมันได้เอง หากใครมีความคิดที่เบื่อความวุ่นวายอยากเรียนรู้เรื่องการทำเกษตร ลองมาคุยกับ นายศุภวิชญ์ สว่าวงษ์ หรือไนท์ เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ทำเกษตรได้เพียง 2 ปี แต่ สามารถสร้างแบรนด์ที่มีชื่อว่า “Make a dish” ให้คนได้รู้จักได้ ติอต่อได้ที่เบอร์ 084-5569134