เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



โฆษก ปอท.เตือนภัย ฉ้อโกงผ่านออนไลน์ หลังพบสถิติแจ้งความสูงเท่าตัวในแต่ละเดือน


13 พ.ย. 2562, 10:35



โฆษก ปอท.เตือนภัย ฉ้อโกงผ่านออนไลน์ หลังพบสถิติแจ้งความสูงเท่าตัวในแต่ละเดือน




วันที่ 12 พ.ย. 62 ที่ บก.ปอท. พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท.ในฐานะ โฆษก บก.ปอท. เปิดเผยว่า ช่วงสองเดือนที่ผ่านมาพบว่า บก.ปอท.มีสถิติการรับแจ้งความเกี่ยวกับคดีถูกฉ้อโกง หลอกให้โอนเงิน ผ่านออนไลน์สูงขึ้นมากเป็นเท่าตัว เทียบแต่ละเดือนคิดเป็นจำนวนกว่า 100% ซึ่งเป็นอัตราที่น่าตกใจมาก

 


คนร้ายจะคิดหาวิธีการ หรือ มุกแปลกๆ มาใช้หลอกลวง  ล่าสุดตอนนี้ที่มีการแพร่ระบาดเป็นการแฮกหรือปลอมไลน์เป็นเพื่อน-เป็นญาติ-หรือเป็นคนรู้จัก แล้วส่งคิวอาร์โค้ด ให้เหยื่อซึ่งเป็นเพื่อนในไลน์ให้ช่วยชำระเงินค่าสินค้าแทนให้ก่อน แล้วจะโอนเงินคืนให้ภายหลัง  เมื่อเหยื่อเห็นคิวอาร์โค้ดส่งมาให้ก็ไม่ทันได้คิด ได้ตรวจสอบกลับไปยังคนขอก่อนว่าเป็นตัวจริงหรือเปล่า พอสแกนคิวอาร์โค้ดปุ๊บก็เป็นการชำระเงินค่าสินค้าที่คนร้ายช๊อปได้สินค้านั้นไปเรียบร้อย ซึ่งตอนนี้มีผู้เสียหายทำนองเดียวกันนี้มาแจ้ง ปอท.เยอะมาก จึงอยากจะเตือนให้ระมัดระวัง กรณีที่มีการร้องขอมาให้ช่วยชำระสินค้าแทนไปก่อนแบบนี้ขอให้ทำการตรวจสอบถามกลับไปด้วยการคุยด้วยเสียงหรือวีดิโอคอลเห็นหน้ายืนยันตัวตนว่าเป็นคนขอมาจริง ไม่ใช่คนร้ายแฮกมาหรือปลอมไลน์มา  จึงค่อยสแกนคิวอาร์โค้ดจ่ายเงินแทนให้

 

 



นอกจากนี้ยังพบอีกว่าคนร้ายจะใช้วิธีการให้ซับซ้อนแลดูแนบเนียบ ด้วยการโทร.เข้ามาหาเหยื่อก่อนแต่ไม่พูดอะไรหรือตัดสายทันที จะมีมิสคอลโชว์ให้เหยื่อเห็น กรณีแบบนี้แสดงว่าคนร้ายแฮกเอาบัญชีเฟซบุ๊กและบัญชีไลน์ไปได้แล้ว จากนั้นโทรศัพท์เข้ามาแต่ไม่พูด อยู่ 2-3 ครั้ง  หลอกให้เหยื่อหลงเชื่อคิดว่าเป็นตัวจริงแต่ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้ ระบบไม่ดี สัญญาณรบกวน จากนั้นเขียนข้อความแชตมาบอกเหยื่ออ่านแล้วจะหลงเชื่อว่าเป็นตัวจริงก็จะชำระค่าสินค้าหรือโอนเงินให้ในรูปแบบต่างๆ ไป

 

 

นอกจากการหลอกชำระแทนผ่านคิวอาร์โค้ด หลอกลวงยืมเงินในรูปแบบต่างๆ โอนเข้าบัญชีธนาคารบ้างหรือโอนเข้ากระเป๋าตังค์อีเล็คโทรนิคที่มีในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีการถูกหลอกอยู่เยอะคือการหลอกให้โหวต คนร้ายส่งลิงค์มาให้พร้อมกับขอร้องช่วยเข้าไปกดโหวตคะแนนให้ลูกหลานที่กำลังประกวด-แข่งขันร้องเพลงบ้าง ซึ่งเมื่อกดลิงค์ไปก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาบอกให้ใส่ยูสเซอร์เนม-พลาสเวิร์ด เมื่อเหยื่อหลงกลใส่ให้คนร้ายก็จะได้ข้อมูลส่วนตัวไปทำการยึดเฟซบุ๊กหรือไลน์เอาไปแล้วแต่กรณีที่สนลิงค์เข้ามาฝากเตือนว่าให้ระมัดระวังอย่สไปกดลิงค์แปลกๆ หรือกดไปแล้วจะต้องใส่ยูสเซอร์เนมหรือพลาสเวิร์ดก็อย่าไปใส่ เราจะตกเป็นเหยื่อคนร้ายถูกแฮกได้ จากนั้นคนร้ายก็จะเอาไปสร้างความเดือดร้อนให้กับเพื่อนๆ ของเราในการถูกหลอกยืมเงินได้

 

 


โฆษก ปอท.กล่าวเพิ่มเติมกรณีที่ถูกหลอกโอนเงิน ชำระเงิน ไปแล้วขอให้เอาพยานหลักฐานทั้งหมดที่มีไม่ว่าจะเป็นคิวอาร์โค้ด การสนทนาที่คุยสื่อสารกันคนร้าย อะไรทุกอย่างที่เกี่ยวข้องในคดี ปริ๊นท์กระดาษออกมาแล้วนำไปพบพนักงานสอบสวนที่ บก.ปอท.หรือ สน.- สภ.ท้องที่ที่กระทำความผิด ที่โดนเงินให้คนร้าย ทางสถานีตำรวจจะส่งข้อมูลมาให้ทาง บก.ปอท.ตรวจสอบสืบสวนหาตัวคนร้าย ทุกสิ่งทุกอย่างมีร่อยรอยให้สืบสวนติดตามได้เสมอ อยู่ที่ฝ่ายผู้เสียหายจะช่วยเก็บรวบรวมพยานหลักฐานได้ทั้งหมดแล้วมามอบให้พนักงานสอบสวนเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด


เมื่อผู้เสียหายรู้ตัวว่าถูกหลอก ถูกฉ้อโกง แนะนำให้เข้าพบพนักงานสอบสวนทันทีจะมีที่สุด โอกาสที่จะติดตามเงินคืนก็มีมากน้อยขึ้นอยู่กับความยากง่ายและพยานหลักฐาน  เร็วที่สุดอาจจะไม่ถึงสัปดาห์ แต่ถ้าหลักฐานที่เกี่ยวข้องยังไม่ครบต้องรอหลักฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาก่อนก็ต้องใช้ระยะเวลามากขึ้น






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.