เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



วิธีบูชา  "ท้าวเวสสุวรรณ"  สวดถูก ชีวิตเปลี่ยน รวยขึ้นทันตา


5 ม.ค. 2563, 12:27



วิธีบูชา  "ท้าวเวสสุวรรณ"  สวดถูก ชีวิตเปลี่ยน รวยขึ้นทันตา




 


เราอาจเคยเห็นได้ยินความเชื่อเรื่อง "ท้าวเวสสุวรรณ" ว่ามีอิทธิฤทธิ์ในการขับไล่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย นอกจากนี้ท้าวเวสสุวรรณ ยังเป็นเทพแห่งความร่ำรวยอีกด้วย สำหรับใครที่กำลังดวงตก หรือโดนสิ่งลี้ลับรบกวน แนะนำให้คุณลองสวด คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ แล้วปฎิบัติตามวิธีการสวดคาถาบูชา เพื่อเสริมโชคลาภ ขจัดอุปสรรค กันคุณไสยและภูติผี แล้วคุณจะสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิตในทางที่ดีขึ้น


ประวัติและความเป็นมา ท้าวเวสสุวรรณ คือใคร
     

     ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร เป็นเจ้าแห่งอสูร ยักษ์ และภูติผีปีศาจ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประทับทางทิศเหนือ และเป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คอยคุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ ได้แก่

1.ท้าวธตรฎฐ์ (ท้าวธตรฐ หรือ ท้าว ธตรัฏฐะ) ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันออก มีผิวกายสีเขียว, มือซ้ายถือพิณ มือขวาดีดพิณ ปกครองเหล่าพวกคนธรรพ์

     2.ท้าววิรุฬหก ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศใต้ รูปกายสีขาว พระพักตร์แดง มือซ้ายมีงูเลื้อยพันฝ่ามือจับคองูไว้ มือขวาถือพระขรรค์ มีมงกุฎนาคประดับ ปกครองกุมภัณฑ์

     3.ท้าววิรูปักษ์ ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันตก มีรูปกายสีขาวรูปร่างใหญ่ มือซ้ายถือธนูทรงอาภรณ์สีแดงเลือด ปกครองเหล่านาค

     4.ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวรรณ) ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือ มีคติความเชื่อว่ามีรูปร่างเป็นยักษ์ 3 ขา มีฟัน 8 ซี่ มี ๔ กรพระวรกายขาวกระจ่างสวมอาภรณ์งดงาม มีมงกุฎเป็นน้ำเต้าทรงอยู่บนพระเศียร ถือกระบองยาว ปกครองเหล่ายักษ์ อสูร และภูติผีปีศาจทั้งหลาย

     แต่ในหลายตำรา ก็เชื่อเช่นกันว่า ท้าวเวสสุวรรณ เป็นยักษ์ที่มีผิวกายและพัสตราภรณ์สีเหลืองทอง มีเมตตาสูง นอกจากคอยช่วยเหลือมนุษย์แล้ว ยังคอยพิทักษ์รักษาองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนาอีกด้วย โดยมีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่า ท้าวเวสสุวรรณนำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก ไม่ให้ยักษ์หรือบริวารของท้าวจตุโลกบาลมารบกวน เราจึงมักเห็นรูปปั้นหรืองานศิลป์ต่างๆ ที่เป็นรูปของท้าวเวสสุวรรณตามวัดวาอารามต่างๆ เพื่อเป็นนัยยะสื่อถึงการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนานั่นเอง

 

  ในทางพระพุทธศาสนานั้น เชื่อกันว่า ในอดีตชาติ ท้าวเวสสุวรรณ เคยเป็นพราหมณ์ นามว่า กุเวร ประกอบอาชีพทำไร่อ้อยและหีบ(บีบ)น้ำอ้อยขายจนร่ำรวย มีหีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อย ถึง 7 เครื่อง ด้วยความเป็นคนใจดีมีเมตตา จึงสร้างที่พักสำหรับคนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานแก่คนสัญจรไปมาเสมอ ทำให้พราหมณ์กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีนามว่า"กุเวรเทพบุตร" และต่อมาจึงได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแลด้านทิศเหนือ และมีพระนามว่า "ท้าวเวสสุวรรณ"

 

 



วิธีบูชา ท้าวเวสสุวรรณ
     ตั้งแต่โบราณผู้คนนิยมนำภาพ ผ้ายันต์ หรือวัตถุมงคลต่างๆ ที่เป็นรูปของท้าวเวสสุวรรณ แขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เพราะเชื่อว่าท่านคือเจ้าแห่งอสูรและภูติผีต่างๆ จึงสามารถป้องกันภูตผีปีศาจไม่ให้มารบกวนเด็กเล็กได้ นอกจากนี้ผู้ที่ต้องทำงานกับความตาย เช่น สัปเหร่อ ก็มักพกรูปหรือวัตถุมงคลที่เกี่ยวกับท้าวเวสสุวรรณ เพื่อป้องกันอาถรรพ์ต่างๆ เช่นกัน 

  ยิ่งไปกว่านั้น ท้าวเวสสุวรรณยังเป็นเจ้าแห่งทรัพย์ทั่วปฐพี จึงถือกันว่าท่านเป็นเทพแห่งโชคลาภและความมั่งคั่งร่ำรวยด้วยเช่นกัน ในจีนมีคติความเชื่อว่าท้าวเวสสุวรรณคือองค์เดียวกับเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภนั่นเอง ในตำราโบราณจึงได้กล่าวไว้ว่า ผู้ใดต้องการทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา และโชคลาภต่างๆ ให้สวดคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณและหมั่นทำความดี ชีวิตจะมีความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง 

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ

ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ

เมื่อสวด ๓, ๗ หรือ ๙ จบ แล้วจึงขอพร

หากสามารถจัดหาเครื่องบูชาได้ ให้บูชาด้วย ดอกกุหลาบ 9 ดอก จุดธูป 9 ดอก

 

วิธีขอพร ท้าวเวสสุวรรณ
     สำหรับใครที่มีอุปสรรคติดขัดในชีวิต สามารถไหว้ขอพรท่านท้าวเวสสุวรรณเพื่อขอบารมีท่านช่วยปัดเป่าอุปสรรค และเสริมโชคลาภให้ชีวิตของคุณดีขึ้นได้  ท่านจะช่วยป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน แต่จะต้องไม่ลืมทำความดีด้วย เพราะหากเราไม่มีต้นทุนความดีใดๆเลย ก็ยากที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยเราได้

 







Recommend News
















©2018 ONBNEWS. All rights reserved.