เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"รองอธิบดีกรมปศุสัตว์" ส่งทีมสัตวแพทย์เคลื่อนที่เร่งสกัดโรคปากเท้าเปื่อย พร้อมช่วยเหลือเบื้อต้นแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม


14 ม.ค. 2563, 14:44



"รองอธิบดีกรมปศุสัตว์" ส่งทีมสัตวแพทย์เคลื่อนที่เร่งสกัดโรคปากเท้าเปื่อย พร้อมช่วยเหลือเบื้อต้นแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม




วันอังคารที่ 14 มกราคม 2563 เวลา 10.00 น. นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นาย พลวรรธน์ เทียนชัยมงคล นายอำเภอ และนาย เสน่ห์ ประเสริฐ ปศุสัตว์ อ.มวกเหล็ก  ร่วมกันปล่อยขบวนรถหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่บรรเทาความเดือดร้อนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในอำเภอมวกเหล็ก ณ สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด ตำบลลำพญากลาง อำกอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี


รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์และภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพและการดำรงชีพของประชาชน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี กรมปศุสัตว์ ร่วมกับจังหวัดสระบุรี สั่งการให้สำนักงานปศุสัตว์เขต 1 และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี ดำเนินการจัดตั้ง War room ในการติดตามแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคปากและเท้าเปื่อยในพื้นที่ ให้มีการรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าทีเป็นประจำทุกวัน โดยมีสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ให้คำแนะนำและสนับสนุนการปฏิบัติงาน จัดชุดสัตวแพทย์เคลื่อนที่กรมปศุสัตว์จากส่วนกลาง เข้าไปเสริมกำลังการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย วางแนวทางการป้องกันโรคในระยะยาว โดยจะมีการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ จำนวน 10 ทีม กว่า 80 นาย เวชภัณฑ์ยารักษาโรค น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพื่อช่วยรักษาโคป่วย และควบคุมโรค ให้ความรู้ คำแนะนำแก่เกษตรกรในการดูแลสุขภาพสัตว์และการป้องกัน

 



การควบคุมป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยนอกจากจะต้องอาศัยการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐแล้ว เกษตรกรต้องมีความตระหนักและปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องพัฒนาปรับปรุงฟาร์มให้มีระบบบ้องกันโรคเบื้องต้น เช่น มีรั้วกั้น มีที่พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยทุก 1 เดือน และไม่เคลื่อนย้ายโคนมข้าฟาร์มโดยไม่ได้รับการอนุญาตและตรวจสอบจากสัตวแพทย์ หมั่นดูแลสุขภาพโคอย่างสม่ำเสมอ หากพบมีอาการผิดปกติ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทราบทันที่ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือแจ้งสายด่วนของกรมปศุสัตว์ 063-2256888 หรือผ่านแอปพลิเคชั่น DLD 40 "แจ้งการเกิดโรคระบาด" เพื่อเข้าดำเนินการตรวจสอบ ควบคุโรค และให้การซวยเหลืออย่างทันท่วงที


โรคปากและเท้าเปื่อยนั้นถึงแม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงตายในโคเต็มวัย ยกเว้นลูกโคที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน แต่ก่อให้เกิดปัญหาสูญเสียทางเศรษฐกิจในวงกว้าง เป็นโรคติดต่อของสัตว์กีบคู่ที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากฝูงสัตว์ไม่ได้รับวัคซีนอาจมีอัตราการป่วยได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานปสุสัตว์จังหวัดสระบุรีได้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคปากและเท้าเปื่อยอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง ได้แก่ ประกาศเขตโรคระบาดเพื่อการบังคับใช้กฎหมาย เฝ้าระวังโรคและค้นหาสัตว์ป่วยเพิ่มเติม ร่วมกับด่านกักกันสัตว์สระบุรี ตั้งจุดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคควบคุมการเคลื่อนย้าย และประชาสัมพันธ์เตือนภัยให้กับเกษตรกรทราบสถานการณ์และการป้องกันโรคเข้าฟาร์ม แต่เนื่องจากการเลี้ยงโคนมในพื้นที่จังหวัดสระบุรี มีการเลี้ยงอย่างหนาแน่น มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ ซากสัตว์ รวมถึงมูลสัตว์ น้ำนม อาหารสัตว์ตลอดเวลา ทำให้การควบคุมโรคเป็นไปด้วยความยากลำบาก และโรคแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว โดยตั้งแต่เตือนตุลาคม 2563 ถึงปัจจุบัน มีรายงานการเกิดโรคในอำเภอมวกเหล็กจำนวน 108 ราย โคนมร่วมฝูง 5,654 ตัว ป่วย 1,980 ตัว หายป่วย 1,083 ตัว ป่วยคงเหลือ 897 ตัว ประกอบด้วย จำนวน 178 ราย โคนมป่วย 2,585 ตัว และโคนมตาย 70 ตัว เกษตรกรสูญเสียรายได้และปริมาณน้ำนมดิบลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการเกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรีได้ขอรับการสนับสนุนหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่บรรเทาความเดือดร้อนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจากรมปศุสัตว์เพื่อซวยเหลือเกษตรกรในด้านการรักษาโรค การทำลายเชื้อโรคในฟาร์ม รวมทั้งการให้ความรู้แก่เกษตรกรอีก






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.