ไทยร่วมญี่ปุ่น เปิดสถานีเรดาร์ตรวจจับพลาสมาบับเบิล แห่งแรกในเอเซียที่ สจล.ชุมพร
17 ม.ค. 2563, 16:54
วันที่ 17 ม.ค. 63 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่น โดยมี ดร.Hideyuki Tokuda gxHoxitTko ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นอธิการบดี ร่วมเปิดใช้งานสถานีเรดาร์ที่ตั้งอยู่ที่ สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร โดยมีนายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ ผู้ว่าฯ จ.ชุมพร นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และ ผศ.ดร.วัฒนชัย พงษ์นาค รักษาการแทนรองอธิการบดี วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร พร้อมทั้งตัวแทนจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย คณะผู้บริหารระดับสูงทั้ง KMITL และ NICT ร่วมตัดริบบิ้นในพิธีเปิดสถานี แขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชนเยี่ยมชนสถานีเรดาร์พระจอมเกล้าชุมพร
ผศ.ดร.วัฒนชัย พงษ์นาค กล่าวว่า สถานีเรดาร์เพื่อตรวจจับพลาสมาบับเบิล ที่รบกวนการแพร่กระจายคลื่นวิทยุ (VHF) โดยที่ตั้งของวิทยาเขตชุมพรนั้นอยู่ใกล้เส้นแม่เหล็กโลก ซึ่งจะสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสภาพชั้นบรรยากาศได้ดีที่สุดและสถานีนี้เป็นสถานีแรกของประเทศไทยและของเอเซียเป็นความร่วมมือระหว่าง KMITL พระจอมเกล้าลาดกระบัง ประเทศไทย และ NICT สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น จะได้รับประโยชน์จากสถานีเรื่องการตรวจอากาศ บอกถึงการเปลี่ยนของชั้นบรรยากาศซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบจีพีเอสทั่วไป นำร่องระบบการบินที่ผิดปกติ หรือเรือเดินสมุทร พร้อมทั้งจะมีประโยชน์ด้านการวิจัย ทั้งประเทศไทยรวมถึงการวิจัยระดับโลกโดยจังหวัดชุมพรเป็นพื้นที่เหมาะสมในการตั้งสถานี
ด้านศาสตราจารย์ ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ ผู้บริหารทีมนักวิจัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)ที่ปรึกษาสถานีเรดาร์พระจอมเกล้าชุมพร (KMITL)ได้กล่าวอีกว่า สถานีเรดาร์พระจอมเกล้าชุมพร เป็นสถานีที่มีความสำคัญที่สุดในเอเชีย จัดตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาความผิดปกติในชั้นบรรยากาศไอไอโนสเฟียร์ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อระบบระบุตำแหน่งความแม่นยำสูง เช่น ในระบบการบิน ระบบเกษตรอัจฉริยะ ระบบรถยนต์ไร้คนขับซึ่งพบว่ามีความผิดปกติในพื้นที่จังหวัดชุมพรและเคลื่อนไปในละติจูดที่สูงกว่าในประเทศอื่นๆ บางครั้งเคลื่อนไปถึงประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปรากฏการณ์ลักษณะนี้ขาดทั้งองค์ความรู้ความเข้าใจที่จำเป็นในวิทยาศาสตร์และการพฒนาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
โฮะซึมิ ตำแหน่งนักวิจัย ประเทศญี่ปุ่น หัวหน้าสถานีเรดาร์พระจอมเกล้าชุมพร (NICT) กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกวันนี้ระบบจีพีเอสต่างๆรวมถึงเครื่องรับ ทั้งในโทรศัพท์ ในรถ รวมถึงระบบอัตโนมัติต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญของประเทศและในโซนทั่วโลก จึงมีความจำเป็นในการกำจัดสัญญาณพลาสมาบับเบิลด้วยสถานีตรวจจับทำให้มีผลกระทบด้านเสียของสัญญาณต่างๆ ที่ต้องใช้ลดลง และสามารถทำให้ใช้ระบบจีพีเอสได้อย่างปลอดภภัยมากยิ่งขึ้น ขณะนี้สามารถจับสิ่งปกติในอาวกาศได้แต่หลังจากจับได้ต้องทำการวิจัยต่อว่าจะพัฒนาไปสู่ แอปพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างไรและสามารถส่งข้อมูลให้ผู้ใช้จริงได้ทั่วโลกต่อไป