พบ "เต่าตนุ" สัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535 ดับปริศนาบนชายหาดบางแสน
24 มิ.ย. 2562, 08:31
ช่วงคืนที่ผ่านมา 24 มิ.ย. 62 ตำรวจภูธรแสนสุข รับแจ้งความจากพลเมืองดีว่า พบเต่าตนุ สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535 เกยตื้นตายปริศนา ที่ชายหาดบางแสน ล็อคเตียงผ้าใบ ตรงข้ามร้านสะดวกซื้อ ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี จึงรุดไปที่เกิดเหตุ พร้อมหน่วยเทศกิจสำนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข
จากการตรวจสอบพบเต่าตนุ ซึ่งได้รับว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ปี 2535 น้ำพลัดขึ้นมาเกยตื้นตาย กว้างประมาณ 40 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำประมาณกว่า 20 กิโลเมตร ทั้งลำตัวใบหน้า และกระดองไม่มีบาดแผลถูกใบพัดเรือ หรือถูกทำร้าย จึงห่อด้วยถุงดำ เพื่อนำไปเก็ยไว้ที่ห้องเย็นประมง ชายหาดวอนนภา เป็นการชั่วคราว โดยวันนี้ ทางเจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์ จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา จะมานำซากเอาไปผ่าพิสูจน์หาสาเหตุ การตายที่แท้จริงอีกครั้งหนึ่ง
ลักษณะทั่วไปจะงอยปากค่อนข้างทู่เมื่อเปรียบเทียบกับเต่ากระ มีรอยหยักขนาดเล็กอยู่บนริมฝีปากทั้งบนและล่าง เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้ามีจำนวน 1 คู่ มีเกล็ดกลางหลัง จำนวน 5 เกล็ด เกล็ดแถวข้าง คู่แรกสุดไม่ติดกับเกล็ดขอบคอ มีจำนวน 4 คู่ ลักษณะขอบของเกล็ดจะเชื่อมต่อกันไม่ซ้อนกัน กระดองสีน้ำตาลเหลือบขาวและดำ โตเต็มที่ยาว 120 ซม. หนัก 150 กก.
ชีวประวัติและพฤติกรรม เต่าตนุเพศเมียเต็มวัยวางไข่ทุก 2 ปี โดยเริ่มวางไข่ได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 14-25 ปี สามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี แต่มีช่วงสูงสุดระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เต่าตนุเพศผู้สามารถผสมพันธุ์กับเพศเมียได้หลายตัว และเต่าตนุเพศเมียสามารถผสมพันธุ์กับเพศผู้ได้หลายตัวเช่นกัน
อาหารวัยเด็กกินทั้งพืชและสัตว์น้ำเล็กๆ เป็นอาหาร ส่วนเต่าโตเต็มวัยกินพืชเป็นหลัก ได้แก่ สาหร่ายทะเล และหญ้าทะเล
ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจายพบในเขตร้อนและกึ่งร้อน ตามแนวชายฝั่ง แหล่งหญ้าทะเลและเกาะ ประเทศไทยพบการแพร่กระจายในธรรมชาติ ทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
แหล่งวางไข่ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ เกาะคราม จ.ชลบุรี และเกาะกระ จ.นครศรีธรรมราชส่วนฝั่งอันดามัน ได้แก่ เกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ (เกาะตอริลลา เกาะสต็อก) เกาะระ เกาะพระทอง เกาะคอเขา จ.พังงา และหมู่เกาะอาดังราวี จ.สตูล