เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"อธิบดีกรมศิลปากร" ลงพื้นที่เพนียดคล้องช้าง รับฟังชาวบ้าน -ยินดีปรับแก้ หลังบูรณะซ่อมแซม ตัดหัวเสาตะลุง เกิดกระแสวิจารณ์หนัก!!


31 พ.ค. 2562, 19:32



"อธิบดีกรมศิลปากร" ลงพื้นที่เพนียดคล้องช้าง รับฟังชาวบ้าน -ยินดีปรับแก้ หลังบูรณะซ่อมแซม ตัดหัวเสาตะลุง เกิดกระแสวิจารณ์หนัก!!




เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่ เพนียดคล้องช้าง หมู่ที่ 3 ตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรพร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย พ.อ.ชัยยา จุ้ยเจริญ รอง ผบ.มทบ.18 เดินทางลงพื้นที่ เพื่อพบปะพูดคุยกับชาวบ้านด้วยตนเอง หลังจากกรณีที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมเพนียด คล้องช้าง ซึ่งชาวบ้านพบว่าการบูรณะซ่อมแซมครั้งนี้มีการตัดหัวเสาตะลุงที่อยู่ด้านนอกเพนียดหรือที่เรียกว่าปีกกาออกทั้งหมด ทำให้สภาพของเพนียดคล้องช้างเปลี่ยนไป ดูไม่สวยงามเหมือนที่ผ่านมา จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักถึงการตัดหัวเสาตะลุงครั้งนี้

 

 

นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ดีใจที่ชาวบ้านออกมาช่วยตรวจสอบ เพื่อทำให้ราชการทำงานเพื่อให้เกิดผลดีมากที่สุด แต่การบูรณะซ่อมแซมเพนียดคล้องช้าง แม้จะมีการบูรณะซ่อมแซมมาแล้ว 3 ครั้ง ก็มีกรมศิลปกรเข้ามาทุกครั้ง แต่ตนเองยังไม่ได้มาอยู่ในเหตุการณ์ไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ แต่พอมาครั้งนี้ตนเองเป็นผู้อนุมัติแบบก็ได้สั่งการว่าทำให้ถูกต้องที่สุดเท่านั้นเอง

จากประวัติศาสตร์ความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 – 5 มีข้อมูลภาพถ่าย และภาพเขียน ยืนยันไว้ชัดเจนว่า ในช่วงปี 2439 เสาตะลุงที่เพนียดคล้องช้างที่หัวเสาจะเป็นหัวมนนั้นจะอยู่ในเพนียดคล้องช้างชั้นใน ส่วนเสาที่อยู่ในภาพถ่ายเป็นประเด็นในตอนนี้ เป็นเสาด้านนอกเชิงเทิน ที่จะเป็นหัวเสาตัดตรง

 

 

ด้านชาวบ้านก็ได้ส่งตัวแทนมาพูดคุยพร้อมกับขอให้ทางกรมศิลปกรกลับไปคิดทบทวน เร่งเห็นความรู้สึกของชาวบ้าน ไม่ได้ต้องการเอาชนะแต่ขอให้รับรู้ถึงความรู้สึก โดยก่อนหน้านี้หัวเสาตะลุงมีหัว แต่มาตอนนี้กลับไม่มีหัวทำให้ชาวบ้านเสียความรู้สึก

หลังจากมีการพูดคุยกัน นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จะนำขอเสนอแนะของตัวแทนชาวบ้านเข้าไปดูอีกครั้งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามทั้งกรมศิลปกรหรือแม้แต่ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็อยากเห็นโบราณสถานที่ดีที่สุดไม่ทรุดโทรม มีความสง่างาม มีความเป็นของแท้ดั่งเดิม แต่สิ่งที่พูดคุยกันต่างก็มีเหตุผล และจะพูดคุยกันอีกครั้งเพื่อทำออกมาให้ดีที่สุด

ทั้งนี้ พ.อ.ชัยยา จุ้ยเจริญ รอง ผบ.มทบ.18 กล่าวว่า ตอนนี้ทางกรมศิลปกรมีหลักฐานยืนยันเก่าที่สุดคืบภาพถ่ายที่ได้มาจากประวัติศาสตร์ จึงได้ยึดหลักมาเป็นการบูรณะในครั้งนี้ ก็อยากให้ชาวบ้านช่วยกันหาประวัติหรือข้อมูลที่เก่ากว่าทางกรมศิลป หรือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มายืนยันกันเพราะเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งทางกรมศิลปกรยินดีทำหัวให้ใหม่ถ้ามีข้อมูลหรือหลักฐานใหม่มายืนยัน ซึ่งตอนนี้กลายเป็นความถูกต้อง หรือความถูกใจ ซึ่งความถูกต้องก็อาจจะไม่ถูกใจ ขอเป็นกลางต้องแยกประเด็นกันให้ออก กรมศิลปกรรักษาความถูกต้อง ล่าสุดที่เก่าสุดคือสมัยรัชการที่ 4  ที่มีภาพถ่าย แต่ถ้าในมีของเก่ากว่านี้แล้วสามารถยืนยันได้ ถ้ามีหัวกรมศิลปะจะต้องทำตามแบบ แต่ถ้าไม่มีก็ต้องมาคุยกันอีกครั้งว่าจะเอาแบบถูกต้องหรือแบบถูกใจ กันอีกครั้งต่อไป

 



 


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.