รองผู้ว่าฯบึงกาฬ เปิดโครงการเทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง
12 ก.พ. 2563, 18:17
เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 12 ก.พ. ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มน้ำโขง ณ จังหวัดบึงกาฬ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ภายใต้กิจกรรม สองฝั่งของนั่งมองปากซัน โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างสรรค์ รังสรรค์ ผลงานด้านวรรณกรรม ด้านการประพันธ์ รวมถึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างจังหวัดบึงกาฬ และเมืองปากซัน โดยมีท่านสมศรี วิไลผล รองหัวหน้าแผนกแถลงข่าววัฒนธรรมและท่องเที่ยว พร้อมคณะ สปป.ลาว เข้าร่วมในงาน ณ ห้องประชุมโรงแรมบีเคเพลส อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
นางสาวนาถนิศา สุขจิตต์ ที่ปรึกษาด้านส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในนามคณะกรรมการจัดงาน กล่าวว่าจังหวัดบึงกาฬ มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และที่สำคัญมีพรมแดนติดต่อกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว ซึ่งมีวิถีวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงที่ใกล้เคียงกัน แต่มีอัตลักษณ์หรือความโดดเด่นที่แตกต่างกันต่างมีวิถีวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญาที่หลากหลาย สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องราว เรื่องเล่า วิถีวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงที่มีความผูกพันและความสัมพันธ์กันมายาวนาน เรื่องราวเหล่านี้ ล้วนแต่มีคุณค่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสามารถนำมาประยุกต์ต่อยอดพัฒนาให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงคุณภาพ คุณค่า เป็นมรดกทางวัฒนธรรม พัฒนาให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงคุณค่าทางจิตใจ สร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ สร้างเสน่ห์ให้กับชุมชน เพื่อดึงดูดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประเทศชาติได้
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬได้จัดโครงการเทศกาลศิลปะร่วมสมัยรวมน้ำโขง ณ จังหวัดบึงกาฬ ภายใต้กิจกรรมวรรณกรรมสองฝั่งของนั่งมองปากซัน โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ศิลปินด้านวรรณกรรม ด้านการประพันธ์ จากแขวงบริคำไซ สปป.ลาว และศิลปินด้านวรรณกรรม ด้านการประพันธ์ จากจังหวัดบึงกาฬ ตลอดจนครูอาจารย์ เยาวชน เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100 คน ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมเสวนาทางวิชาการเรื่องคุณค่าและความหมายของงานวรรณกรรมท้องถิ่นลุ่มน้ำโขง อดีต ปัจจุบัน อนาคต แบ่งกลุ่มอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างสรรค์วรรณกรรมท้องถิ่นประเภทต่างๆ พร้อมกับนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มประเภทต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างสรรค์รังสรรค์ผลงานด้านวรรณกรรม ด้านการประพันธ์ ซึ่งมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเชี่ยวชาญด้านวรรณกรรม มาถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ผู้เข้ารับการอบรม รวมถึงการสร้างสรรค์และรังสรรค์ผลงานด้านวรรณกรรมให้เกิดอัตลักษณ์โดดเด่นของพื้นที่และเผยแพร่ผลงานสู่สายตาประชาชนต่อไป .