ปลาบปลื้ม ตั้งรูปปั้น "โกษาปาน" อนุสรณ์สถานแห่งมิตรไมตรี ที่ถนนสยาม ฝรั่งเศส
16 ก.พ. 2563, 11:20
นับเป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่ทุกคนรู้จักกันดี สำหรับ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) หรือ ออกพระวิสุทธิสุนธร ราชทูตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ท่านเป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ และเป็นน้องชายของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพคนสำคัญของกรุงศรีอยุธยา
ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 63 สมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดทำรูปปั้น "Kosa Pan : Le buste โกษาปาน อนุสรณ์สถานแห่งมิตรไมตรีที่ถนนสยาม" และนำไปประดิษฐาน ณ ถนนสยาม สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งมีพิธีเปิดเมื่อวาน(15 กพ 2563) และน่าจะกลายเป็นจุดเช็คอินสำคัญของคนไทยแห่งใหม่สำหรับการไปเยี่ยมเยือนเมืองแบรสต์ ฝรั่งเศส
โดยนาย Pol Moal ผู้อยู่เบื้องหลังและทำงานให้ครูและ นักเรียนไทย มาโดยตลอดร่วมกับ ATPF โครงการของ ร.ร มงฟอร์ตคงจะไม่ได้รับความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ถ้าไม่มีนาย Pol "un homme sacré" ผู้ทำหน้าที่เหมือนโกษาปานเวอร์ชั่นฝรั่งเศส และผู้เป็นกำลังขับเคลื่อนในทุกๆงานของไทยและฝรั่งเศสถ้าพระยาโกษาปานเป็นผู้เจริญสัมพันธไมตรีฝั่งไทย นาย Pol ถือเป็นผู้เจริญสัมพันธไมตรีฝั่งฝรั่งเศส
Pol Moal
อาจารย์วัชระ ประยูรคำ ปฏิมากรผู้ปั้น รูปปั้นโกษาปาน
รศ.ดร.ธิดา บุญธรรม อุปนายกสมาคมครูฝรั่งเศสประเทศไทย
เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส
จากประวัติ โกษาปานเดินทางไปกับเรือฝรั่งเศสเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2228 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 และเดินทางกลับเมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2230 รวมเดินทางไปกลับอยุธยาฝรั่งเศสทั้งหมด 1 ปี 9 เดือน หลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พระเพทราชา เจ้ากรมพระคชบาล ขึ้นครองราชย์ต่อโดยสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นราชวงศ์ใหม่ โกษาปานได้รับราชการต่อมาในราชวงศ์ใหม่
โกษาปาน ทำหน้าที่เป็นผู้แทนองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เดินทางรอนแรมทางทะเลแรมเดือนเกือบครึ่งปี โดยออกเดินทางจากปากน้ำพระยาในปลายปี พ.ศ.2228 และเดินทางไปถึงฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน 2229 ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 1 แห่งประเทศฝรั่งเศส ณ ท้องพระโรงพระราชวังแวร์ซายส์
โกษาปานพำนักที่เมืองแบรสต์อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีผู้คนจำนวนมากเดินทางมาเยี่ยมเยียน พร้อมกับนำสิ่งของต่างๆ มาให้ จากนั้นจึงเดินทางต่อไปตามเมืองต่าง ๆ ด้วยขบวนรถม้าที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โปรดให้จัดแต่งออกมารับ และมีพระราชบัญชาให้เจ้าเมืองต่างๆ ดูแลเรื่องที่พัก อาหาร ตลอดจนอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้คณะราชทูตสยาม กระทั่งเข้าใกล้ปารีส เพื่อเตรียมการรอเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ตามวันเวลาที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
1 กันยายน พ.ศ.2229 เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์การทูตและประวัติศาสตร์ไทย ขบวนราชทูตสยามอัญเชิญพระราชสาส์นขึ้นพระมณฑป ตั้งกระบวนแห่เข้าพระราชวังแวร์ซายส์อย่างยิ่งใหญ่ มีผู้คนมาเฝ้าชมราวกับเป็นงานมหกรรมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โกษาปานในฐานะราชทูต นำคณะชาวสยามเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ ท้องพระโรงกระจก พระราชวังแวร์ซายส์ เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่นี้ได้รับเกียรติยศอย่างสูง มีแถวทหารเกียรติยศตั้งรับ พระบรมวงศ์ในราชสำนักฝรั่งเศสเข้าร่วมในพิธีถวายพระราชสาส์นด้วย
โกษาปาน ผู้มีท่าทีอันอ่อนน้อมถ่อมตน ให้ความเคารพอย่างสูงต่อพระมหากษัตริย์คลานเข่าเข้าไปแทบเบื้องพระแท่นที่ประทับ และถวายบังคมตามแบบชาวสยาม ก่อนที่จะทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสาส์นและเครื่องมงคลราชบรรณาการอื่นๆกระบวนแห่งพระราชสาส์นที่หน้าพระราชวังแวร์ซายส์ และไม่ได้ทำให้ชาวไทยผิดหวัง