เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"ราชภัฎจอมบึง" จัดแข่งขันทักษะผลิตสารคดีเชิงข่าว 4 สถาบัน


18 ก.พ. 2563, 12:14



"ราชภัฎจอมบึง" จัดแข่งขันทักษะผลิตสารคดีเชิงข่าว 4 สถาบัน




          ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า เวลา 10.00 น. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ที่ห้องประชุมเกษมณี ชั้น 5 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง กล่าวเปิดการแข่งขันวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ การผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงข่าว การแข่งขันกีฬาและทักษะวิชาการ พ.จ.น.ก. สัมพันธ์ ครั้งที่ 42 “ราชพฤกษ์เกมส์” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยมี ผศ.อรรถพล อุสายพันธุ์ รองอธิการบดี, ดร.เชิดชัย ธุระแพง ผอ.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, ดร.ทัศนี นาคเสนีย์ คณะบดีคณะวิทยาการจัดการ และ ผศ.สุนิสา โพธิ์พรม ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรมสื่อ พร้อมคณะอาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้าร่วมการจัดกิจกรรม

 



          โดยสาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรมสื่อ คณะวิทยาการจัดการ ได้จัดกิจกรรมการแข่งขันทักษะวิชาด้านนิเทศศาสตร์ การผลิตรายการโทรทัศน์ ประเภทสารคดีเชิงข่าวขึ้น มีสถาบันการศึกษาทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี นำนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขัน แบ่งเป็นทีมๆ ละไม่เกิน 5 คน มีการจับสลากเลือกหัวข้อเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถในมหาวิทยาลัย ทุกทีมที่แข่งขันจะต้องนำอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมาทำกิจกรรมสารคดีเชิงข่าว และตัดต่อสารคดีเชิงข่าวโดยไม่จำกัดเทคนิคการนำเสนอ ความยาวไม่เกิน 3 นาที โดยรวมตามหัวข้อที่คณะกรรมการกำหนดในวันแข่งขัน ทุกทีมต้องนำเสนอแนวความคิดและเค้าโครงเรื่องย่อแก่คณะกรรมการก่อนเข้าสู่วีดีโอสารคดีเชิงข่าว โดยมีคะแนนรวมเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น ด้านเนื้อหา 30 คะแนน ด้านคุณภาพของการถ่ายทำและการตัดต่อ 30 คะแนน ด้านความคิดสร้างสรรค์ 20 คะแนน ด้านความสำเร็จโดยรวมของผลงาน 10 คะแนน และด้านกระบวนการและการนำเสนอ 10 คะแนน

 


          โดยจะมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ผ่านประสบการณ์ด้านสารคดีเชิงข่าว จากสถานีวิทยุและโทรทัศน์ต่างๆ จำนวน 5 ท่าน มาตัดสินให้คะแนนในเรื่องของความเหมาะสมของเนื้อหา ความครบถ้วนของเนื้อหา คุณภาพของการถ่ายทำและการตัดต่อ คุณภาพความคมชัด การใช้ภาพเคลื่อนไหวเหมาะสมและดึงดูดความสนใจ การใช้สื่อผสม ( ภาพ เสียง เพลงประกอบ หรือ วีดีโอ ) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รูปแบบการดำเนินเรื่อง และสื่อความหมาย เสริมสร้างเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ และทัศนคติ ความสำเร็จของผลงาน และกระบวนการและการนำเสนอที่ดีครบถ้วน

 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.