เกษตรกร กว่า 200 ราย บุกที่ว่าการอำเภอพระพุทธบาท ร้องเรียน ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากการทำประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
27 ก.พ. 2563, 17:59
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่าได้มี นางวาสนา ฉายหุ่น อายุ 53 ปี ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งเกษตรกร อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 7 ตำบลจาก 9 ตำบล ในอำเภอพระพุทธบาทที่ประสบภัยแล้ง มีเกษตรกรร่วมเกือบ 300 คน มาร่วมตัวกัน หน้าที่ว่าการอำเภอพระพุทธบาท เพื่อขอความช่วยเหลือ เนื่องจาก เกษตรกร 204 ราย ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากการทำประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการทำประภัยไว้ ปีการผลิต 2562 กับทาง ธ.ก.ส. ต่อมาได้เกิดภัยพิบัติ เกษตรกรทั้งหมดประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้ได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิง จนบัดนี้ยังไม่ได้รับเงินประกันภัย
ต่อมา ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีได้ประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ง เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ในพื้นที่ 7 ตำบลจาก 9 ตำบลของ อำเภอพระพุทธบาท แต่จนถึงปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังไม่ได้รับเงินประกันภัย รวมประมาณกว่า 5,000 ไร่ ไร่ละ 1,500 บาท จึงทำหนังสือร้องทาง นายปรัชญา เปปะตัง นายอำเภอพระพุทธบาท แต่นายอำเภอติดราชการ มี นายปัญญาชัย ฟูศรี ปลัดอาวุโสอำเภอพระพุทธบาท ออกมารับหนังสือแทน และจะนำเสนอผู้บังคับบัญชาให้ทราบปัญหาเดือดร้อนของเกษตรกร เกษตรยื่นหนังสือแล้วไม่อาจรอความล่าช้าของงานราชการได้ จึงได้เดินทางมายืนหนังสือต่อที่ ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี
ต่อมา นางจุไรรัตน์ แสงสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดสระบุรี โดนคำสั่ง นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี มารับทราบปัญหา ประกอบด้วย นายภูดิศพงศ์ วงศ์ทองเหลือ ผอ.ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสระบุรี นายสมเจตน์ วาดเขียน บริษัทสินเชื่อ ธ.ก.ส.
นางนวลจันทร์ พัดทอง ผอ.คปภ. จ.สระบุรี (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ) สมาคมประกันวินาศภัย รับประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การเจรจาไม่สามารถตกลงไม่ได้ ไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนแน่นอน
นางนวลจันทร์ สมาคมประกันวินาศภัย ประกันภัยมี 2 กรณี ดัชนีภัยแล้งดัชนีน้ำในการที่จะจ่าย ต้องซื้อความคุ้มครองต่างหาก กับ อีกอันหนึ่งคือ เป็นภัยพิบัติกรณีประกาศภัย ต้องไปดูว่ากรมธรรม์เดียวกันหรือคนละกรมธรรม์ ถ้าเป็นกรมธรรม์เดียวกันต้องซื้อสองกรมธรรม์ แต่ถ้าเป็นกรมธรรม์เดียวกันแล้วมีเงื่อนไขคุ้มครองรายแปลงอย่างไรจะไปติดตามเรื่องนี้ให้
นางวาสนา กล่าวอีกว่า ณ วันที่เกษตรกรทำประกันภัยกับ ธ.ก.ส. ธ.ก.ส. ชี้แจงเกษตรกรว่า มีโครงการนโยบาลของรัฐบาลให้เกษตรกรทำประกัน คนที่มีคุณสมบัติกับ ธ.ก.ส. ทำประกันนี้จะได้รับเต็ม 100 แต่คนที่ไม่ได้รับคุณสมบัติกับ ธ.ก.ส. ก็ต้องควักเงินตัวเองออกครึ่งหนึ่ง รัฐบาลออกให้ครึ่งหนึ่ง ทำได้หมดทุกคนไม่จำกัดจำนวนว่ากี่ไร่ต่อคน ไม่ต้องประกาศภัยแล้งก็ได้ไร่ละ 1,500 บาท ตรงนี้หายไปไหน
สุดท้ายไม่สามารถให้คำตอบแน่นอนชัดเจนได้ จึงตกลงนัด ให้เกษตรกรส่งตัวแทนมาจำนวนหนึ่งแล้วจะเดินทางเข้า กทม. พร้อมกันไป สมาคมประกันภัย รับคำตอบที่แน่นอน ในวันพุธ ที่ 4 มีนาคม นัดเดินทางเข้า กทม. เวลา 08.00 น. เพื่อหาคำตอบที่แน่นอนชัดเจน