เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"วัดวังก์วิเวการาม" สืบสานประเพณีมวยคาดเชือกโบราณ  เนื่องในวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่ออุตตมะ


4 มี.ค. 2563, 09:47



"วัดวังก์วิเวการาม" สืบสานประเพณีมวยคาดเชือกโบราณ  เนื่องในวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่ออุตตมะ




วันที่ 4 มี.ค. 2563 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่บริเวณสนามมวยชั่วคราว  วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  จัดให้มีการแข่งขันมวยคาดเชือกแบบโบราณดั้งเดิม โดยชุมชนชาวมอญหมู่บ้านวังกะ เนื่องในวันครบรอบบำเพ็ญกุศล 110 ปี ชาตกาล พระราชอุดมมงคล หลวงพ่ออุตตมะ ถือเป็นงานบุญใหญ่หรืองานประจำปีของวัดวังก์วิเวการาม โดยปีนี้กำหนดจัดขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 – 3 มีนาคม 2563 : 5 วันติดต่อกัน นอกจากกิจกรรมมหรสพต่างๆ แล้ว ปีนี้ การแข่งขันมวยคาดเชือกโบราณ ยังคงเป็นเอกลักษณ์ และไฮไลท์สำคัญของงานครั้งนี้ นวมไม่ต้อง หมัดล้วนๆ ที่ไว้ฟาดปากคู่ต่อสู้ ให้เลือดอาบ นี่คือความมันส์ และสเน่ห์ ของมวยคาดเชือก การต่อสู้แบบฉบับลูกผู้ชาย ใจเกินร้อย ถ้าใจไม่ถึงไม่ต้องขึ้นเวทีนี้

  

ทันทีที่กรรมการสั่งให้ชกได้  นักมวยทั้งคู่ก็จะเดินสาวหนัก ศอก ประเคนแข้งเข้าใส่คู่ต่อสู่ โดยไม่ต้องเต้นดูเชิง ปี่กลองบรรเลง ประหนึ่งเสียงลั่นกลองให้ผู้กล้าเดินหน้าออกไป รบกับข้าศึกที่อยู่ตรงหน้า เสียงผู้ชมที่ตะโกนส่งเสียงให้กำลังใจนักมวย ดังไปทั่วบริเวณลานวัดแห่งนี้ นี่คือมนต์สเน่ห์ของมวยคาดเชือก ในงานประจำปี ของวัดวังก์วิเวการาม ที่ดึงดูดผู้ชม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกวรรณะ จากทุกทิศทุกทาง มารวมตัวกันที่นี่ในช่วงบ่ายของทุกวัน ที่จัดงานวัด มวยคาดเชือกโบราณ วัดวังก์วิเวการาม มีทั้งท่วงท่าที่แข็งแรงบวกกับจังหวะดนตรีที่โหมประโคมอย่างเร้าใจของปี่พาทย์มอญ ซึ่งหนึ่งปีมีเพียงหนึ่งครั้งที่ชาวไทยเชื้อสายมอญ เชื้อสายกะเหรี่ยง และเชื้อสายเมียนมา อำเภอสังขะบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จะได้มีโอกาสสนุกสนานและตามลุ้นไปกับการละเล่นมวยคาดเชือกแบบโบราณอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง โดยเปิดโอกาสให้หนุ่มๆ จากหลายหมู่บ้านได้ขึ้นประลองศิลปะการต่อสู้กันบนสังเวียน

 

สำหรับกติกาในการแข่งขันมวยคาดเชือก นักมวยสามารถปล่อย หมัด เท้า เข่า และศอก ได้ทุกส่วนของร่างกาย ด้านการเปรียบมวยก็เอาแค่ความสูงเป็นหลัก และค่อยดูน้ำหนักตามทีหลังว่าคู่ชก กล้าชกหรือไม่ รวมทั้งจะให้คนดูที่อยู่ด้านล่างของเวทีมีส่วนร่วมในการชี้ขาดว่า คู่ชกมีความเหมาะสมหรือไม่ โดยการยกมือเชียร์ ดูกระแสเสียงเชียร์ เพราะมวยคาดเชือกโบราณของวัดวังก์วิเวการามเป็นมวยงานวัดจึงไม่ได้มีขั้นตอนอะไรมาก แค่มีเลือดนักสู้ ใจกล้าก็สามารถ ขึ้นชกบนเวที ขึ้นเปรียบมวยได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีประสบการณ์มาก่อน งานนี้วัดกันที่ใจล้วนๆ ในอดีตจะมีการแข่งกันจนถึงขั้นมีผู้ยอมแพ้หรือลุกไม่ไหว 

  

โดยการต่อสู้จัดให้มีเพียงแค่ 3 ยก ยกละ 3 พัก หรือที่ภาษามวยที่นี่เรียกว่า 3 จอก ทั้งนี้ โดยทุกครั้งที่ล้ม 1ครั้งคือ 1 จอก ซึ่งในแต่ละจอก กรรมการจะให้นักมวย ได้พักหายใจ และตรวจสอบอาการของนักมวย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของนักมวย  ซึ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการ 2 คน ที่ทำหน้าที่บนเวที ซึ่งบางคู่ถ้านักชกยังแข็งแรงและชกกันติดพัน เป็นที่ชื่นชอบของแฟนมวยรอบๆเวที ก็อาจจะมีจอกที่ 4-5 ได้ เมื่อครบ 3 จอก กรรมจะยุติการชก เปิดโอกาสให้นักมวยได้พักผ่อน โดยการสลับคู่มวยอื่นมาชกเป็นคู่ต่อไป

 

การชกไม่มีการให้คะแนน ไม่มีแพ้ชนะ นอกเสียจากนักมวยว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้หรือไม่  หรือนักมวยไปโดนอาวุธของคู่ต่อสู้จนไม่สามรสู้ต่อ นำมาสู่การแพ้น็อค คนที่ชนะก็จะได้รับเงินรางวัลที่มากกว่า แต่จะไม่มีเงินรางวัลตายตัว เนื่องจากเงินรางวัลมาจากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา ต่อพระราชอุดมมงคล(หลวงพ่ออุตตมะ) ผู้ให้กำเนิดกิจกรรมนี้ และระหว่างการแข่งขันถ้านักมวยชกกันสนุก ชกมัน ก็จะมีเงินรางวัลจากแฟนหมัดมวยที่คอยดูอยู่รอบๆเวที มอบให้เป็นระยะๆ ในระหว่างการแข่งขันเพื่อเป็นกำลังใจ.....เสียง.....นายโสภณ บุญสง่า บางครั้งระหว่างรอนักมวยขึ้นเวที หรือ ระหว่างรอการเปรียบคู่มวย กรรมการทั้ง 2 คน ก็จะมาอวดลีลา แม่ไม้มวยคาดเชือก ให้แฟนมวยรอบๆเวทีได้ชม ซึ่งก็จะได้รับเสียงปรบมือจากแฟนมวยกึกก้องเวที

 

ส่วนด้านความปลอดภัยทางคณะกรรมการวัดที่รับผิดชอบในการจัดการแข่งขันก็ไม่ได้ละเลย มีการเตรียมเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้พร้อม และเวลาเกิดอะไรขึ้นที่อาจส่งผลกะทบต่อชีวิตก็จะยุติทันที การขึ้นชกมวยคาดเชือกแบบโบราณถึงแม้แต่ละคนจะไม่ใช่นักมวยขนานแท้ แต่ก่อนขึ้นชกก็ไม่ลืมที่จะอบอุ่นร่างกายไม่ต่างจากมืออาชีพ ทั้งลีลาท่าทางที่ร่ายรำออกมานั้น นับเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะการชกมวยไทยและมวยคาดเชือกแบบโบราณได้อย่างลงตัว คือมีทั้งความพลิ้วไหว แต่คงไว้ซึ่งความแข็งแรง

 

ทั้งนี้ ความสนุกสนานของการชมมวยคาดเชือกแบบโบราณ นอกจากจะได้สัมผัสวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ผสมผสานระหว่างไทยกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ อ.สังขละบุรีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะเห็นรอบบริเวณเวทีมวยคาดเชือก และงานวัดวังก์วิเวการามที่อำเภอสังขละบุรีแห่งนี้ก็คือ การรวมตัวของคนไทยเชื้อสายมอญและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆจากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะคนในหมู่บ้านที่ออกไปทำงานตามที่ต่างๆ ก็จะใช้โอกาสนี้เดินทางกลับภูมิลำเนา เช่นเดียวกันกับครั้งนี้ที่มวยคาดเชือกเป็นเสมือนสะพานเชื่อมความสันพันธ์ของทุกคนไว้อย่างแน่นเเฟ้น สะท้อนถึงความผูกพันอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย

 

ซึ่งนักมวยที่มาชกส่วนใหญ่เป็นเด็กหนุ่มจากหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งบางคนจะเดินทางมาชกทุกปี บางคนกลับถือโอกาสที่เดินทางกลับมาเยี่ยมครอบครัว มาร่วมงานวัด เลยมาขึ้นเวทีชกมวย เพื่อให้แฟนมวยได้ดู..เสียงนักมวย

 

 



 


 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.