จ.ชัยนาท ต้นแบบผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เตรียมจัดทำหลักสูตรสร้างมืออาชีพทุกจังหวัด
28 มิ.ย. 2562, 19:34
ตามที่ชมรมผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดชัยนาท ได้ขอความอนุเคราะห์หลักสูตรการจัดฝึกอบรม “หลักสูตรการพัฒนาผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว” และกรมการข้าวได้ให้ความอนุเคราะห์เพื่อให้ชมรมผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดชัยนาท ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว เป้าหมายผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 60 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท จังหวัดชัยนาท โดยวิทยากรจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมการข้าว
รศ.ดร.มาฆะสิริ เชาวกุล อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวในโอกาสร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ ในการอบรม ว่า มีแนวความคิดว่าน่าจะสร้างผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว หรือผู้ตรวจแปลงมืออาชีพ เพราะขณะนี้คนตรวจแปลงที่มีศักยภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่ มีจำนวนน้อยมากเพราะงานเยอะอยู่แล้ว หากแก้ไขด้วยการใช้คนนอก มาเป็นผู้ตรวจแทน แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณข้าวจำนวนกว่า 1 ล้านตันต่อปี จึงคิดว่าแต่ละจังหวัดน่าจะมี คณะกรรมการตรวจแปลงของตนเอง อาจประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ประกอบการ และเกษตรกร เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรผู้ตรวจแปลง ทั้งนี้คนตรวจแปลงต้องมีคุณสมบัติ มีความรู้เรื่องของมาตรฐานแปลง ที่ใช้กันคือมาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (มกษ.4406-2560) หรือที่เป็น GAP Rice Seed และยังต้องมีบัตรผู้ตรวจแปลง ซึ่งต้องผ่านการทดสอบผ่านมาแล้ว ตรงนี้จะทำให้แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกได้รับการตรวจครอบคลุมจริงๆ
กรมการข้าวจึงควรกำหนดหลักสูตร ผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยเฉพาะ เนื่องจากกรมการข้าวเป็นผู้กำหนดมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว ฉะนั้นจึงต้องมีหลักสูตรที่จะสามารถทำให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดได้
ซึ่งการอบรมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้ประกอบการร้องขอ ว่าเขาอยากรู้เรื่องมาตรฐานการตรวจแปลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเดิมกรมการข้าวให้ความสนใจกับศูนย์ข้าวชุมชนเท่านั้น แต่ข้าวกว่าร้อยละ 70 ที่ขายตามท้องตลาด ผลิตโดยผู้ประกอบการ เราจึงอยากให้ส่วน 70% นี้ผ่านมาตรฐาน หากผู้ประกอบการทราบถึงมาตรฐานแปลงแล้วเขาจะสามารถควบคุมลูกแปลงเขาได้
เมล็ดพันธุ์ข้าวจะดี แม่ต้องดีด้วย นั่นก็คือเมล็ดพันธุ์ต้องได้มาตรฐาน ปัจจุบันเราไม่ทราบว่าข้าวที่ขายอยู่ตามท้องตลาดมีคุณภาพหรือไม่ วิธีแก้ไขคือให้สารวัตรเกษตรไปตรวจตามร้านค้าจำหน่ายเมล็ดพันธุ์เท่านั้นเอง ซึ่งนั่นเป็นการสายเกินไปแล้ว เพราะบางส่วนเขาได้ขายไปแล้ว สิ่งที่เราอยากทำก็คืออยากได้ข้าวคุณภาพดี เราต้องทำเมล็ดพันธุ์ให้ดีตามไปด้วย แต่ถ้าอยากได้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีทั้งประเทศ จำนวนคนตรวจแปลงต้องมากพอ ที่จะตรวจ เพื่อทำให้เครื่องหมายตราสัญลักษณ์ “Q” นั้นมีความศักดิ์สิทธิ์
ดังนั้น หากจะใช้มาตรฐานผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จะต้องมีการกำหนดว่า ร้านค้าจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากแปลงที่ได้มาตรฐานเท่านั้น แต่ขณะนี้จะต้องมีการพัฒนาเรื่องของเอกสารเพื่อจัดทำเป็นหลักสูตรมาตรฐานผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และต้องมีคณะกรรมการของแต่ละจังหวัด
จ.ชัยนาท ต้นแบบผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เตรียมจัดทำหลักสูตรสร้างมืออาชีพทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ตามที่ชมรมผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดชัยนาท ได้ขอความอนุเคราะห์หลักสูตรการจัดฝึกอบรม “หลักสูตรการพัฒนาผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว” และกรมการข้าวได้ให้ความอนุเคราะห์เพื่อให้ชมรมผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดชัยนาท ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว เป้าหมายผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 60 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท จังหวัดชัยนาท โดยวิทยากรจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมการข้าว
รศ.ดร.มาฆะสิริ เชาวกุล อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวในโอกาสร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ ในการอบรม ว่า มีแนวความคิดว่าน่าจะสร้างผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว หรือผู้ตรวจแปลงมืออาชีพ เพราะขณะนี้คนตรวจแปลงที่มีศักยภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่ มีจำนวนน้อยมากเพราะงานเยอะอยู่แล้ว หากแก้ไขด้วยการใช้คนนอก มาเป็นผู้ตรวจแทน แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณข้าวจำนวนกว่า 1 ล้านตันต่อปี จึงคิดว่าแต่ละจังหวัดน่าจะมี คณะกรรมการตรวจแปลงของตนเอง อาจประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ประกอบการ และเกษตรกร เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรผู้ตรวจแปลง ทั้งนี้คนตรวจแปลงต้องมีคุณสมบัติ มีความรู้เรื่องของมาตรฐานแปลง ที่ใช้กันคือมาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (มกษ.4406-2560) หรือที่เป็น GAP Rice Seed และยังต้องมีบัตรผู้ตรวจแปลง ซึ่งต้องผ่านการทดสอบผ่านมาแล้ว ตรงนี้จะทำให้แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกได้รับการตรวจครอบคลุมจริงๆ
กรมการข้าวจึงควรกำหนดหลักสูตร ผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยเฉพาะ เนื่องจากกรมการข้าวเป็นผู้กำหนดมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว ฉะนั้นจึงต้องมีหลักสูตรที่จะสามารถทำให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดได้
ซึ่งการอบรมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้ประกอบการร้องขอ ว่าเขาอยากรู้เรื่องมาตรฐานการตรวจแปลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเดิมกรมการข้าวให้ความสนใจกับศูนย์ข้าวชุมชนเท่านั้น แต่ข้าวกว่าร้อยละ 70 ที่ขายตามท้องตลาด ผลิตโดยผู้ประกอบการ เราจึงอยากให้ส่วน 70% นี้ผ่านมาตรฐาน หากผู้ประกอบการทราบถึงมาตรฐานแปลงแล้วเขาจะสามารถควบคุมลูกแปลงเขาได้
เมล็ดพันธุ์ข้าวจะดี แม่ต้องดีด้วย นั่นก็คือเมล็ดพันธุ์ต้องได้มาตรฐาน ปัจจุบันเราไม่ทราบว่าข้าวที่ขายอยู่ตามท้องตลาดมีคุณภาพหรือไม่ วิธีแก้ไขคือให้สารวัตรเกษตรไปตรวจตามร้านค้าจำหน่ายเมล็ดพันธุ์เท่านั้นเอง ซึ่งนั่นเป็นการสายเกินไปแล้ว เพราะบางส่วนเขาได้ขายไปแล้ว สิ่งที่เราอยากทำก็คืออยากได้ข้าวคุณภาพดี เราต้องทำเมล็ดพันธุ์ให้ดีตามไปด้วย แต่ถ้าอยากได้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีทั้งประเทศ จำนวนคนตรวจแปลงต้องมากพอ ที่จะตรวจ เพื่อทำให้เครื่องหมายตราสัญลักษณ์ “Q” นั้นมีความศักดิ์สิทธิ์
ดังนั้น หากจะใช้มาตรฐานผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จะต้องมีการกำหนดว่า ร้านค้าจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากแปลงที่ได้มาตรฐานเท่านั้น แต่ขณะนี้จะต้องมีการพัฒนาเรื่องของเอกสารเพื่อจัดทำเป็นหลักสูตรมาตรฐานผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และต้องมีคณะกรรมการของแต่ละจังหวัด