เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ทหาร 45 นาย "บริจาคเลือด" ที่ รพ.ปากช่องนานา ยัน! ปราศจากเชื้อโควิด-19


27 มี.ค. 2563, 16:44



ทหาร 45 นาย "บริจาคเลือด" ที่ รพ.ปากช่องนานา ยัน! ปราศจากเชื้อโควิด-19




ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า นาวาอากาศเอก วรินทร ตันสงวน ผู้บังคับสถานีรายงานเขาเขียว ได้นำเพื่อนข้าราชการ พนักงานราชการและทหารกองประจำการ จำนวน 45 นาย มาบริจาคเลือดที่โรงพยาบาลปากช่องนานา เพื่อเป็นประโยชน์กับประเทศชาติและผู้ที่ต้องการใช้เลือด และขอยืนยันว่าเลือดที่บริจาคนั้นปราศจากเชื้อโควิด-19 แน่นอน เพราะข้าราชการทุกคนที่มาวันนี้อยู่ปฎิบัติราชการบนยอดเขาของสถานีรายงานเขาเขียวทุกคนอยู่เกิน 14 วัน โดยนโยบายของผู้บังคับบัญชา พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้ข้าราชการในสังกัดมาบริจาคโลหิตในครั้งนี้

 

 



กิจการบินของไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชาวต่างประเทศ ได้นำเครื่องบิน มาแสดงให้ชาวไทย ได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 อันทำให้ ผู้บังคับบัญชา ระดับสูง ของกองทัพ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องบิน ไว้เพื่อป้องกันภัย ที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ กระทรวงกลาโหม จึงได้ตั้ง "แผนกการบิน" ขึ้นในกองทัพบก พร้อมทั้งได้คัดเลือกนายทหารบก 3 คน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม ไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศฝรั่งเศส อันได้แก่ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ทั้ง 3 ท่านนี้ ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ ตามลำดับ คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต และ กองทัพอากาศได้ยกย่องให้เป็น "บุพการีของกองทัพอากาศ"

         


ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้นทางราชการ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน รวมทั้ง มีผู้บริจาคเงินร่วมสมทบซื้อด้วยเป็นครั้งแรก จำนวน 8 เครื่อง คือเครื่องบินเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 4 เครื่อง และ เครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง อันอาจกล่าวได้ว่า กำลังทางอากาศของไทย เริ่มต้นจากนักบินเพียง 3 คน และเครื่องบินอีก 8 เครื่องเท่านั้น การบินของไทยในระยะแรก ได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน เป็นสนามบิน แต่ด้วยความไม่สะดวกหลายประการ บุพการีทั้ง 3 ท่าน จึงได้พิจารณาหาพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมต่อการบิน และได้เลือกเอาตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร สถานที่โรงเก็บเครื่องบินอย่างถาวรขึ้น เมื่อการโยกย้ายกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องบิน ไปไว้ยังที่ตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น "กองบินทหารบก" ซึ่งถือได้ว่า กิจการการบินของไทย ได้วางรากฐานอย่างมั่นคงขึ้นแล้ว ตั้งแต่บัดนั้นมา กองทัพอากาศจึงถือเอา วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปีเป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"

 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.