เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



หนอนกระทู้ ระบาดหนัก! "เกษตรกร"ระดมทุนเพื่อเตรียมลงแปลงใหม่


1 ก.ค. 2562, 09:29



หนอนกระทู้ ระบาดหนัก! "เกษตรกร"ระดมทุนเพื่อเตรียมลงแปลงใหม่




            ผู้สื่อข่าว onb news รายงานว่า ช่วงเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา มีหลายๆพื้นที่ ที่ประสบภัยแล้ง และตามมาด้วยมีหนอนกระทู้ ระบาดในแปลงข้าวโพด จำนวนมาก จนเกษตรกรต้องมีการระดมทุนเพื่อเตรียมลงแปลงใหม่และจากหนอนกระทู้ระบาดทำให้เกิดความเสียหายไปหลายพื้นที่ หลายอำเภอ

            นางสาถิน มาระวัง เกษตรกร บ้านท่าข้าม ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย เจ้าของแปลงข้าวโพด 4 ไร่ ที่มีการปลูกไปแล้วกว่า 40-45 วัน  จากนั้นได้แล้งติดต่อ ไม่มีฝนตกมาประมาณ 2 เดือน หากตกก็ปรอยๆและทิ้งช่วง เกิดการระบาดระบาดของศรัตรูพืช ในแปลงข้าวโพด จำนวนมากและกำลังระบาด ในพื้นที่ บ้านท่าข้าม นาบอน ก้างปลา ตำบลชัยพฤกษ์ บ้าน โพนค่าย ตำบลนาอ้อ เสียหายนับร้อยไร่ และกำลังระบาดหนัก จนทำความเสียหายให้กับข้าวโพด เป็นบริเวณกว้าง   และขนาดนี้ ตนจะต้องเตรียมปลูกข้าวโพดใหม่แล้ว เพื่อเตรียมดิน และเตรียมลงปลูกใหม่หลังฝนตกในพื้นที่ ขณะนี้ เสียหายภาพรวมไปกว่า 20,000-25,000 บาท แต่ต้องทำใจที่จะปลูกใหม่        

   



สำนักงานเกษตรจังหวัดเลยร่วม หลังจากมีข่าวและได้รับแจ้งจากเกษตรกรว่าพบการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดในพื้นที่แล้ว นางเกศษิณ ลำมะยศ เกษตรจังหวัดเลย จึงมอบหมายให้ นายวีระเดช ฟองชัย หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดเลย ร่วมกับ นายประเมิน  พุทธมาตย์ เกษตรอำเภอเมืองเลย และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง ลงพื้นที่สร้างการรับรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่อำเภอเมือง แนะนำวิธีการควบคุม ป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ลายจุดข้าวโพดด้วยวิธีผสมผสาน แนะนำให้เกษตรกรสำรวจแปลงของตนเองเป็นประจำทุกสัปดาห์ แนะนำให้เกษตรกรใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมหนอนกระทู้ ซึ่ง BT คือ บาซิลลัส ทูริงเจนซิส (Bacillus Thuringiensis) สายพันธุ์ไอซาไว หรือสายพันธุ์เคอร์สตากี้ เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์ รวมถึงแมลงห้ำ แมลงเบียน เป็นแบคทีเรียชนิดแกรมบวกเซลล์รูปแท่งต่อกันเป็นสายลูกโซ่ สามารถสร้างสปอร์และผลึกโปรตีน ซึ่งมีส่วนประกอบของเดลต้าเอนโด ท็อกซินที่มีฤทธิ์ในการทำลายหนอนเมื่อหนอนกินเข้าไป โดยกลไกการทำลายของเชื้อบีที เมื่อหนอนกินผลึกโปรตีน สารพิษของเชื้อบีทีออกฤทธิ์ทำลายกระเพาะอาหาร ผนังเซลล์ของหนอนถูกทำลายเกิดเป็นรู สปอร์ไหลเข้าสู่ลำตัวหนอนทำให้หนอนตาย

            นางเกศษิณ ลำมะยศ เกษตรจังหวัดเลย ได้แนะนำให้เกษตรกรขยายเชื้อบีทีใช้เอง โดยใช้เชื้อบีทีที่เราสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด โดยถ้าเป็นบีทีชนิดผง ให้ใช้ในอัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ชนิดน้ำใช้ในอัตรา 60 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับการขยายเชื้อบีทีเพื่อลดต้นทุนการผลิตสามารถทำได้โดยง่าย คือ ใช้เชื้อบีทีชนิดผงจำนวน 5 กรัม ผสมกับน้ำนมถั่วเหลือง (UHT) ปริมาณ 250 – 300 มิลลิลิตร ตั้งทิ้งไว้ 2 วัน (48 ชั่วโมง) นำของเหลวที่ได้มาผสมน้ำอีก 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นต้นข้าวโพดในช่วงตอนเย็นซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงที่ตัวหนอนจะออกมากัดกินใบข้าวโพด ให้โดนตัวหนอนมากที่สุด ซึ่งเมื่อคำนวณต้นทุนแล้ว เชื้อบีทีจำนวน 5 กรัม ราคาประมาณ 5 บาท นมถั่วเหลืองประมาณกล่องละ 12 บาท รวมต้นทุน 17 บาทต่อน้ำ 20 ลิตร 1 ไร่ ใช้ประมาณ 80 ลิตร ดังนั้นต้นทุนเมื่อเกษตรกรขยายเชื้อบีทีใช้เองอยู่ที่ 68 บาทต่อไร่ ซึ่งการใช้เชื้อบีทีเป็นวิธีที่ปลอดภัยกับเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ทางเกษตรอำเภอด่านซ้ายยังได้วางแผนการผลิตและขยายแมลงหางหนีบ ซึ่งเป็นแมลงตัวดีหรือแมลงตัวห้ำโดยจะกินหนอนกระทู้ตัวเล็กและกินไข่ของหนอนกระทู้ เป็นวิธีควบคุมโดยยั่งยืน


ทั้งนี้ หากเกิดการระบาดที่รุนแรงแรง เกษตรกรสามารถใช้สารเคมีที่ได้รับการแนะนำจากกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ สารฟลูเบนไดอะไมด์ (flubendiamide) 20% WG อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอแรนทรานิลิโพรล (chlorantraniliprole) 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอร์ฟีนาเพอร์ (chlorfenapyr) 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอินดอกซาคาร์บ (indoxacarb) 15% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่นสารฆ่าแมลงทุก 7 วัน ติดต่อกัน 2-4 ครั้ง และต้องสลับกลุ่มสารทุก 30 วัน (1 วงรอบชีวิต) เพื่อลดความต้านทานสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชของหนอนกระทู้ หลังจากสามารถควบคุมได้แล้วให้ใช้เชื้อบีที แมลงหางหนีบเพื่อควบคุมจำนวนหนอนกระทู้โดยชีววิธีต่อไป






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.