เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



หาดูยาก ! "ปลาตะพากเหลือง" ว่ายจับคู่ผสมพันธุ์-วางไข่กลางเกาะแก่ง ในลำห้วยโรคี่


8 เม.ย. 2563, 08:50



หาดูยาก ! "ปลาตะพากเหลือง" ว่ายจับคู่ผสมพันธุ์-วางไข่กลางเกาะแก่ง ในลำห้วยโรคี่




วันนี้ 8 เม.ย. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวที่สามารถบันทึกเหตุการณ์ ขณะปลาตะพากเหลืองจำนวนหลายพันตัว จับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่กลางเกาะแก่ง ในลำห้วยโรคี่ เหนือหมู่บ้านสะเนพ่อง หมู่ที่1 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก โดยฝีมือการบันทึกภาพของ นายเพื่อชาติ เสตะพันธุ์ และนายสมพร เมาศรี ครูศูนย์การเรียนชุมชนศรีสุวรรณสะเนพ่อง (ตามวิถีกะเหรี่ยงทุ่งใหญ่นเรศวร) ขณะที่ทั้ง 2 คน กำลังจะเดินทางไปบ้านเกาะสะเดิ่ง ซึ่งอยู่ต้นน้ำโรคี่ โดยในคลิปมีการบรรยายถึงชนิดของปลา และพฤติกรรมของปลาตะพากเหลืองที่พบ 

ทั้งนี้ปลาตะพากตะพากชื่อสามัญภาษาอังกฤษ

GOLDEN BELLY BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์

Hypsibarbus wetmorei

ชื่อไทยอื่นๆ

- ปีก

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะของตะพาก มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขาวและอยู่ในสกุลเดียวกัน โดยทั่วไปจะมีลำตัวสีเหลืองทอง บริเวณส่วนหลังจะมีสีเข้มเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ครีบท้องสีส้มหรือสีเหลือง วิธีการในการสืบพันธุ์วางไข่ของปลาชนิดนี้เป็นที่ร่ำลือกันมากในจังหวัดตากในเขตอำเภออุ้มผาง คือ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งตกราวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ปลาตะพากทั้งตัวผู้และตัวเมียจะเวียนว่ายเคล้าเคลียรวมกันเป็นฝูงใหญ่นับเป็นจำนวนพัน จำนวนหมื่น ในขณะผสมพันธุ์ปลาทุกตัวจะรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนและเบียดเสียดยัดเยียดกันจนตัวที่อยู่ด้านบน ตัวจะลอยอยู่พ้นน้ำ อาการเช่นนี้ชาวบ้านเรียกว่า "ปลากอง" คือปลามารวมกองกันอยู่ในบริเวณเดียวกัน

ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบ

ตะพากอยู่ตามแหล่งน้ำไหลที่มีกระแสน้ำเชี่ยว ในบริเวณที่มีระดับน้ำลึกประมาณ 2-3 เมตร มีพื้นที่เป็นกรวดทราย หรือดินปนทรายพบตามลำน้ำปิง ลุ่มน้ำสาละวิน ภาคกลางพบในแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ทางภาคอีสานพบในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง

อาหาร

ตะพากกินพืชน้ำ แมลงและตัวอ่อนของแมลงน้ำ

ขนาด

ความยาวประมาณ 20-30 ซ.ม. ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 40 ซ.ม.

โดยทั้ง2คนเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า จะนำภาพทั้งหมดที่บันทึกได้ เก็บไว้ให้เด็กนักเรียน ได้ดูในการเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2563 นอกจากนั้นจะนำไปเผยแพร่ทางช่องทาง face book เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจ..ซึ่งปกติในลำห้วยโรคี่ จะสามารถพบเห็นปลาตะพากวางไข่ได้ในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน  ในวันที่ฟ้าหรัว.แต่ที่ผ่านมาพบไม่มากเท่าปีนี้ และยังไม่เคยมีการบันทึกภาพได้ จึงนับว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการบึกทึกภาพปลาตะพากขณะวางไข่ไว้ได้

 

 



 


 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.