เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"แบงค์ชาติ" พร้อมรับฟังทุกภาคส่วนในการปรับหลักเกณฑ์การดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน


11 เม.ย. 2563, 14:18



"แบงค์ชาติ" พร้อมรับฟังทุกภาคส่วนในการปรับหลักเกณฑ์การดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน




นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ชี้แจงกรณีการออก พระราชกำหนดสนับสนุนสภาพคล่อง เพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน หรือ  BSF

(Corporate Bond Stabilization Fund) ว่า การออกมาตรการดังกล่าว เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน เนื่องจากตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนมียอดคงประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท หรือกว่าร้อยละ 20 ของ GDP เป็นแหล่งระดมเงินทุนและแหล่งลงทุนที่สำคัญ โดยยืนยันว่าการออกพระราชกำหนดฯ ให้อำนาจ ธปท. ดำเนินการเรื่อง BFS ไม่ได้เป็นการแก้กฎหมาย ธปท. แต่เป็นการให้อำนาจการดำเนินการชั่วคราวแก่ ธปท. ในการเข้าไปดูแลตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยพระราชกำหนดมีอายุเพียง 5 ปี และไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักการในพระราชบัญญัติ ธปท. พ.ศ. 2551 แต่อย่างใด



สำหรับความกังวลเรื่อง ธปท. จะถูกแทรกแซงการทำงานและเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มธุรกิจ นั้น ธปท. ได้จัดโครงสร้างการกำกับดูแล กระบวนการทำงานและการบริหารความเสี่ยงกองทุน BSF อย่างรอบคอบ รัดกุมและโปร่งใส โดยทำงานร่วมกับ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต ธนาคารพาณิชย์ และผู้เชี่ยวชาญอิสระ รวมทั้งการใช้มืออาชีพมาร่วมบริหารจัดการกองทุน โดยธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ จะเป็นส่วนหนึ่งในฐานะผู้ลงทุนในตราสารหนี้เอกชนด้วยเช่นกัน


ธปท. ยังคงยึดมั่นในหลักการดูแลเศรษฐกิจการเงินให้มีเสถียรภาพ ไม่ใช่การดูแลนักลงทุนรายบุคคลและพร้อมรับฟังทุกภาคส่วนในการปรับหลักเกณฑ์การดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่สำคัญ ธปท. ยังคงยึดหลักการของการเป็นผู้ให้สภาพคล่องแหล่งสุดท้าย (last resort) ที่ให้กู้แก่บริษัทที่มีผลดำเนินธุรกิจดีต่อเนื่อง (viable) เพื่อเป็นแหล่งเงินสำรองระยะสั้น โดยบริษัทต้องมีแผนระดมทุนในระยะยาว และมีธนาคารพาณิชย์เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจและร่วมปล่อยสินเชื่อใหม่ โดยผู้ออกหุ้นกู้จะต้องจัดการระดมทุนในตลาด หรือจากระบบสถาบันการเงินมาให้เป็นส่วนใหญ่ ก่อนจะมาขอสภาพคล่องจากกองทุน BSF ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าตลาด โดย BSF จะมีแนวทางที่ชัดเจน หากบริษัทผู้ออกถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating downgrade) ที่สำคัญ ธปท. ยังคงยึดหลักการของการเป็นผู้ให้สภาพคล่องแหล่งสุดท้าย (last resort) ที่ให้กู้แก่บริษัทที่มีผลดำเนินธุรกิจดีต่อเนื่อง (viable) เพื่อเป็นแหล่งเงินสำรองระยะสั้น โดยบริษัทต้องมีแผนระดมทุนในระยะยาว และมีธนาคารพาณิชย์เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจและร่วมปล่อยสินเชื่อใหม่ โดยผู้ออกหุ้นกู้จะต้องจัดการระดมทุนในตลาด หรือจากระบบสถาบันการเงินมาให้เป็นส่วนใหญ่ ก่อนจะมาขอสภาพคล่องจากกองทุน BSF ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าตลาด โดย BSF จะมีแนวทางที่ชัดเจนหากบริษัทผู้ออกถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating downgrade) ในภายหลัง






Recommend News
















©2018 ONBNEWS. All rights reserved.