วันนี้ถึงคิว 25 จังหวัด พื้นที่สีแดง เตรียมรับมือพายุฤดูร้อน ระลอกใหม่ถึง 14 เม.ย.นี้
13 เม.ย. 2563, 10:52
กรมอุตุนิยมวิทยา เผยแผนที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ประจำวันที่ 13 เมษายน 2563 โดยพื้นที่สีแดง ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ พะเยา, น่าน, ลำปาง, แพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, พิษณุโลก, กำแพงเพชร, พิจิตร, เพชรบูรณ์, ชัยภูมิ, นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, ลพบุรี, นครราชสีมา, สุพรรณบุรี, สระบุรี, นครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี
ทั้งนี้ ตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 14 เมษายน 2563" ฉบับที่ 6 ความว่า ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดกับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับผลกระทบก่อน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
ในช่วงวันที่ 13 เมษายน 2563
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 14 เมษายน 2563
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนอีกระลอก
จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้เกิด
การปะทะกันของมวลอากาศเย็นและอากาศร้อน ส่งผลทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง