เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี เร่งทำหมันลิง 500 ตัว อาศัยอยู่ในป่าของวัดเมืองแคน


3 ก.ค. 2562, 14:00



สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี เร่งทำหมันลิง 500 ตัว อาศัยอยู่ในป่าของวัดเมืองแคน




วันที่ 3 ก.ค.62 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่บริเวณวัดเมืองแคน ต.เมืองแคน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี เปิดเผยว่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี ได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการทำหมันลิงที่อยู่ในบริเวณป่าของวัดเมืองแคน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 500 ตัว โดยมีทีมดักจับนำกรงขนาดใหญ่ไปดักในพื้นที่วัดเมืองแคน แล้วนำลิงไปแยกในกรงเล็กเพื่อให้ทีมผ่าตัดทำหมัน ฉีดยาสลบ​ ทำประวัติ​ โดยคล้องหมายเลข​และถ่ายรูป​ให้ครบทุกด้านรอบตัวลิง ทำการวัดขนาด​ ​ความยาวตัว/หาง/ขาหลัง/ฝาเท้า​/ใบหู/และระบุตำหนิ เจาะเลือด​ เก็บตัวอย่างน้ำลาย​ อุจจาระ เซรั่ม​ เพื่อหาเชื้อไวรัสโรคอุบัติใหม่​ ที่ติดต่อจากลิงสู่คนโดยสุ่ม​ 25​ ตัวอย่างต่อฝูง​ และนำส่งตรวจที่​มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ยาก่อนผ่าตัด​ ได้แก่​ cogetin ทาตาลิงเพื่อไม่ทำให้ตาลิงแห้ง​ ฉีดยาลดปวด​ (tolfedine) ลดอักเสบ (shotapen) ถ่ายพยาธิ ​(ivermectin)​ ให้แก่ลิง โกนขนบริเวณหน้าท้อง ผ่าตัด​ โดยผ่าตัดเอาท่อนำไข่​ออก หรือท่อนำอสุจิออก​ แล้วทำแผล​ ทำสลักสัญลักษณ์​ โดยสักต้นแขนขวา ตามที่กำหนดไว้​ 3301 33 คือศรีสะเกษ​ 01 คือ พื้นที่แรก ​ 62001 62 คือ ปี​ 001 คือ ตัวที่​ 1​ จากนั้นนำลิงไปพักฟื้น​ และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไปซึ่งการทำหมันเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยควบคุมประชากรลิง​ ลดปัญหาภัยคุกคามกับชุมชนเมืองได้อย่างถูกวิธี และสามารถหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรคระบาดบางตัวได้ด้วย



นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี เปิดเผยต่อไปว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาขยายพื้นที่​เมืองเข้าไปในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และพื้นที่ที่เคยเป็นป่า​มาก่อนจำนวนมาก ​ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นมีระบบควบคุม โดยห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันลิงจำพวกนี้กลับอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร ไม่มีผู้ล่า เช่น เสือดาวหรือ งูเหลือม เป็นต้น ขณะนี้ ลิงที่อาศัยในแหล่งชุมชนกลับเพิ่มจำนวนมาก ต้องเข้ามาหาอาหารในพื้นที่ที่มีคนอยู่​ ตลอดจนมีประชาชนบางกลุ่มซึ่งอยู่ในพื้นที่ไปให้อาหารสัตว์​ ทำให้สัตว์ป่าเหล่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปไม่ยอมหาอาหารเองและเข้ามาก่อกวนประชาชนในท้องที่​ ​และสัตว์ป่าเหล่านั้นเป็นสัตว์ที่​เป็นห่วงโซ่อาหารที่สูงสุดในพื้นที่​ทำให้การขยายพันธุ์และแพร่พันธุ์​เป็นไปอย่างรวดเร็ว​ ​

นายชัยวัฒน์ เปิดเผยด้วยว่า สัตวป่าที่อยู่ในบัญชี สัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมเมืองในปัจจุบันได้แก่​ ตัวเงินตัวทอง​ ช้าง​ และลิง ซึ่งทั้ง​ 3​ ชนิด​ ​หากผู้ใดมีไว้ครอบครองหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าย่อมถือว่าผิด​กฎหมาย​ ตาม​ พ.ร.บ.​สัตว์ป่าสงวนและคุ้มครองสัตว์​ พ.ศ.​2535 ปัจจุบันนี้ สัตว์ป่าที่เป็นปัญหาหนักที่สุด คือ​ ลิง​ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของชุมชนก่อกวน และสร้างปัญหา ในพื้นที่​แหล่งท่องเที่ยวหลายๆ แห่ง ด้วยกัน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงให้ความสำคัญ​ในการจัดการปัญหาสัตว์ป่าที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน​ จึงได้ให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี สำรวจพื้นที่ที่มีปัญหาดังกล่าว​ ซึ่งได้พบว่าในเขตพื้นที่​  อ.​ ราษีไศล​ จ.​ศรีสะเกษ​ ที่อดีตในปี​ พ.ศ.​ 2558 ที่ผ่านมามีประชากรลิงไ​ม่ถึง​ 100​ ตัว​ แต่ในปัจจุบันปี​ 2562​ มีประชากรลิงถึงประมาณ ​500 ตัว​ ซึ่งหน่วยงานในท้องที่​ ตลอดจนชาวบ้าน​ในชุมชน เห็นด้วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้​ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี ได้จัดทำโครงการ​ทำหมันลิงในท้องที่​ อ.​ราษีไศล​ จ.ศรีสะเกษ​ ซึ่ง​กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้อนุมัติโครงการแล้ว​ และได้มีคำสั่งให้หน่วยงานในสังกัดใกล้เคียงร่วมดำเนินการด้วย​ ได้แก่​ สบอ.8​ สัตวแพทย์​นันทิตา​ รักษาชาติ​ สบอ.9​ สัตวแพทย์บงกตมาศ​ พิมพ์สิน​และพัชรินทร์​ ราชสิน​ และ​ สอบ.10​  สัตวแพทย์ทักษินา​ จารุวัฒนานนท์

 


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.