พัฒนาอีกขั้น! ไทยเตรียมทดสอบวัคซีน ป้องกันโควิด-19 ในมนุษย์ ก.ค.-มิ.ย.นี้
21 เม.ย. 2563, 12:24
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสำนักวัคซีนแห่งชาติ อธิบายถึงไวรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกายว่า เมื่อไวรัสเข้าไปในร่างกายจะเข้าไปในเซลล์ทางเดินหายใจ เข้าไปเกาะผิวเซลล์ และทำให้เกิดโรค สิ่งที่ทางแพทย์จะทำคือ การกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแล้วให้ภูมิคุ้มกันนั้น เข้าไปจับส่วนประกอบของไวรัส ไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์
ส่วนการพัฒนาวัคซีน ป้องกันโควิด-19 เริ่มตั้งแต่วิจัยในห้องทดลอง เช่น วิธีดั้งเดิม และวิธีใหม่ จากนั้นทดสอบในสัตว์ทดลอง คือ หนู และลิง โดยดูว่าวัคซีนจะกระตุ้นในภูมิคุ้มกันในสัตว์ได้มากน้อยขนาดไหน และขั้นตอนทดสอบในมนุษย์ซึ่งมี 3 ระยะ คือ
ระยะ1 ความปลอดภัย ทดลองประมาณ 30-50 ราย
ระยะ 2 การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทดลองประมาณ 100-150 ราย
ระยะ 3 ให้ผลในการป้องกันโรค ทดลองประมาณ 500 รายขึ้นไป หากผ่านการทดสอบ ขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีน โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ทั้งนี้ ในขั้นตอนทดลองในคน จะใช้ระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเป็นอาสาสมัครสุขภาพแข็งแรง ไม่เคยป่วยโควิด-19 ที่จะทำการเปิดรับมาทำการฉีดวัคซีนป้องกัน โดยแพทย์จะดูผลการทำงานของร่างกายต่างๆ เช่น ระบบปอด ตับ ดูความสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีน หากภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นแพทย์จะทำการเจาะเลือด ดูว่ามีวัคซีนมีปฏิกริยาจำเพาะต่อเชื้อไวรัสหรือไม่
สำหรับความคืบหน้าผลิตวัคซีนประเทศไทย ตอนนี้ได้มีการตั้งทีมวัคซีนไทยขึ้นในการศึกษาวิจัย วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เบื้องต้นมีคณะแพทย์ร่วมวิจัย เช่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะเภสัชฯ จุฬา ซึ่งทาง จุฬาฯ และ บริษัท ไบโอเน็ต เอเชีย ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนรายเดียวที่ยื่นขอทำการทดลองวัคซีน ตอนนี้ทดลองในสัตว์ไปแล้ว และได้นำเลือดของสัตว์ทดลองให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจหาภูมิคุ้มกันว่าได้ผลมากน้อยแค่ไหน คาดการณ์เดือนมิถุนายน หรือเดือนกรกฎาคมจะเข้าสู่การทดลองในคน ขณะที่ ม.มหิดล ได้ขอให้กรมวิทยาศาสตร์เพิ่มจำนวนไวรัส เพื่อนำไปทดลองในสัตว์ทดลอง
ส่วนต่างประเทศได้มีการคิดค้นวัคซีน ป้องกันโควิด-19 กว่า 70 ชนิด แต่มี 6 ชนิด ที่ได้ผลอยู่ในการวิจัย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน และประเทศอังกฤษ และอยู่ระหว่างเริ่มทดสอบในคน
ผู้อำนวยการสำนักวัคซีนแห่งชาติ ระบุว่า แนวทางของไทย หลักๆ คือการศึกษาวิจัยผลิตวัคซีนของเราเอง กับ อีกแนวทาง คือ การนำวัคซีนต้นแบบจากต่างประเทศที่ผ่านจากสัตว์ทดลอง และเข้าสู่การทดลองในคนมาวิจัยร่วมกัน ซึ่งจะมีการทำข้อตกลงในเร็วๆ นี้
โดยประเทศจีนได้มีการพัฒนาวัคซีน ตอนนี้จีนก้าวหน้ามากสุด คือระยะ 2 อยู่ระหว่างพิจารณาผลวัคซีนว่าจะกระตุ้นความจำเพาะต่อเชื้อมากน้อยแค่ไหน โดยไทยอยู่ระหว่าง เจราจากับประเทศจีน ติดตามความก้าวหน้าวัคซีน ร่วมกับประเทศจีน โดยขณะนี้อยู่ รอทำข้อตกลงในการทดสอบวัคซีน ทั้ง 2 แนวทาง ต้องดำเนินการไปพร้อมกัน เป้าหมายเพื่อการเข้าถึงวัคซีน โควิด-19 ให้เร็วที่สุด
ทั้งนี้ ตอนนี้ประเทศไทยมี 3 ทางเลือก คือ
1 ดำเนินการผลิตวัคซีนตั้งแต่ต้นจนจบ ทางเลือกที่
2 ดูต่างประเทศที่ผลิตแล้ว และไปร่วมมือกับประเทศนั้นในการวิจัย และทางเลือกที่
3 ไม่ทำอะไรเลย รอซื้ออย่างเดียว แต่จะเจอปัญหาการนำเข้าและปัญหาอื่นๆ ตามมา