เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ศบค.เผย 3 เหตุผล จำเป็นต้องต่อ "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" ชี้ผ่อนคลายระยะ 3-4 เสี่ยงสูงต้องคุมเข้ม


22 พ.ค. 2563, 13:42



ศบค.เผย 3 เหตุผล จำเป็นต้องต่อ "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" ชี้ผ่อนคลายระยะ 3-4 เสี่ยงสูงต้องคุมเข้ม




วันนี้ ( 22 พ.ค.63 ) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แถลงสถานการณ์ประจำวันระบุถึงการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มติเห็นชอบในการต่ออายุพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ไปอีก 1 เดือนให้ครอบคลุมถึง 30 มิ.ย.2563 ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปอีก 1 เดือน ตามข้อเสนอของที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) โดยระบุเหตุผลหลัก 3 ข้อดังนี้

1. การป้องกันการแพร่ระบาดในราชอาณาจักรของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) จำเป็นต้องดำเนินการต่อไปให้ได้อย่างมีเอกภาพ รวดเร็ว มีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ  และมีมาตรฐานกลาง ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกว่า 40 ฉบับ และพ.ร.บ.โรคติดต่อฉบับเดียวไม่สามารถจัดการได้อย่างเพียงพอเพราะมีทั้งเรื่องการรักษา การเรื่องติดเชื้อ โรงพยาบาล การเดินทางข้ามพื้นที่ การเดินทางเข้า-ออกต่างประเทศ การใช้พาหนะ  อากาศยาน การตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ ดังนั้นการบริหารจัดการจึงต้องเป็นเอกภาพภายใต้การบังคับใช้ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน



2. การเตรียมรองรับการผ่อนคลายในระยะต่อไป โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างการกำหนดมาตรการการผ่อนคลายในระยะที่ 3 และ 4 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง จึงจำเป็นต้องมีมาตรการตามกฎหมาย เพื่อกำกับการบริหารจัดการเพื่อบริหารจัดการมาตรการผ่อนคลายอย่างให้เป็นระบบในเวลาที่เหมาะสม ดังนั้นถ้าเทียบกันแล้ว ระยะที่ 3-4 ถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่า ระยะที่ 1-2 ซึ่งเมื่อไหร่ที่กลับไปเป็นระยะที่ 3-4 อาจเปิดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง หากเราหย่อนมาตรการ พฤติกรรมความเสี่ยงต่างๆ ก็จะกลับมา ดังนั้นเราต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องนำพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาบริการจัดการให้เกิดความสมดุลเพื่อจัดการให้เป็นไปตามมาตรการผ่อนคลายในระยะที่ 3-4


3. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคยังคงไม่สิ้นสุด หลายประเทศยังคงมีการระบาดและมีจำนวนผู้ติดเชื้อในระดับสูง และเมื่อประเทศไทยได้จัดทำมาตรการผ่อนตลายครบทั้ง 4 ระยะแล้ว จำเป็นจะต้องมีระยะเวลาเพื่อเตรียมพร้อมในการเปิดประเทศ อาทิ มาตรการด้านกฎหมายแผนปฏิบัติการในการบริหารวิกฤตเพื่อรองรับกับความเสี่ยงที่อาจมีการกลัลมาแพร่ระบาดของโรค






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.